Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14427
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์ | - |
dc.contributor.advisor | พงศ์ศักดิ์ ยุกตะนันท์ | - |
dc.contributor.author | มานพ ภู่สุวรรณ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา | - |
dc.date.accessioned | 2011-01-14T06:43:47Z | - |
dc.date.available | 2011-01-14T06:43:47Z | - |
dc.date.issued | 2551 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14427 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกโยคะแบบลงน้ำหนักที่ต่อการสลายมวลกระดูกของสตรีวัยหมดประจำเดือน โดยมีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงที่เป็นบุคลากรภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีอายุระหว่าง 50-60 ปี แบ่งกลุ่มอาสาสมัครทีผ่านเกณฑ์การคัดเข้าเป็นกลุ่มฝึกโยคะแบบลงน้ำหนัก 19 คน และกลุ่มใช้ชีวิตประจำวันตามปกติ 14 คน รวมทั้งหมด 33 คน แล้ว ดำเนินการเก็บข้อมูลทั้งก่อนการทดลองและหลังการทดลอง คือ การสลายมวลกระดูก (B-Crosslaps) การสร้างมวลกระดูก (P1NP) และแบบสอบถามมาตรฐานคุณภาพชีวิต (SF-36) โดยมีระยะเวลาการทดลองเป็นเวลานาน 12 สัปดาห์ๆ ละ 3 วัน ๆ ละ 50 นาที นำผลที่ได้จากการทดลองทั้งก่อนการทดลอง และหลังการทดลองของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเปอร์เซ็นต์ การเปลี่ยนแปลง และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม โดยมีการทดสอบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง 12 สัปดาห์ กลุ่มฝึกโยคะแบบลงน้ำหนัก และกลุ่มใช้ชีวิตประจำวันตามปกติมีค่าเฉลี่ยการสลายมวลกระดูกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยกลุ่มฝึกโยคะแบบลงน้ำหนักมีเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงของค่าการสลายมวลกระดูกลดลง (B-CrossLaps) -26.939 เปอร์เซ็นต์ ส่วนกลุ่มใช้ชีวิตประจำวันตามปกติมีเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงลดลง-0.771 เปอร์เซ็นต์ สำหรับคุณภาพชีวิตโดยใช้แบบสอบถามมาตรฐานเอสเอฟ 36 (SF-36) พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในด้านของกิจกรรมทางกาย อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย สุขภาพทั่วไป และความสดชื่นมีชีวิตชีวา โดยเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงของกลุ่มฝึกโยคะแบบลงน้ำหนักมีค่าเพิ่มขึ้น คือ +25.299,+16.565,+15.309 และ +21.056 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ ส่วนเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงของกลุ่มใช้ชีวิตประจำวันตามปกติมีค่า +12.946, -1.221, -9.303 และ +2.291 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ จากผลการวิจัยสรุปได้ว่า การฝึกโยคะแบบลงน้ำหนักมีผลต่อการชะลอการสลายมวลกระดูกได้ดีขึ้น จึงเป็นผลดีต่อสุขภาพเพราะจะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคกระดูกพรุนของสตรีวัยหมดประจำเดือนได้ นอกจากนั้นยังช่วยส่งเสริมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีเพิ่มขึ้นอีกด้วย | en |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research was conducted to investigate the effects of weight bearing yoga training on bone resorption markers of postmenopausal women. The purposive sampling for this study consisted of 33 subjects aged between 50-60 years and worked as staff at Chulalongkorn University.The experimental group (19 subjects) who were selected to participate in weight bearing yoga training, while the control group (14 subjects) who did not involved with the weight bearing yoga training. The pre and post data collection was conducted with the bone resorption (B-Crosslaps), the bone formation (P1NP), and the medical outcomes study short-form survey (SP-36). The whole experimental period of training lasted for 12 weeks in which it took place 3 days a week and 50 minutes a day. The data obtained from the pre and post training were analyzed into means, standard deviation, percentages change of effect value, and analysis of covariance, by using test a significant difference at .05 level. The research finding was follow the 12 week-experiment training, the findings indicated that the mean scores on bone resorption (B-Crosslaps) of the experimental group and the control group were significantly different at .05 level. Moreover, the findings also indicated that the percentage changes on bone resorption (B-Crosslaps) variance of the experiment group reduced by -26.939%, while that of the control group reduced -0.771 %. As for quality of life of both groups, the data obtained from the medical outcomes study short-form survey (SF-36) showed that there were significant difference at .05 level for physical functioning, bodily pain, general health and vitality. The variance of percentage change value of weight yoga experimental group increase by +25.299, +16.565, +15.309, and +21.056. The variance of percentage change value of control group by +12.946, -1.221, -9.303 and +2.291. In conclusion, the weighting bearing yoga training had positive effect on the slowing down the bone resorption which was considered to be helpful for human health, because it helps reduce the risk of having osteoporosis of postmenopausal women. Additionally, it promoted the better quality of life. | en |
dc.format.extent | 1903256 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.596 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | โยคะ (กายบริหาร) -- การฝึก | en |
dc.subject | โยคะ | en |
dc.subject | สตรี -- สุขภาพและอนามัย | en |
dc.subject | การออกกำลังกายสำหรับสตรี | en |
dc.subject | กระดูก | en |
dc.title | ผลของการฝึกโยคะแบบลงน้ำหนักที่มีต่อการสลายมวลกระดูกของสตรีวัยหมดประจำเดือน | en |
dc.title.alternative | The effects of weight bearing yoga training on bone resorption markers of postmenopausal women | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | วิทยาศาสตร์การกีฬา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Thanomwong.K@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | Pongsak.Y@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2008.596 | - |
Appears in Collections: | Spt - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Manop_ph.pdf | 1.86 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.