Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15616
Title: โปรโตคอลการส่งผ่านข้อมูล สำหรับโครงข่ายแอดฮอกในยานพาหนะ โดยใช้โนดข้างถนนประมวลข้อมูลการจราจรแบบกระจาย
Other Titles: Data dissemination protocol for vehicular Ad Hoc networks by utilizing distributed roadside traffic information processing nodes
Authors: ศศิรมย์ เทียนน้อย
Advisors: ชัยเชษฐ์ สายวิจิตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: chaiyachet.S@chula.ac.th
Subjects: ระบบสื่อสารไร้สาย
เครือข่ายแอดฮอก
เครือข่ายแอดฮอกของยานพาหนะ
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในปัจจุบันนั้นโครงข่ายแอดฮอก นำมาประยุกต์ใช้งานทางด้านการขนส่งมวลชน เรียกว่าโครงข่ายแอดฮอกของยานพาหนะ ซึ่งมีการติดต่อสื่อสารกันระหว่างยานพาหนะด้วยกันเอง และการติดต่อสื่อสารระหว่างโนดข้างถนน ที่เชื่อมต่อกับศูนย์กลางการจัดการควบคุมจราจรกับยานพาหนะ เพื่อเป็นการเตือนภัยล่วงหน้าในช่วงเวลาสั้นๆ ก่อนถึงจุดเกิดเหตุหรือในสภาวะแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการขับขี่ยานพาหนะ จากปัญหาที่ผ่านมาพบว่า การติดต่อสื่อสารในสภาวะที่มียานพาหนะเบาบางบนท้องถนน ทำให้ยานพาหนะไม่สามารถติอต่อสื่อสารระหว่างยานพาหนะด้วยกันเองได้ ข้อมูลการจราจรในพื้นที่นี้ อาจเกิดการสูญหายของข้อมูล และค่าอัตราการรับแพ็กเกตสำเร็จมีค่าน้อย เมื่อพิจารณากรณีการติดต่อสื่อสารระหว่างโนดข้างถนนกับยานพาหนะ ซึ่งโนดข้างถนนจะรับข้อมูลการจราจรมาจากศูนย์กลางการจัดการควบคุมจราจร จากการประมวลผลของอุปกรณ์ที่ถูกติดตั้ง เช่น กล้องวงจรปิด อุปกรณ์ตรวจจับรถยนต์ เป็นต้น ทำให้การลงทุนและการบำรุงรักษามีค่าใช้จ่ายที่สูง จุดมุ่งหมายของวิทยานิพนธ์นี้คือ พัฒนาโปรโตคอลการสื่อสารของยานพาหนะโดยติดตั้งโนดข้างถนนเข้ามาในระบบ ซึ่งโนดข้างถนนนี้ไม่ได้มีการเชื่อมต่อเข้าสู่ศูนย์กลาง ทำหน้าที่รับข้อมูลจากยานพาหนะและประมวลผลข้อมูลที่รวบรวมได้จากยานพาหนะ ส่งไปยังยานพาหนะอื่นๆ ทำให้ยานพาหนะสามารถรับรู้ข้อมูลการจราจรที่เกิดขึ้นบนท้องถนนได้เลย ไม่ต้องรอข้อมูลจากศูนย์กลาง อีกทั้งในสภาวะที่มียานพาหนะบนท้องถนนเบาบาง โปรโตคอลที่ถูกพัฒนาขึ้นนี้จะช่วยป้องกันข้อมูลการจราจรสูญหาย ช่วยเพิ่มอัตราการรับแพ็กเกตสำเร็จ และมีค่าการกระจายข้อมูลโดยรวมของระบบมีค่าลดลงอีกด้วย ในการสร้างระบบจำลองได้ใช้โปรแกรม NS-2 เพื่อประเมินสมรรถนะในการติดต่อสื่อสารข้อมูลการจราจรจากการออกแบบโปรโตคอล.
Other Abstract: Nowadays, the vehicular ad-hoc network is widely used in the transportation system. With this technology applied, the communication among the vehicles or between vehicle and the road-side unit can make it possible for drivers to be informed about the accident or an inappropriate environment prior to driving near that area. From the previous researches, the communication when the road has low traffic density, i.e. few cars on the road, may lead to the loss of traffic information and also decrease the data received ratio. In the case of communicating between vehicles and road-side unit, the collected data must be processed via the Traffic Management Centers (TMC)(centralized manner) before the road-side unit receives from CCTV, Loop Detector and sends the processed information back to the vehicles. The drawback of this ; it requires lots of investment due to the number of road-side unit constructed and their maintenance cost. The objective of this thesis is to improve the efficiency of the protocol used for communicating among vehicles by applying the road-side unit into the system. By not connecting them in the centralized-communication style, the road-side units themselves will receive the data from the vehicles and process that collected data to other vehicles in order to let the driver learn about the traffic situation. For this reason, the drivers will not have to wait for the information from the centre. This kind of communication can also prevent the lost of traffic information when the road has low traffic density. Moreover, it can increase the data received ratio and decrease the total dissemination time. In the experiment, we used NS-2 to test the performance of the traffic communication applied by the designed protocol.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15616
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1310
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.1310
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sasirom_ti.pdf2.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.