Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14528
Title: การศึกษาประสิทธิภาพของยาขี้ผึ้งทาโครลิมัส 0.1% เปรียบเทียบกับยาหลอกในผู้ป่วยดิสคอยด์ ลูปัส อิริทรีมาโทซัส เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงทางคลินิกของผื่นโดยมีกลุ่มควบคุมแบบสุ่ม
Other Titles: The efficacy of tacrolimus ointment, 0.1% in the treatment of Discoid Lupus Erythematosus to evaluate clinical improvement compare to placebo, a randomized, placebo-controlled, double-blind study
Authors: ปิยะวดี สิงห์วาหะนนท์
Advisors: วิวัฒน์ ก่อกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ผิวหนัง -- โรค
ยา -- ผลข้างเคียง
โรคลูปัส อิริทรีมาโทซัส -- การรักษา
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความสำคัญและที่มาของการวิจัย : ดิสคอยด์ ลูปัส อิริทรีมาโทซัสเป็นโรคผิวหนังเรื้อรังชนิดหนึ่ง ซึ่งมีการอักเสบและมีแนวโน้มที่จะเกิดแผลเป็น การรักษาส่วนใหญ่ใช้เป็นยาทาสเตียรอยด์ แต่มีข้อจำกัดในการใช้เรื่องจากผลข้างเคียงและประสิทธิภาพของยาในผู้ป่วยบางราย ยาขี้ผึ้งทาโครลิมัส 0.1% เป็นยาในกลุ่มแมคโครไลน์ออกฤทธิ์ต้านการอักเสบและกดภูมิคุ้มกัน มีรายงานว่าสามารถใช้รักษาผื่นดิสคอยด์ ลูปั อิริทรีมาโทซัสได้ผล โดยมีผลข้างเคียงน้อย วัตถุประสงค์ในการวิจัย : เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยาขี้ผึ้งทางโครลิมัส 0.1% โดยดูการเปลี่ยนแปลงทางคลินิกเปรียบเทียบกับยาหลอกในผู้ป่วยดิสคอยด์ ลูปัส อิริทรีมาโทซัส วิธีการทำวิจัย : ผู้ป่วยดิสคอยด์ ลูปัส อิริทรีมาโทซัล 21 คน จาก 22 เข้าร่วมโครงการวิจัยครบ 8 สัปดาห์ โดยทายาขี้ผึ้งทาโครลิมัส 0.1% และยาหลอกวันละ 2 ครั้งบนผื่น 2 บริเวณที่ถูกเลือกมาอย่างสุ่ม นัดติดตามผลและถ่ายรูปผื่นทุก 2 สัปดาห์ แพทย์ผิวหนัง 3 ท่านซึ่งไม่ทราบว่าผื่นใดทายาขี้ผึ้งทาโครลิมัส 0.1% และผื่นใดทายาหลอก ทำการประเมินการเปลี่ยนแปลงทางคลินิกในแง่ของตัวโรคที่กำลังดำเนินอยู่ และความเสียหายจากรอยโรคที่ยังคงอยู่หลังจากโรคหายแล้วโดยใช้เครื่องมือวัด Cutaneous Lupus Erythematosus Disease Activity and Severity Index ผลการวิจัย : พบว่ายาขี้ผึ้งทาโครลิมัส 0.1% สามารถลดคะแนนตัวโรคที่กำลังดำเนินอยู่จากก่อนรักษาได้ดีกว่ายาหลอกอย่างมีนัยสำคัญ ในระยะเวลา 8 สัปดาห์ของการรักษา (p < 0.05) สำหรับคะแนนความเสียหายจากรอยโรคที่ยังคงอยู่หลักจากโรคหายแล้ว ไม่พบความแตกต่างระหว่าง 2 กลุ่ม ผู้ป่วยทนต่อการรักษาได้ดี พบเพียงอาการคันและแสบร้อนซึ่งเป็นชั่วคราวในกลุ่มที่ได้รับยาขี้ผึ้งทาโครลิมัส 0.1% สรุปผลการวิจัย: ยาขี้ผึ้งทาโครลิมัส 0.1% เป็นทางเลือกหนึ่งที่มีประสิทธิภาพและค่อนข้างปลอดภัยสำหรับรักษาโรคที่กำลังดำเนินอยู่ในผู้ป่วยดิสคอยด์ ลุปัส อิริทรีมาโทซัส
Other Abstract: Backgroud : Discoid Iupus erythematosus (DLE) is a chronic inflammatory skin disease which often leads to scarring and disfiguring. Treatment includes potent topical corticosteroids but limited by their adverse effects and lack of efficacy in some cases. Topical tacrolimus, an anti-inflammatory and immunosuppressive macrolactam, has been neported to treat DLE successfully with minimal side effects. Objective : To evaluate the efficacy and safety of tacrolimus ointment 0.1% in clinical improvement compare to placebo in DLE patients. Methods : Twenty-one of 22 patients with DLE completed 8 weeks trial with twice daily application of tacrolimus ointment, .1% and placebo on 2 similar lesions base on random assignment. Photograph was taken in every 2 weeks follow up periods. Three blinded dermatologists evaluated clinical outcomes; disease activity and disease-induced damage by using Cutaneous Lupus Erythematosus Disease Activity and Severity Index (CLASI). Result : Significant decrease from baseline in total activity score of tacrolimus ointment, 0.1%-treated lesion compared with placebo-treated one after 8 weeks of treatment (P < 0.05) was observed. For total damage score, no significant reduction from baseline from baseline was observed between both groups. Tacrolimus ointment, 0.1% was well tolerated with only transient pruritus and burning sensation. Conclusion: Tacrolimus ointment, 0.1% seems to be safe and clinically effective option in decrease disease activity for discoid lupus erythematosus
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14528
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.658
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.658
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piyavadee_Si.pdf2.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.