Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14512
Title: The effect of different Formulation Parameters on The in vitro release of the (-)-EpiGallocatechin Gallate (EGCG) from concentrated w/o emulsions
Other Titles: ผลของปัจจัยกำหนดต่างๆของสูตรตำรับต่อความสามารถในการปลดปล่อยสารอีพิแกลโลแคททิชิน แกลเลท(อีจีซีจี) จากสูตรตำรับอิมัลชันในน้ำมันเข้มข้น
Authors: Saranya Uk-karawittayapumi
Advisors: Papavadee Klongpityapong
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Pharmaceutical Sciences
Advisor's Email: papavadee@eau.ac.th.
Subjects: Camellias
Green tea
Caffeine
Emulsions
Epigallocatechin
Issue Date: 2006
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Green tea catechins (GTCs) and caffeine, major constituents of green tea were extracted from ground powder of green tea leaves (Camellia Sinensis L.) by using 80+-1 ℃ de-ionized water with and without dichloromethane solvent extraction. Freeze-dried green tea extracts (FD-GTE) obtained from freeze-drying technique were determined their GTCs contents, i.e. Epigallocatechin (EGC), Epigallocatechin gallate (EGCG), Epicatechin (EC), Epicatechin gallate (ECG) and caffeine by reversed phase-high performance liquid chromatography analysis. Total yields of FD-GTE residues obtained from both extraction procedures are not significantly different (p < 0.05). Content of total GTCs obtained from the extracts with dichloromethane is significantly higher than the one without dichloromethane extraction (p < 0.05). As well as, caffeine content of extracts with dichloromethane shows significantly lower extent when compared with the one without dichloromethane extraction (p < 0.05). Without significant effect on the total yields of FD-GTE, the dichloromethane, therefore, could be effective solvent for removing caffeine from the hot water extraction of green tea leaves. Formulations of concentrated water in oil (w/o) emulsions (CEs), containing 2.25% (w/w) of FD-GTE with 84, 86 and 88% dispersed phase (% DP) and 3% of four different emulsifiers (sorbitan, silicone, mixed and glucoester), were prepared to study the effect of formulation parameters on the in vitro release of EGCG on synthetic polysulfone membrane. The concentrations of the emulsifiers do not have a considerable effect on the release of EGCG. Among the four emulsifiers, the mixed emulsions are the only one that gave a considerable faster release of EGCG over 48 h. Furthermore, they allowed the unstable products and could not perform the polyhedral droplets of all ranges of % DP. This faster release could be attributed to the presence of waxes, which give a more rigid oil film. This rigidity could be responsible for an earlier breakage of the film upon application thereby causing a more rapid release of EGCG. Results suggested that the release characteristics of the unstable CEs (the mixed emulsions) depend mainly on their stability due to the rigidity of interfacial films of water droplets. The droplet diameter decreases and the apparent viscosity increases with the % DP increasing. The shape factor may play an important role on the release of EGCG from stable CEs. With 88% DP, the droplet shape of all stable CEs, except for the mixed type provided the polyhedral structure of water droplets. Moreover, they allowed very stable products with the extreme viscosities. The flux of these systems could be correlated with the structure of water droplet. The polyhedral droplets could retain the release of drug from CEs, containing large amount of water dispersed phase, by self diffusion of water between adjacent droplets. Therefore, the CEs, which possess the polyhedral structures, would prolong the release of drug from the system.
Other Abstract: สารแคททิชินในชาเขียว (จีทีซี) และคาเฟอีน เป็นสารประกอบหลักที่สกัดได้จากผงบดละเอียดของใบชาเขียว (Camellia Sinensis L.) โดยใช้วิธีการสกัดด้วยน้ำปราศจากไอออนที่อุณหภูมิ 80+-1 องศาเซลเซียส ตามด้วยการสกัดด้วยตัวทำละลาย ไดคลอโรมีเทน และไม่ได้ตามด้วยการสกัดด้วยตัวทำละลาย ไดคลอโรมีเทน สารสกัดชาเขียวผงแห้งที่ได้จากการทำแห้งโดยเทคนิค ฟรีซ-ดรายด์ ถูกนำมาวิเคราะห์หาปริมาณสารแคททิซินในชาเขียวได้แก่ อีพิแคททิชิน (อีซี), อีพิแคททิชิน แกลเลท (อีซีจี), อีพิแดลโลแคททิซิน (อีจีซี), อีพิแกลโลแคททิชิน แกลเลท (อีจีซีจี) และคาเฟอีน โดยใช้วิธีวิเคราะห์ชนิดไฮเพอร์ฟอร์แมนซ์ลิควิดโครมาโตกราฟฟีแบบวัฏภาคกลับ ปริมาณผลผลิตรวมทั้งหมดของสารสกัดผงแห้งที่ได้จากวิธีการสกัดทั้งสองแบบไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับค่าความเชื่อมั่นน้อยกว่า 0.05 ปริมาณสารแคททิชินทั้งหมดในชาเขียวที่สกัดโดยใช้ตัวทำละลาย ไดคลอโรมีเทนมากกว่าที่พบในสารสกัดที่สกัดด้วยน้ำอย่างเดียวอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับค่าความเชื่อมั่นน้อยกว่า 0.05 นอกจากนี้ ปริมาณสารคาเฟอีนที่พบในสารสกัดที่สกัดโดยใช้ตัวทำละลาย ไดคลอโรมีเทนน้อยกว่าที่พบในสารสกัดที่สกัดด้วยน้ำอย่างเดียวอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับค่าความเชื่อมั่นน้อยกว่า 0.05 ดังนั้น ตัวทำละลาย ไดคลอโรมีเทน จึงสามารถนำมาใช้ในการสกัดแยกสารคาเฟอีนจากสารสกัดชาเขียวด้วยน้ำร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังไม่มีผลกระทบต่อปริมาณผลผลิตรวมทั้งหมดของสารสกัดที่ได้อย่างมีนัยสำคัญด้วย สูตรตำรับอิมัลชันน้ำในน้ำมันเข้มข้นที่ประกอบไปด้วยสารสกัดชาเขียวผงแห้งปริมาณร้อยละ 2.25 และปริมาณความเข้มข้นของวัฏภาคน้ำที่ร้อยละ 84, 86 และ 88 ของสูตรตำรับ และสารทำอิมัลชันที่ความเข้มข้นร้อยละ 3 ของสูตรตำรับ ต่างชนิดกัน 4 ชนิด (ซอบิแทน, ซิลิโคน, ผสมและกลูโคเอสเทอร์) ถูกเตรียมขึ้นเพื่อใช้ในการศึกษาผลของปัจจัยกำหนดของสูตรตำรับต่อความสามารถในการปลดปล่อยสารอีจีซีจีผ่านเมมเบรนสังเคราะห์ชนิดโพลีซัลโฟน ปริมาณความเข้มข้นของสารทำอิมัลชันไม่มีผลต่อการปลดปล่อยสารอีจีซีอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างชนิดของสารทำอิมัลชันทั้ง 4 ชนิด พบว่าภายหลังจาก 48 ชั่วโมง อิมัลชันชนิดผสมปลดปล่อยสารอีจีซีจีจากสูตรตำรับได้มากกว่าสูตรตำรับชนิดอื่นๆ นอกจากนั้น พบว่าสุตรตำรับอิมัลชันชนิดผสมที่เตรียมขึ้นที่ทุกความเข้มข้นของวัฏภาคน้ำนั้นไม่คงตัวและโครงสร้างของหยดอนุภาคน้ำภายในสูตรตำรับไม่เป็นรูปทรงหลายด้าน ซึ่งผลจากการปลดปล่อยตัวยาอย่างรวดเร็วนี้น่าจะเกิดขึ้นเนื่องจากแผ่นฟิล์มน้ำมันที่ได้จากขี้ผึ้งที่อยู่ในสารทำอิมัลชันชนิดผสมนั้นมีความแข็งเกร็งและขาดความยืดหยุ่นจึงทำให้แผ่นฟิล์มที่ได้เกิดการแตกแยกได้เร็วขึ้น ทำให้สารอีจีซีจีถูกปลดปล่อยออกมาได้อย่างรวดเร็ว ผลการศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าลักษณะจำเพาะในการปลดปล่อยตัวยาจากสูตรตำรับอิมัลชันน้ำในน้ำมันเข้มข้นที่ไม่คงตัว (อิมัลชันชนิดผสม) นั้นขึ้นอยู่กับความคงตัวของสูตรตำรับซึ่งเกี่ยวเนื่องกับความแข็งเกร็งของแผ่นฟิล์มที่หุ้มระหว่างหยดอนุภาคน้ำภายในสูตรตำรับ ขนาดเส้นผ่านสูนย์กลางของหยดอนุภาคน้ำลดลงเมื่อปริมาณวัฏภาคน้ำในสูตรตำรับเพิ่มขึ้น ในขณะที่ความหนืดของสูตรตำรับเพิ่มขึ้นเมื่อปริมาณวัฏภาคน้ำในสูตรตำรับเพิ่มขึ้น ปัจจัยรูปทรงของหยดอนุภาคน้ำภายในสูตรตำรับนั้นน่าจะมีบทบาทหลักต่อความสามารถในการปลดปล่อยสารอีจีซีจี จากสูตรตำรับอิมัลชันน้ำในน้ำมันเข้มข้นที่คงตัว พบว่าในสูตรตำรับอิมัลชันน้ำในน้ำมันเข้มข้นที่คงตัวซึ่งเตรียมขึ้นที่ความเข้มข้นของวัฏภาคน้ำร้อยละ 88 ของสูตรตำรับ ยกเว้นอิมัลชันชนิดผสม นั้นมีโครงสร้างของหยดอนุภาคน้ำภายในสูตรตำรับเป็นรูปทรงหลายด้าน นอกจากนั้น สูตรตำรับดังกล่าวยังมีความคงตัวและความข้นหนืดสูงมาก ซึ่งอัตราเร็วในการปลดปล่อยตัวยาน่าจะมีความสัมพันธ์กับโครงสร้างของหยดอนุภาคน้ำภายในสูตรตำรับ โดยที่โครงสร้างดังกล่าวที่พบในสูตรตำรับที่มีปริมาณวัฏภาคน้ำภายในสูงมีผลทำให้การปลดปล่อยตัวยาของสูตรตำรับช้าลง เนื่องจากการแพร่ผ่านได้เองของอนุภาคน้ำระหว่างหยดอนุภาคที่อยู่ติดกัน ดังนั้นสูตรตำรับอิมัลชันน้ำในน้ำมันเข้มข้นที่มีโครงสร้างหลายด้านจึงมีผลช่วยทำให้การปลดปล่อยตัวยาของสูตรตำรับยาวนานขึ้น
Description: Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2006
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Pharmaceutical Technology
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14512
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1858
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.1858
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
saranya.pdf15.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.