Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14678
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอวยพร พานิช-
dc.contributor.advisorปรีดา อัครจันทโชติ-
dc.contributor.authorพิมพ์ฐดา วัจนวงศ์ปัญญา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2011-02-23T02:18:33Z-
dc.date.available2011-02-23T02:18:33Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14678-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en
dc.description.abstractการวิจัยเรื่อง “วาทวิเคราะห์สารและความหมายของ ส.ค.ส. พระราชทาน” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สาร รวมทั้งความหมายของเนื้อหาและภาพประกอบของ ส.ค.ส. พระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531-2550 ซึ่งมี ส.ค.ส. จำนวนทั้งสิ้น 19 ฉบับ โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบสหวิธีการ ประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร การวิเคราะห์ตัวบทและการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มเฉพาะเจาะจง โดยวิธีการ snowballing เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ซึ่งมีผลการวิจัยดังนี้ ส.ค.ส. พระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีแก่นเรื่องสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการคิดดี การพูดดี และการทำดี ซึ่งเนื้อความที่ปรากฏใน ส.ค.ส. พระราชทานมีเรื้อหาที่มาจากบทพระราชนิพนธ์และเนื้อหาที่มาจากเหตุการณ์ที่ปรากฎพบเห็นทั่วไปในสังคมของช่วงเวลาที่ทรงปรุง ส.ค.ส. โดยเนื้อหาที่ปรากฎใน ส.ค.ส. พระราชทานทั้ง 19 ฉบับนั้น ทรงเน้นในเรื่องคุณธรรมมากที่สุด และ ส.ค.ส. ที่ทรงพระราชทานนอกจากจะเป็นการอวยพรปีใหม่แล้ว เนื้อความใน ส.ค.ส. ยังเป็นการตกผลึกความคิดของพระราชดำรัสที่ทรงพระราชทานเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ส.ค.ส. พระราชทาน แม้จะมีเนื้อความที่เป็นข้อความขนาดสั้น ๆ แต่ความหมายที่ปรากฏในพระราชนิพนธ์ก็มีความหมายที่ลึกซึ้งแฝงไปด้วยข้อคิดและคติเตือนใจ รวมทั้งคำแนะนำที่เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต และเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของประเทศ หากพสกนิกรของพระองค์น้อมนำคำอวยพรดังกล่าวไปปฏิบัติก็จะมีความสุขสมดังกับความหมายของ “ส.ค.ส.”en
dc.description.abstractalternativeThis research had its main purpose to study the messages and meaning in His Majesty The King’s New Year Cards during the year 1986-2007. The study investigated the content as well as the illustrated pictures and his majesty’s composition. The procedures of the research were qualitative using multiple methodologies comprising of documentary research, textual analysis and in-depth interview by snowballing. The study shows that The King’s New Year Cards had as their main themes as follow: good thought, be polite and behave. His majesty’s composition had the content emphasized of Moral principle in concordance with political context. Besides blessing people, moreover, the content in His Majesty The King’s New Year Cards also related to His Majesty’s speech on the occasion of his birthday. His Majesty’s composed the New Year Cards simply and concisely. However, they have lots of meaning, ideas and advice that can use in our daily lives and refer to when we want to solve problems. Thus, if people realize and follow His Majesty’s advice, they will certainly have better way to live their life.en
dc.format.extent6369376 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2006.496-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการสื่อสารen
dc.subjectภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470-en
dc.subjectบัตรอวยพรen
dc.titleวาทวิเคราะห์สารและความหมายของ ส.ค.ส.พระราชทานen
dc.title.alternativeRhetorical analysis of messages and meaning in His Majesty the King's new year cardsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวาทวิทยาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorUayporn.P@chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2006.496-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pimtada_Wa.pdf6.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.