Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14575
Title: การสร้างนักวิจัยรุ่นเยาว์ที่ตระหนักในความเป็นไทยโดยการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม
Other Titles: A production of young student researchers with full awareness of being Thai through cultural tourism, Chulalongkorn University Demonstration Elementary School
Authors: กิติพงษ์ เทียนตระกูล
ทัศนีย์ ผลเนืองมา
สุมิตรา เทียนตระกูล
เกรียงไกร นะจร
Email: Kitipong.T@Chula.ac.th
Tassanee.Ph@Chula.ac.th
Sumitra.T@Chula.ac.th
kreangkrai.n@gmail.com
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: การท่องเที่ยว
นักวิจัย
วัฒนธรรม
โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม
Issue Date: 2553
Publisher: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์โดยสรุป 3 ประการ คือ 1) เพื่อสร้างนักวิจัยรุ่นเยาว์โดยใช้ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบสัมฤทธิผลทางการเรียนรู้ และความตระหนัก ในความเป็นไทย ระหว่างนักเรียนในกลุ่มควบคุมกับกลุ่มทดลอง 3) เพื่อศึกษาความพอใจของ นักเรียนในกลุ่มทดลอง และผู้ปกครอง ต่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และ 4) เพื่อวิเคราะห์ และ สังเคราะห์ผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่เกิดจากการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม แบบแผนการวิจัยเป็น แบบการทดลองภาคสนาม มีกลุ่มควบคุมและมีการวัดซ้ำ ใช้เวลา 2 ภาคเรียนติดต่อกัน นักเรียน กลุ่มทดลองได้เรียนรู้จากการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมใน 3 จังหวัด คือจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดสุพรรณบุรีและจังหวัดนครราชสีมา ส่วนนักเรียนกลุ่มควบคุมได้เรียนรู้เชิงวัฒนธรรมผ่าน การสอนโดยเฉพาะสาระการเรียนรู้จากจังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดนครราชสีมาเท่านั้น กลุ่ม ตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่าย ประถม จำนวน 32 คน ได้มาจากการคัดเลือกด้วยการสอบและการสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย แบบสังเกตพฤติกรรมการเป็นนักวิจัย แบบทดสอบ แบบสอบถามความตระหนักใน ความเป็นไทย แบบสอบถามความพอใจต่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ค่าความเที่ยงเท่ากับ .81 - .84 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ การวิเคราะห์ และสังเคราะห์ผลการเรียนรู้ และคุณค่าจากสมุดบันทึก เสนอผลการสังเคราะห์เนื้อหาเป็นเรื่องเล่า ข้อค้นพบที่สำคัญมีดังนี้ 1) การเป็นนักวิจัยรุ่นเยาว์ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สามารถพัฒนาและจำแนกการเป็นนักวิจัยรุ่นเยาว์ได้เป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มที่เป็นนักวิจัยระดับดี 4 คน ระดับดีมาก 7 คน และระดับดีมากที่สุด 4 คน 2) สัมฤทธิผลการเรียนรู้และความ ตระหนักในความเป็นไทย ผลการทดสอบเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยสัมฤทธิผลการ เรียนรู้และความตระหนักในความเป็นไทย พบว่านักเรียนในกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่ม ควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3) ความพอใจต่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม นักเรียนใน กลุ่มทดลองและผู้ปกครองมีความพอใจต่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมระดับมาก 4) ผลการเรียนรู้ นักเรียนมีผลการเรียนรู้จากการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแตกต่างกันตามสภาพวัฒนธรรมของจังหวัด ประกอบด้วยผลการเรียนรู้แยกเป็น 3 หมวดหมู่ เรียงตามจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สุพรรณบุรี และ นครราชสีมา คือ การเป็นนักวิจัยรุ่นเยาว์ มีความถี่กระบวนการคิดที่แสดงพฤติกรรมความเป็น นักวิจัยเท่ากับ 80, 52 และ 85 แยกเป็นวิธีคิด 6, 7 และ 7 ด้าน ด้านที่มีความถี่สูงสุด คือ การเรียนรู้ ประโยชน์ต่อส่วนรวมและต่อตนเอง แยกเป็น 9, 9 และ 10 ด้าน ด้านที่มีความถี่สูงสุด คือ การ อนุรักษ์ การสืบสานภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย และ ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม แยกเป็น 8, 9 และ 8 ด้าน ด้านที่มีความถี่สูงสุด คือ สมาธิและสติ ความรักและเมตตา และความพยายามตามลำดับ
Other Abstract: The purposes of this research conclusively were 1) to produce young student researchers through cultural tourism 2) to compare the learning achievement and full awareness of being Thai of students between the experimental and the control groups 3) to study the students’ and their parent’s satisfaction towards cultural tourism in the experimental group and 4) to analyze and synthesize the students’ learning outcomes from cultural tourism. The research design was a two consecutive semester, field experiment, control group and repeated measured design. The experimental group students learned mainly through the cultural tourism in the 3 provinces: PrachuapKhirikhan, Supanburi and NakornRajsima; whereas the control group students learned cultural content through the lecture and mass media instruction, focusing only on the contents of only Supanburi and NakornRajsima. The samples consisted of 32 students Grade 6 students, Chulalongkorn University Demonstration Elementary School, all of which were selected using screening tests and interview. The research instruments were the researching behavior observational form, the test, and the questionnaire measuring the full awareness of being Thai, and the questionnaire measuring satisfaction towards cultural tourism with reliability ranging from of .81-.84. The data were analyzed using descriptive statistics, repeated measure analysis of variance, analysis and synthesis of students’ leaning outcomes and values from diary, and a presentation of the synthesis results in terms of stories telling. The major findings were as follows: 1) Being young student researcher: the cultural tourism could produce young researchers which could be classified into 3 groups based on their researching behavior scores: the good group of 4 students, the very good group of 7 students and the extremely good group of 4 students. 2) Learning achievement and full awareness of being Thai: the comparison of difference in students learning achievement and full awareness of being Thai indicated that the experimental group had significantly higher means than the control group. 3) Student satisfaction toward learning process of cultural tourism: The satisfaction score means of the experimental group students’ and their parents was high. 4) Learning outcomes: The students’ learning outcomes from cultural tourism were different according to the different culture of the 3 provinces. They consisted of 3 groups classified respectively on PrachuapKhiriKhan, Supanburi and NakornRajsima as follows: The role of Researchers: the frequencies of the thinking process which expressed the researching behavior were 80, 52 and 85 and could be classified into 6, 7 and 9 methods. The method with the highest frequency was learning. The benefit to all and self: The benefit could be classified into 9, 9 and 10 dimensions. The dimensions with the highest frequency were conservation, and continuing transfer of Thai wisdom and culture. And the learning outcome of morality: The learning outcome could be classified into 8, 9 and 9 dimensions. The ones with the highest frequency were consciousness, love and kindness, and effort.
Discipline Code: 0804
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14575
Type: Technical Report
Appears in Collections:Edu - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kitipong.pdf5.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.