Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14774
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเศรษฐา ปานงาม-
dc.contributor.advisorสรวิศ นฤปิติ-
dc.contributor.authorอภิชย์ เหมาคม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2011-03-09T09:46:40Z-
dc.date.available2011-03-09T09:46:40Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14774-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en
dc.description.abstractเช่นเดียวกับหลายๆ เมืองใหญ่ในทวีปเอเชีย ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในกรุงเทพมหานครสามารถขับขี่ไปในช่องจราจรซึ่งมีรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์คันอื่นอยู่ด้วยได้ และผู้ขับขี่ยังสามารถเคลื่อนที่ไปตามช่องว่างระหว่างรถยนต์ที่ทางแยกได้ พฤติกรรมเหล่านี้มีผลกระทบต่อความเร็วของการจราจรและเวลาในแถวคอยของยานพาหนะ เนื่องจากปริมาณรถจักรยานยนต์ในกรุงเทพมหานครมีประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณยานพาหนะทั้งหมด พฤติกรรมเหล่านี้จึงมีผลกระทบที่มากพอสมควร ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงได้พัฒนาแบบจำลองพฤติกรรมของรถจักรยานยนต์ภายในเมืองขึ้น โดยอยู่บนพื้นฐานของพฤติกรรมผู้ขับขี่ในเมือง ในแบบจำลองการเคลื่อนที่ตามกัน รถจักรยานยนต์จะแบ่งปันช่องจราจรกับรถจักรยานยนต์หรือรถยนต์คันอื่น ในแบบจำลองการเปลี่ยนช่องจราจร รถจักรยานยนต์จะเปลี่ยนตำแหน่งไปยังช่องจราจรย่อยอื่นๆ และในแบบจำลองการเคลื่อนที่แบบไม่เป็นเส้นตรง ได้จำลองรถจักรยานยนต์ที่เคลื่อนที่ไปตามช่องว่างระหว่างแถวคอยของยานพาหนะแบบจำลองนี้พัฒนาขึ้นบนโปรแกรม Aimsun NG โดยข้อมูลสภาพการจราจรจริงที่นำมาใช้พัฒนาแบบจำลองนั้นได้มาจากการสำรวจและการบันทึกวีดิทัศน์ ซึ่งวีดิทัศน์ที่บันทึกมาได้นั้นได้ถูกวิเคราะห์เพื่อหาความน่าจะเป็นของแต่ละรูปแบบการเปลี่ยนช่องจราจรของรถจักรยานยนต์และความน่าจะเป็นของแต่ละรูปแบบการเคลื่อนที่แบบไม่เป็นเส้นตรงของรถจักรยานยนต์ ผลการจำลองจากสถานการณ์บริเวณกึ่งกลางถนนนั้นบ่งบอกว่าค่าความผิดพลาดของเวลาในการเดินทางและความเร็วมีค่าไม่เกิน 6 เปอร์เซ็นต์ และผลการจำลองสถานการณ์บริเวณทางแยกแสดงให้เห็นว่าค่าความผิดพลาดของเวลาในแถวคอยมีค่าไม่เกิน 12 เปอร์เซ็นต์.en
dc.description.abstractalternativeAs in many Asian cities, Bangkok motorcycle riders tend to ride along a traffic lane with a car or other motorcycles. They also meander through spaces between vehicles at intersections. These behaviors should have impact on the traffic speed and vehicle queuing times. Since motorcycles accounts for 20% of all Bangkok vehicles, this impact should be sizable. We, therefore, developed an inner city motorcycle behavior model, based on the city riders. In the following model, a motorcycle could share a traffic lane with another motorcycle or car. In the lane changing model, a motorcycle could change its position to another sub-lane. At traffic lights, meandering model would simulate motorcycles slipping through spaces between vehicle queues. The model was developed on Aimsun NG. Real traffic data used to develop the model was obtained from observations and video-recording. The recorded videos were analyzed to get a probability of each motorcycle lane changing pattern and a probability of each motorcycle meandering pattern. Simulation results of the mid-block scenarios indicate that the errors in travel time and speed are within 6 percents, and results of the intersection scenarios show that the error in time in queue is within 12 percents of the test data.en
dc.format.extent2863210 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1888-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการขับขี่จักรยานยนต์ -- การจำลองระบบen
dc.titleกระบวนการพัฒนาแบบจำลองพฤติกรรมผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์en
dc.title.alternativeThe process of motorcyclists' behavioral model developmenten
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิศวกรรมคอมพิวเตอร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorsetha@cp.eng.chula.ac.th-
dc.email.advisorSorawit.N@Chula.ac.th, kong@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.1888-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Apit_He.pdf2.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.