Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15532
Title: การวิจัยและพัฒนากระบวนการกำกับตนเองสำหรับการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาการรับรู้ความสามารถของตนเอง เจตคติและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Other Titles: Research and development of self-regurated process for mathematics instruction to enhance self-efficacy, attitude and learning achievement of eighth students
Authors: สุภาวดี คำนาดี
Advisors: สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การรับรู้ตนเอง
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนากระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการกำกับตนเองในวิชาคณิตศาสตร์ (2) ศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการกำกับตนเองในวิชาคณิตศาสตร์ที่มีต่อการรับรู้ความสามารถของตนเอง เจตคติและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถของตนเอง เจตคติและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการกำกับตนเองในวิชาคณิตศาสตร์ การวิจัยและพัฒนาแบ่งออกเป็น 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 ศึกษาเอกสารและศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน ระยะที่ 2 สร้างแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการกำกับตนเองและตรวจสอบคุณภาพ และระยะที่ 3 ทดลองใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และปรับปรุง โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง 40 คนและกลุ่มควบคุม 43 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเองในวิชาคณิตศาสตร์ 2) แบบวัดเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ 3) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการกำกับตนเองและแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยปกติ และ 4) แบบบันทึกการเรียนรู้ของนักเรียนและแบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนโดยครูผู้สอน สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ สถิติบรรยายและสถิติทดสอบ ONE – WAY - MANOVA ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการกำกับตนเองในวิชาคณิตศาสตร์ มีขั้นตอนในการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน ได้แก่ การประเมินตนเอง การเลือกปัญหาและตั้งเป้าหมาย การหาแนวทางการแก้ปัญหา การควบคุมตนเองและบันทึกพฤติกรรม การแสดงปฏิกิริยาต่อตนเอง และการควบคุมตนเองและบันทึกพฤติกรรมต่อเนื่อง (2) นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการกำกับตนเองมีค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ความสามารถของตนเอง เจตคติและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์สูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยกระบวนการกำกับตนเองในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) คะแนนการรับรู้ความสามารถของตนเอง คะแนนเจตติและคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Other Abstract: The purposes of this research were to (1) develop the learning procedures for self-regulation practice in mathematics instruction, (2) to study effects of using the procedure to support self-efficacy, attitude and mathematics learning achievement of the eighth grade students and (3) to study the relationships among self-efficacy, attitude and mathematics learning achievement of the who experienced the procedure. The samples were two groups of eighth grade students: an experimental group of 40 students and a comparative group of 43 students. The research instruments were (1) the self-efficacy test and the mathematics achievement test (2) the attitude test (3) the activity plans with self-regulated procedure and activity plans with regular procedure. and (4) students’ behavior notebook and observation forms by the teachers. The data were analyzed by means of descriptive statistics and One- Way- MANOVA test.. The research findings were as follows: (1) The developed self-regulated procedure for mathematics instruction had six steps. They were self-assessment, problem and target choosing, generation of problem-solving approaches, self-regulation and behavioral records, self-reaction, and self-regulating and recording own behavior continuously. (2) The students who received self-regulation practice in mathematics instruction had the average score of self-efficacy, attitude and mathematics learning achievement higher than the comparative group at the significance level of .05. (3) The correlation coefficient among self-efficacy, attitude and mathematics learning achievement of the experimental group were significant at the .01 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15532
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.259
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.259
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supawadee_ku.pdf1.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.