Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14310
Title: การพัฒนาเครื่องทดสอบมิเตอร์วัดพลังงานไฟฟ้าแบบพกพา โดยใช้การมอดูเลตความกว้างพัลส์
Other Titles: Development of a portable electricity meter tester using pulse width modulation
Authors: นาวิน วงศ์เทศ
Advisors: เอกชัย ลีลารัศมี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Ekachai.L@chula.ac.th
Subjects: เครื่องวัดไฟฟ้า
เครื่องวัดไฟฟ้า -- การทดสอบ
โมดูเลชันความกว้างพัลส์
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: นำเสนอการออกแบบเครื่องทดสอบมิเตอร์วัดพลังงานไฟฟ้าชนิดเฟสเดียว โดยใช้หลักการมอดูเลตความกว้างพัลส์ มีการออกแบบแหล่งกำเนิดสัญญาณแรงดัน และกระแสรูปไซน์ที่ใช้ทดสอบมิเตอร์วัดพลังงานไฟฟ้าให้มีความเพี้ยนเชิงฮาร์มอนิกต่ำ สามารถปรับขนาด เฟส และความถี่ของสัญญาณที่สร้างได้ โดยอ้างอิงตามมาตรฐาน IEC 687 วงจรที่ออกแบบจะสร้างสัญญาณแรงดันและกระแสแยกกัน ภายในประกอบไปด้วยวงจรสวิตช์ที่ใช้หลักการมอดูเลตความกว้างพัลส์เป็นหลัก โดยแหล่งกำเนิดสัญญาณแรงดันรูปไซน์ประกอบไปด้วย วงจรสวิตชิ่งของมอสเฟตแบบบริดจ์ทำงานที่ความถี่ประมาณ 10 kHz สร้างสัญญาณพัลส์บวก-ลบที่มีค่ายอด 12 V สัญญาณพัลส์จะถูกขยายเป็นสัญญาณพัลส์ที่มีค่ายอด 600 V โดยหม้อแปลงความถี่สูง จากนั้นจึงถูกจัดเรียงสัญญาณเป็นพัลส์ด้านบวกโดยไดโอดกำลัง ที่มีการต่อแบบบริดจ์เพื่อเข้าสู่วงจรสวิตชิ่งของมอสเฟตแบบบริดจ์ด้านแรงดันสูง ที่ทำงานที่ความถี่ระหว่าง 45-55 Hz และกรองสัญญาณที่ได้ให้เป็นสัญญาณแรงดันรูปไซน์ ที่มีค่าตามมาตรฐานด้วยวงจรกรองความถี่ต่ำต่อไป ส่วนแหล่งกำเนิดสัญญาณกระแสรูปไซน์ประกอบไปด้วยวงจรสวิตชิ่งของมอสเฟตแบบบริดจ์ ที่ทำหน้าที่สร้างสัญญาณมอดูเลตความกว้างพัลส์ที่ความถี่สวิตช์ประมาณ 20 kHz มีค่ายอดของสัญญาณ 5 V จากนั้นจึงใช้วงจรกรองความถี่ต่ำกรองสัญญาณออกมาเป็นสัญญาณกระแสที่มีค่าตามมาตรฐาน โดยวงจรที่ออกแบบสามารถสร้างสัญญาณแรงดันรูปไซน์ได้ในช่วง 100-260 V[subscript rms] สร้างสัญญาณกระแสได้ในช่วง 0.01-40 A[subscript rms] มีความผิดพลาดไม่เกิน 0.5% ของค่าเต็มพิกัด ความเพี้ยนเชิงฮาร์มอนิกรวมของสัญญาณไม่เกิน 2% ความถี่ของสัญญาณอยู่ในช่วง 45-55 Hz ความผิดพลาดไม่เกิน 0.1% ของค่าที่ตั้ง สร้างความต่างเฟสระหว่างสัญญาณแรงดันและสัญญาณกระแสได้ในช่วง 0-360 องศา ผิดพลาดไม่เกิน ± 0.5 องศา
Other Abstract: To present a design of a 1-phase electricity meter tester using pulse width modulation (PWM). The meter tester can generate sinusoidal voltage and current sources with low harmonic distortion. Its amplitude, phase, and frequency of the signals are adjustable. These signals can be used to test the accuracy of a single phase electricity energy meter according to IEC 687 standard. The designed circuits produce separate voltage and current signals using switching devices. The voltage source circuit has a bridge circuit of mosfets switched at 10 kHz to generate PWM pulses with peak value of 12 V. This signal is amplified by a high-frequency transformer to give a maximum voltage signal of 600 V. A bridge circuit of diodes rectifies this signal and passes it to a bridge circuit of mosfets operated at 45-55 Hz. An LC filter then filters the high frequency components to generate a sinusoidal voltage signal at 45-55 Hz. The current source consists of the switching devices pulse width modulated at 20 kHz with peak value of+-12 V and an LC filter to generate a sinusoidal current signal at 45-55 Hz. These circuits can generate a voltage signal in the range of 100-260 V[subscript rms] and a current signal in the range of 0.01-40 A[subscript rms], both with errors under 0.5% of full scale. The total harmonic distortion is less than 2%. The output frequency can be adjusted in the range of 45-55 Hz with error under 0.1% of set value. The phase shift between signals can be set in the range of 0-360 degrees with ± 0.5 degree error.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14310
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1885
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1885
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nawin_wo.pdf1.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.