Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15161
Title: ประสิทธิผลของโปรแกรมการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อส่งเสริมการนอนหลับของผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ : การวิเคราะห์อภิมาน
Other Titles: The effectiveness of nursing intervention in sleep promotion among adult patients : a meta - analysis
Authors: ชัชฎาวดี ปานเชื้อ
Advisors: ชนกพร จิตปัญญา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: hchanokp@pioneer.netserv.chula.ac.th
Subjects: การวิเคราะห์อภิมาน
การนอนหลับ
การพยาบาล
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิเคราะห์อภิมานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะทั่วไปและ คุณลักษณะด้านวิธีวิทยาการวิจัยของงานวิจัยเกี่ยวกับโปรแกรมการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อส่งเสริมการนอนหลับของผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ในประเทศไทย 2) เพื่อวิเคราะห์ขนาดอิทธิพลของโปรแกรมการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อส่งเสริมการนอนหลับของผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ในประเทศไทย โดยศึกษาจากวิทยานิพนธ์และรายงานการวิจัยในประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2528-2551 จำนวน 21 เรื่อง เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสรุปคุณลักษณะของงานวิจัยและแบบประเมินคุณภาพงานวิจัย ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.90 หาความเที่ยงโดยวิธีผู้ประเมินร่วมกันระหว่างผู้วิจัยและอาจารย์ที่ปรึกษา ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.86 นำข้อมูลไปวิเคราะห์ตามวิธีของ Glass, McGaw, & Smith (1981) ได้ค่าขนาดอิทธิพลจำนวน 157 ค่า ผลการวิเคราะห์งานวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1.งานวิจัยที่นำมาวิเคราะห์เป็นวิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต (100%) และส่วนใหญ่เป็น งานวิจัยจากคณะพยาบาลศาสตร์ (71.4%) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันที่ผลิตงานวิจัยมากที่สุด (38.1%) คุณภาพงานวิจัยอยู่ในระดับดีมาก (90.5%) พบว่าการปฏิบัติการพยาบาลแบบผสมผสานถูกนำมาศึกษามากที่สุด (47.6%) ส่วนใหญ่ศึกษาในเรื่องการให้ฟังดนตรี (19.4%) และใช้ระยะเวลาในการปฏิบัติการพยาบาลแต่ละครั้งน้อยกว่าหรือเท่ากับ 30 นาที (52.4%) มีความถี่ในการปฏิบัติการพยาบาลวันละ 1-4 ครั้ง/วัน (61.9%) และการปฏิบัติการพยาบาลด้านสังคมไม่มีการนำมาศึกษาเลย 2.ผลการเปรียบเทียบค่าขนาดอิทธิพลพบว่าการปฏิบัติการพยาบาลแบบผสมผสาน ให้ค่า ขนาดอิทธิพลเฉลี่ยสูงสุด (d=1.46) และการปฏิบัติการพยาบาลที่เน้นด้านการเคลื่อนไหวให้ค่าขนาดอิทธิพลต่ำที่สุด (d=.40)
Other Abstract: The purposes of this meta analysis were to study 1) Methodological and substantivecharacteristics of nursing interventions In sleep promoting in adult patients, thailand ; 2) Compare the effectiveness of nursing interventions In sleep promoting in adult patients, thailand ; and 3) Influences of methodological and substantive characteristics on the effect size. Total of 21 true and quasi – experimental studies in Thailand during 1985 – 2008 were included. Studies were analyzed for method of Glass, McGaw, and Smith (1981). This meta – analysis yielded 157 effect sizes. Results were as follows: 1. The majority of the studies were Master,s theses (100%); were from faculty of nursing (71.4%); and were from Chulalongkorn University (38.1%); Most of instruments were tested for both reliability and validity (90.32%); decided in very good quality (90.5%). Most of nursing interventions were used was Combined intervention (47.6%). Most of method nursing intervention were listening to music (19.4%)%); a period of time to practice <or= 30 นาที (52.4 %); a period of frequency to practice 1-4 time/day (61.9%) and no study of social intervention. 2. Nursing interventions had the large effect–size on Combined intervention had the largest effect–size on health outcomes (d=2.21). Cognitive intervention the lowest effect–size on health outcomes (d=.87)
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)-- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2551
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15161
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.2043
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.2043
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chatchadavadee_pa.pdf1.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.