Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14849
Title: ต้นทุนการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของสถานีอนามัยในจังหวัดปราจีนบุรี ประจำปีงบประมาณ 2549
Other Titles: Cost of the health promotion and disease prevention services of health centers, Prachinburi province for fiscal year 2006
Authors: วันเพ็ญ เทียนเพลิง
Email: fmedbdm@md.chula.ac.th
Advisors: ทศพร วิมลเก็จ
บดี ธนะมั่น
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Thosporn.V@Chula.ac.th
Subjects: สถานีอนามัย -- ไทย -- ปราจีนบุรี -- บริการส่งเสริมสุขภาพ
การส่งเสริมสุขภาพ -- ต้นทุน
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยบริการตามกิจกรรมที่เป็นบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในสถานีอนามัยจังหวัดปราจีนบุรี ปีงบประมาณ 2549 ทำการศึกษาในมุมมองของผู้ให้บริการ ซึ่งแบ่งต้นทุนออกเป็นต้นทุนรวม และต้นทุนทางอ้อม โดยศึกษาตามองค์ประกอบต้นทุน คือต้นทุนค่าแรง ต้นทุนค่าวัสดุ และต้นทุนค่าลงทุน ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนา การกระจายต้นทุนไปสู่หน่วยรับต้นทุนใช้วิธีสมการพีชคณิตเส้นตรง กลุ่มประชากรศึกษาคือสถานีอนามัยทั้งหมด 14 แห่ง แบ่งเป็นสถานีอนามัยขนาดใหญ่ 6 แห่ง และสถานีอนามัยทั่วไป 8 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกข้อมูลตามองค์ประกอบต้นทุน ผลการวิจัยพบว่า ต้นทุนรวมในการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของสถานีอนามัย โดยเฉลี่ย เป็นเงิน 15,967,626.33 บาท บริการสร้างเสริมสุขภาพ มีอัตราส่วนขององค์ประกอบต้นทุน ต้นทุนค่าแรง : ต้นทุนค่าวัสดุ : ต้นทุนค่าลงทุน เท่ากับ 4.58 : 1.64 : 1 และบริการป้องกันโรค มีอัตราส่วนขององค์ประกอบต้นทุน ต้นทุนค่าแรง : ต้นทุนค่าวัสดุ : ต้นทุนค่าลงทุน เท่ากับ 3.97 : 2.43 : 1 สำหรับต้นทุนต่อหน่วยบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค พบว่า ต้นทุนรวมต่อหน่วยบริการสร้างเสริมสุขภาพ เท่ากับ 874.72 โดยเฉลี่ยมีต้นทุนต่อหน่วยบริการ กิจกรรมอนามัยแม่และเด็ก เท่ากับ 188.02 บาท กิจกรรมวางแผนครอบครัว เท่ากับ 87.52 บาท กิจกรรมสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค เท่ากับ 190.97 บาท กิจกรรมโภชนาการ เท่ากับ 55.13 บาท กิจกรรมอนามัยโรงเรียน เท่ากับ 126.26 บาท กิจกรรมให้คำปรึกษา เท่ากับ 24.09 บาท กิจกรรมสุขศึกษาเท่ากับ 56.66 บาท กิจกรรมการเยี่ยมบ้าน เท่ากับ 146.07 บาท และต้นทุนรวมต่อหน่วยบริการป้องกันโรค เท่ากับ 865.07 โดยเฉลี่ยมีต้นทุนต่อหน่วยบริการ กิจกรรมเฝ้าระวังโรค เท่ากับ 104.10 บาท กิจกรรมควบคุมและป้องกันโรคเอดส์ เท่ากับ 144.65 กิจกรรมควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก เท่ากับ 173.72 บาท กิจกรรมควบคุมและป้องกันโรคไข้หวัดนก เท่ากับ 86.55 บาท กิจกรรมควบคุมและป้องกันโรคอื่น ๆ เท่ากับ 75.89 บาท กิจกรรมสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมเท่ากับ 157.68 บาท กิจกรรมตรวจสุขภาพประชากรทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง เท่ากับ 47.22 บาท กิจกรรมป้องกันโรคในช่องปาก เท่ากับ 75.26 บาท ผลการศึกษานี้ ทำให้ทราบต้นทุนการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของสถานีอนามัยที่แท้จริง สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการกำหนดและควบคุมอัตราค่าบริการที่เหมาะสม และเป็นธรรมต่อผู้รับบริการ รวมทั้งเป็นข้อมูลพื้นฐานประกอบการตัดสินใจของผู้บริหารในการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด
Other Abstract: The purpose of this study was to carry out an analysis of genera cost and unit cost to health promotion and disease prevention services of health centers in Prachinburi province for fiscal year 2006. The analysis was base on the provider's perspective. Cost center activity criteria were used. Total cost could be separated into main cost. Total cost and indirect cost. In each of these areas, three costs (labour, capital and material) were examined. Indirect cost will be allocated to absorbing cost center by Simultaneous equation method. This study was a descriptive study and all health centers were selected. The study populations were six health centers and eight general health centers. Data were collected using a self created recording chart. It was found that the average total cost to health promotion and disease prevention services of health centers was 15,967,626.33 baht. Health promotion service have the ratio of the component costs (labour cost : material cost : capital cost) was 4.58 : 1.64 : 1 and disease prevention service have the ratio of the component costs (labour cost : material cost : capital cost) was 3.97 : 2.43 : 1. The average total cost of health promotion was 874.72 baht for curative care, maternal and child health, family planning , immunization, nutrition, school health, support for participation in heath promotion, heath education and home visit activities were 188.02, 87.52, 190.97, 55.13, 126.26, 24.09, 56.66 and 146.07 baht respectively. The average total cost of disease prevention was 865.07 baht for curative care, disease surveillance, preventive and control HIV disease, preventive and control DHF disease, preventive and control bird flu, preventive and control disease, environment sanitation, physical check-up for the general population and risk groups and dental health prevention activities were 104.10, 144.65, 173.72, 86.55, 75.89, 157.68, 47.22 and 75.26 baht respectively. The result of this study are used as a guideline for managerial decision making and service and may be beneficial for planning to increase the efficiency.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เวชศาสตร์ชุมชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14849
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1178
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.1178
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wanpen_Te.pdf21.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.