Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15378
Title: การศึกษานาฏยลักษณ์ของละครหลวงในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
Other Titles: The study of the characteristics of The Court Dance Drama in The Reign of King Thaksin The Great
Authors: ปัทมา วัฒนพานิช
Advisors: วิชชุตา วุธาทิตย์
เสาวณิต วิงวอน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Vijjuta@yahoo.com
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ตากสินมหาราช, สมเด็จพระเจ้า, 2277-2325
นาฏศิลป์
ละคร
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ละครหลวง ที่ฟื้นฟูขึ้นในสมัยธนบุรี วิเคราะห์กระบวน ท่ารำ และรูปแบบนาฏยลักษณ์ บทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มุ่งศึกษาละครหลวงสมัยธนบุรี โดยศึกษานาฏยลักษณ์ละครหลวงในสมัยอยุธยาตอนปลาย ตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พ.ศ.2275จนถึงกรุงธนบุรี พ.ศ.2325 มุ่งศึกษาสภาพของนาฏยศิลป์ และละครหลวงในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดยใช้กรณีศึกษา กระบวนท่ารำของนางสีดาในตอนท้าวมาลีวราชว่าความ และกระบวนท่ารำของนางวานรินในตอนหนุมานเกี้ยวนางวานริน วิธีวิจัยใช้การศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏยศิลป์ ดุริยางค์ไทย คีตศิลป์ไทย และวรรณกรรม ผลการศึกษาสรุปได้ว่า ละครหลวงในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นการแสดงละครผู้หญิงที่ได้รับมาจากละครผู้หญิงของเจ้าพระยานครศรีธรรมราช(หนู) ใน พ.ศ. 2312 ประกอบกับครูละครในสมัยอยุธยาที่หนีภัยสงครามจากพม่า ละครหลวงในสมัยธนบุรี รูปแบบและลักษณะในการแสดง เช่นเดียวกับละครรำ การแสดงยังคงจารีตประเพณีและขั้นตอนตลอดจนการแสดง เริ่มจากการไหว้ครู โหมโรง การรำเบิกโรง แล้วจึงจับเรื่อง ในส่วนวิธี แสดงละครหลวงพบว่าวิธีการแสดงแตกต่างจากละครใน ในสมัยรัตนโกสินทร์ ด้วยวิธีการบรรจุเพลงหน้าพาทย์ คำคี่ในคำกลอนและมีเพลงจากละครชาตรีผสมอยู่ เช่น มโนราห์โอด ชาตรี ยิ่กิน เป็นต้น การดำเนินเรื่องกระชับ รวดเร็ว มุ่งเน้นเนื้อความและเรื่องราวเป็นใหญ่ ลักษณะนิสัยตัวละครเปิดเผย มีอารมณ์สนุก และเน้นคุณธรรม ด้านความยุติธรรม การใช้ภาษามีถ้อยคำเรียบง่าย ตรงไปตรงมา มักมีการเล่นคำ สำนวนโวหารใช้คำธรรมดาไม่สละสลวยหรูหรา สรุปได้ว่า นาฏยลักษณ์ของการแสดงละครหลวงในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเป็นการแสดงละครผู้หญิงของหลวงที่มีจารีตในการแสดงแบบสมัยอยุธยาตอนปลาย ท่ารำคล้ายท่ารำในสมัยรัตนโกสินทร์แบ่งออกเป็นการรำใช้บท และการรำเพลงหน้าพาทย์ กระบวนท่ารำใช้แม่ท่า และสร้อยท่า เพื่อให้ท่ารำสอดคล้องเชื่อมต่อกันจนเกิดความสวยงาม ในส่วนเทคนิคลีลาของท่ารำอาจยังไม่ละเอียดเท่าสมัยรัตนโกสินทร์ คาดว่าท่ารำบางท่าของตัวนางอาจจะมีการยกเท้าด้านหน้าเหมือนท่ารำละครผู้หญิงของเจ้าพระยานครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นลักษณะท่ารำของละครนอก และในขณะนั้นมีละครชาตรีที่เป็นต้นกำเนิดของละครนอกแสดงอยู่ทางใต้โดยทั่ว ดังนั้นนาฏยลักษณ์ของละครหลวงสมัยธนบุรีน่าจะได้รับอิทธิพลจากละครผู้หญิงของเจ้าพระยานครศรีธรรมราช และครูละครในสมัยอยุธยา
Other Abstract: The purposes of this research were to analyze the court dance drama revived in the Thonburi period, analyze the patterns of dancing and theatrical characteristics of drama composed during the reign of King Thaksin the Great, study court dance drama in the Thonburi period focusing on the theatrical characteristics of court dance drama in the late Ayuttaya period from King Borommakot (1732) to the Thonburi period (1782) and study the status of dramatic art and court dance dramas during the reign of King Thaksin the Great. Nang Sida’s dancing during the trial presided by Thao Maliwarat and Nang Wanarin’s dancing during the courting scene between Hanuman and Nang Wanarin were the case studies. The research methodology was conducted by studying related documents and interviewing authorities in dramatic arts - the arts of playing Thai instruments, Thai singing and Thai literature. It was found that the court dance drama was performed by females, which was passed down from dramas performed by females under the supervision of Chao Phraya Nakornsitammarat (NU) in 1769. This court dance drama was also influenced by drama teachers during the Ayuttaya period, who fled from Ayuttaya during the war between Ayuttaya and Burma. The patterns and characteristics of the court dance drama were the same as the general dance drama. The court dance drama still kept the same traditions, starting from paying respect to teachers, overture, opening dance and then the commencement of the show. The dancing was different from the dancing of a play performed by females in the Rattanakosin period in that the court dance drama included a song called plang na pat, more words in the verse and songs from a dance drama called lakorn chatree such as manora od, chatree and yeegin. The story progressed quickly, focusing on the content. The personalities of the characters were frank, joyful, and emphasizing an morality and justice. The language used was simple and straightforward and easy-to-understand idioms were also used. It can be concluded that the theatrical characteristics of the court dance drama in the reign of King Thaksin the Great followed those performed during the late Ayuttaya period. The dance was similar to that in the Rattanakosin period, which can be divided into the dance in the story and the dance in the plang na pat. Both the main dancing steps and the auxiliary dancing steps were used to make the dance smooth. However, the dancing techniques were not as sophisticated as those in the Rattanakosin period. It is expected that some of the dances performed by the main actress may point one of the feet outward in the same way as those of female drama supervised by Chao Phraya Nakornsithammarat. These dances are for the general dance drama. Also at that time, Chatree drama which gives rise to the general dance drama is performed in the South. As a result, the theatrical characteristics of the court dance drama in the Thonburi period may have been influenced by the female drama supervised by Chao Phraya Nakornsithammarat and drama teachers from Ayuttaya.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นาฏยศิลป์ไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15378
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1023
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.1023
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pattama_wa.pdf3.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.