Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14504
Title: ความกำกวมอย่างจงใจในปริศนาคำทายร่วมสมัยของไทย
Other Titles: Perceived ambiguity in comtempory Thai riddles
Authors: สุจิตรา แซ่ลิ่ม
Advisors: ศิริพร ภักดีผาสุข
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Siriporn.Ph@Chula.ac.th
Subjects: คำกำกวม
ปริศนาคำทาย
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของความกำกวมอย่างจงใจในปริศนาคำทายร่วมสมัยของไทย และวิเคราะห์หน้าที่ของความกำกวมอย่างจงใจในปริศนาคำทายร่วมสมัยของไทย โดยการศึกษาจากข้อมูลปริศนาคำทาย ปี พ.ศ. 2546-2547 ในเว็บไซต์ http://joke.sanook.com/what.php และหนังสือรวบรวมปริศนาคำทายของไทย ผลการวิจัยพบว่า ความกำกวมอย่างจงใจในปริศนาคำทายของไทยแบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ 1) ความกำกวมทางภาษาอย่างจงใจ 2) ความกำกวมทางอุปลักษณ์อย่างจงใจ และ 3) ความกำกวมทางภาษาร่วมกับความกำกวมทางอุปลักษณ์อย่างจงใจ เมื่อพิจารณาในด้านระดับทางไวยากรณ์ที่ทำให้เกิดความกำกวมทางภาษา พบว่า มีการใช้ความกำกวมทางภาษาในระดับเสียง ระดับคำ และระดับโครงสร้าง ส่วนในด้านความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยภาษากำกวมพบว่า มีความสัมพันธ์แบบคำหลายความหมาย แบบคำพ้องรูปพ้องเสียง แบบคำพ้องเสียง แบบคำเสียงคล้าย และแบบหน่วยคำเทียม ความกำกวมทางอุปลักษณ์อย่างจงใจ แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ การใช้อุปลักษณ์ที่เกี่ยวกับรูปร่างลักษณะ และการใช้อุปลักษณ์ที่เกี่ยวกับอากัปกิริยา ในการสร้างความกำกวมอย่างจงใจในปริศนาคำทาย ผู้ผูกปริศนายังได้ใช้กลวิธีทางวัจนปฏิบัติศาสตร์ ได้แก่ การละเมิดกฎความโดดเด่น การละเมิดกฎลำดับชั้นในการเข้าถึงข้อมูล และการละเมิดกฎการรักษาความคู่ขนาน เพื่อจงใจสร้างความกำกวมให้เกิดขั้นในปริศนาคำทาย ในการวิเคราะห์หน้าที่ของความกำกวมอย่างจงใจในปริศนาคำทายร่วมสมัยของไทยโดยพิจารณาจากความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่งการเกิดความกำกวมร่วมกับหน้าที่ของความกำกวมในปริศนาคำทายร่วมสมัยของไทยพบว่า ความกำกวมที่อยู่ในส่วนคำทายของปริศนา มีหน้าที่ในด้านการเบี่ยงเบนความเข้าใจของผู้ตอบปริศนา ความกำกวมที่อยู่ในส่วนคำตอบและความกำกวมที่อยู่ในส่วนเสริมคำตอบ มีหน้าที่ในด้านการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างคำทายและคำตอบ ส่วนหน้าที่ของความกำกวมในด้านการสร้างความบันเทิงให้แก่การเล่นปริศนาคำทายพบว่า ความกำกวมทั้งในส่วนคำทาย ส่วนคำตอบ และส่วนเสริมคำตอบของปริศนาต่างก็สามารถสร้างอารมณ์ขันให้แก่ผู้เล่นปริศนาคำทายได้
Other Abstract: The purpose of this study is to examine perceived ambiguity in contemporary Thai riddles and to analyze its functions. The data was collected from http://joke.sanook.com/what.php and from collections of contemporary Thai riddles published between 2003-2004. The findings reveal that perceived ambiguity in contemporary Thai riddles can be categorized into three groups: perceived linguistic ambiguity, perceived metaphorical ambiguity, and perceived linguistic and metaphorical ambiguity. In term of grammatical level whereby ambiguity occurs, the study indicates that perceived linguistic ambiguity appears at the phonological level, the morphological level, and the snytactic level. In terms of relationship between ambiguous linguistic units, the study shows five types of relationship including polysemy, homonymy, homophony, paraphony, and hahaphony. With respect to perceived metaphorical ambiguity, two patterns are found, namely the metaphors of shapes and the use of metaphors of manners. Moreover, it is found that pragmatic strategies including violation of salience, violation of accessibility hierarchy, and violation of parallelism, are employed in order to create ambiguity in contemporary Thai riddles. In the light of the functions of perceived ambiguity, this study aims at analyzing the relationship between the position that ambiguity occurs and the functions of ambiguity in the riddles. It appears that the ambiguity occurred in the riddle question serves to mislead the listener while the ambiguity occurred in the riddle answer and the explanatory part to link the riddle question with the riddle answer. Finaly, regarding entertaining function, the findings show that ambiguity occurred in all parts of the riddle-- the question, the answer, and the explanatory part, can serve to create humour in order to entertain the riddling participants.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14504
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1856
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.1856
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
suchittra.pdf1.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.