Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14494
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อความไม่ร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยในโรคจิตเภท ณ โรงพยาบาลสวนสราญรมย์
Other Titles: Factors affecting medication nonadherence in schizophrenic patients admitted at Suansaranrom Hospital
Authors: นพวรรณ เอกสุวีรพงษ์
Advisors: นารัต เกษตรทัต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
Advisor's Email: Narat.K@Chula.ac.th
Subjects: การใช้ยา
โรคจิต -- การรักษาด้วยยา
ผู้ป่วยจิตเภท
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อความไม่ร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยในโรคจิตเภท คือ ปัจจัยด้านผู้ป่วย ได้แก่ อายุ เพศ ระดับการศึกษา การใช้สารเสพติด การใช้แอลกอฮอล์ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การมีผู้ดูแลเกี่ยวกับการใช้ยา และปัจจัยด้านการรักษา ได้แก่ คะแนนความถี่ของการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยา ระยะเวลาการเจ็บป่วย ความถี่ในการบริหารยาต่อวัน จำนวนขนานยาทั้งหมดที่ผู้ป่วยได้รับ ประเภทของยารักษาโรคจิต โดยทำการศึกษาในผู้ป่วยในโรคจิตเภทที่เข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลสวนสราญรมย์ ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2549 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2550 จำนวน 183 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ยเท่ากับ 36.77 +- 10.58 ปี มีระยะเวลาการเจ็บป่วยด้วยโรคจิตเภทเฉลี่ยเท่ากับ 9.43 +- 7.94 ปี ได้รับการรักษาด้วยยารักษาโรคจิตกลุ่มเดิม (ร้อยละ 89.6) ยารักษาโรคจิตกลุ่มเดิมที่ผู้ป่วยได้รับมากที่สุดคือ ยา chlorpromazine (ร้อยละ 63.9) นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคจิตเภทยังได้รับยากลุ่มอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น antianxiety drugs, anticholinergic drugs, mood stabilizers เป็นต้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่ (ร้อยละ 38.8) ได้รับยา 3 ขนานต่อวัน ความถี่ในการบริหารยาต่อวันเท่ากับ 3 ครั้ง (ร้อยละ 63.4) และร้อยละ 69.9 ของผู้ป่วยไม่มีผู้ดูแลเกี่ยวกับการใช้ยา ผลการวิจัยพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ (ร้อยละ 56.8) มีคะแนนความไม่ร่วมมือในการใช้ยาอยู่ในระดับต่ำ (18.05+-7.49 คะแนน) ระยะเวลาการเจ็บป่วยและจำนวนขนานยาทั้งหมดที่ผู้ป่วยได้รับมีความสัมพันธ์เชิงลบกับคะแนนความไม่ร่วมมือในการใช้ยา (p<0.05) ผู้ป่วยเพศชายมีคะแนนความไม่ร่วมมือในการใช้ยาสูงกว่าเพศหญิง (p=0.022) ผู้ป่วยที่ไม่มีผู้ดูแลเกี่ยวกับการใช้ยามีคะแนนความไม่ร่วมมือในการใช้ยาสูงกว่าผู้ป่วยที่มีผู้ดูแลเกี่ยวกับการใช้ยา (p<0.001) และผู้ป่วยที่ใช้แอลกอฮอล์มีคะแนนความไม่ร่วมมือในการใช้ยาสูงกว่าผู้ป่วยที่ไม่ใช้แอลกอฮอล์ (p=0.02) และเมื่อทำการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ โดยวิธี stepwise พบว่า การมีผู้ดูแลเกี่ยวกับการใช้ยา (beta=-4.168; p<0.001) การใช้แอลกอฮอล์ (beta=2.539; p=0.016) จำนวนขนานยาทั้งหมดที่ผู้ป่วยได้รับ (beta=-1.455; p=0.004) และความถี่ในการบริหารยาต่อวัน (beta=1.868; p=0.005) เป็นปัจจัยทำนายความไม่ร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยโรคจิตเภทได้ร้อยละ 16.5 (R[superscript 2] = 0.165; p<0.05) ผลจากการศึกษานี้สามารถนำปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความไม่ร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยไปใช้ในการติดตามดูแลการใช้ยาของผู้ป่วย เพื่อให้การใช้ยาในการบำบัดรักษาผู้ป่วยโรคจิตเภทได้รับประโยชน์สูงสุดได้
Other Abstract: The purpose of this descriptive research was to study association of factors affecting medication nonadherence in schizophrenic inpatients including patient factors (age, sex, education, substance usage, alcohol usage), environment factor (caregivers) and treatment factors (frequency of adverse drug reaction scores, duration of illness, frequency of drug administration, number of drug regimens, type of antipsychotic drugs) at Suansaranrom hospital during December 2006 to February 2007. One hundred and eighty-three patients were enrolled in this study. Most of them were male with an average age of 36.77 +- 10.58 years, average duration of illness was 9.43 +- 7.94 years. Most of the patients received typical antipsychotic drugs (89.6%) where chlorpromazine was mostly used (63.9%). Besides antipsychotic drugs, patients also received antianxiety drugs, anticholinergic drugs and mood stabilizers. Most of the patients received three drug regimens (38.8%), the frequency of drug administration was three times a day (63.4%) and 69.9% of patients did not have caregivers. The results of this study were found that 56.8% of patients had medication nonadherence scores in low level (18.05 +- 7.49). Duration of illness and number of drug regimens were negatively correlated to medication nonadherence scores (p<0.05). Male patients had medication nonadherence scores higher than female patients (p=0.022). Patients who did not have caregivers had medication nonadherence scores higher than patients who had caregivers (p<0.001). Patients who used alcohol had medication. nonadherence scores higher than patients who did not use alocohol (p=0.02). Stepwise multiple regression analysis revealed that caregivers (beta =-4.168; p<0.001), alcohol usage (beta=2.539; p=0.16), number of drug regimens (beta=-1.455; p=0.004) and frequency of drug administration (beta=1.868; p=0.005) were significantly predictors of medication nonadherence in schizophrenic patients (R[superscript 2] = 0.165; p<0.05). Factors associated to medication nonadherence found from this study can be implemented for monitoring on medication uses in order to obtain optimal treatment for schizophrenic patients.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชกรรมคลินิก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14494
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.263
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.263
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
noppawan.pdf1.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.