Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15792
Title: ฟ้อนนางเทียม ในพิธีบุญเลี้ยงบ้าน กรณีศึกษา บ้านกาลึม จังหวัดอุดรธานี
Other Titles: Fonnangtiam for Bunliangban : a case study of Bankaluem Oduntani
Authors: กนกอร สุขุมาลพงษ์
Advisors: มาลินี อาชายุทธการ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Malinee.A@Chula.ac.th
Subjects: การรำ
ฟ้อนผีฟ้านางเทียม
บ้านกาลึม (อุดรธานี)
ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) -- ความเป็นอยู่และประเพณี
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาบทบาทหน้าที่ และการฟ้อนนางเทียมในพิธีบุญเลี้ยงบ้าน ของชาวบ้านกาลึม จังหวัดอุดรธานี โดยการนำท่าฟ้อนมาศึกษาวิเคราะห์ เพื่อหาเอกลักษณ์การฟ้อนนางเทียมในพิธีบุญเลี้ยงบ้าน ซึ่งการเก็บข้อมูลใช้วิธีการสังเกต การสัมภาษณ์ และการจดบันทึก ผลการศึกษาวิจัยปรากฏดังนี้ บ้านกาลึมเป็นสังคมที่มีการนับถือผี มีพิธีกรรมความเชื่อในวิญญาณและอำนาจลึกลับ โดยผีที่ชาวบ้านให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง คือ ผีปู่ตา ซึ่งในทุกปีต้องจัดพิธีบูชา เรียกว่า “พิธีบุญเลี้ยงบ้าน” พิธีบุญเลี้ยงบ้านของชาวบ้านกาลึม มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงออกให้เห็นถึงความกตัญญูกตเวทีต่อปู่ตา ที่ได้คอยปกปักษ์รักษาหมู่บ้านให้อยู่เย็นเป็นสุข ปราศจากภัยพิบัติต่างๆ มาโดยตลอดทั้งปีที่ผ่านมา ในพิธีบุญเลี้ยงบ้าน จะมีจ้ำและนางเทียมทำหน้าที่เป็นผู้ประกอบพิธีกรรม ซึ่งผู้ที่จะมาทำหน้าที่เป็นจ้ำและนางเทียมได้นั้นจะต้องผ่านการคัดเลือกจากปู่ตา โดยจ้ำมีหน้าที่ในการเป็นสื่อกลางระหว่างปู่ตากับชาวบ้าน ส่วนนางเทียมทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยจ้ำและเป็นร่างทรงของปู่ตา เพื่อแสดงให้เห็นว่าปู่ตามาปรากฏตัวจริง และเมื่อปู่ตาเข้าทรงนางเทียมจะมีการฟ้อนเกิดขึ้น ซึ่งชาวบ้านเชื่อว่าเป็นการฟ้อนของปู่ตาและบริวาร โดยการฟ้อนมีวัตถุประสงค์ในการขจัดปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายให้ออกจากหมู่บ้าน ทั้งยังเป็นการฟ้อนเพื่อปลดปล่อยอารมณ์ของบรรดาบริวาร ท่าฟ้อนนางเทียมมีลักษณะท่าฟ้อนที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะในแบบฉบับของชาวบ้านกาลึม ซึ่งสามารถแบ่งลักษณะการฟ้อนออกได้ 4 ลักษณะ ได้แก่ ท่าฟ้อนเดี่ยว ท่าเข้าคู่ ท่าเข้ากลุ่ม และ ท่าฟ้อนอาวุธ ท่าทางการฟ้อนเป็นที่ไม่เน้นความสวยงาม เนื่องจากเป็นการวาดฟ้อนภายใต้จิตสำนึก ความรู้สึกนึกคิดที่อยากจะแสดงออก ลีลาการฟ้อนนั้นไม่มีแบบแผนตายตัว ไม่กำหนดว่าการใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกายจะใช้ท่าใดก่อนและหลัง หรือทิศทางใดก่อนของตัวผู้ฟ้อน เป็นการวาดฟ้อนที่เน้นท่าทางที่รุนแรง รวดเร็ว วาดลำแขนในลักษณะกว้าง มีการยกมือขึ้นสูงเหนือศีรษะ และวาดมือลงต่ำ เท้าเน้นการกระโดด การหมุนรอบตัว การฟ้อนนั้นมีการขย่มตัวตามจังหวะตลอดเวลา สิ่งเหล่านี้ถือเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของการฟ้อนนางเทียมในพิธีบุญเลี้ยงบ้านของชาวบ้านกาลึม ได้เป็นอย่างดี
Other Abstract: The purpose of this thesis was to study the role and Nang Tiam dance, the local northeast dance of the annual rite at Ban Kaluem village Udon Thani by analyzing the postures of the dance in order to find its unique. The data collecting was done by observation and record. The study was found that the villagers at Ban Kaluem worshipped the ghost and practiced the rite according to the ghost spirit and mystery. The most important ghost was Pu Ta. The practice was done annually and commonly called “the annual village rite” The purpose of the annual village rite of Ban Kaluem was to show the gratefulness to Pu Ta who always protected the villagers to live happily and peacefully without. At the rite, there would be Jamp, the witch doctor and Nang Tiam, the representative spirit of Pu Ta. They both were selected by Pu Ta. Jamp was the communicator between Pu Ta and the villagers whereas Nang Tiam was Jamp’s assistant. In order to show the villagers that Pu Ta had appeared his spirit and then Pu Ta’s spirit came into Nang Tiam’s, Nang Thiam would have to show the dance believed by all villagers that it was the real dance of Pu Ta and his disciplines. The purpose of Nang Tiam dance was to get rid of the bad things out of the village and also the dance could help relieve the emotion of the disciplines. The postures of the dance were the unique dance of Ban Kaluem which consisted of 4 types according single dance, pair dance, group dance and dance with weapons. The styles of dancing were from imagination under sub-conscious mind and the need of the dancer’s expression. They were not emphasis on their postures in body dancing. For example, Nang Tiam could step forward or backward by any feet or dance with any directions. On the contrary, she was emphasis on quickness with strong postures by drawing a wide arm with rising hand high over the head and then drawing an arm low. Moreover, she had to move the body up and down, jumping and turning around all the time. All of these postures were well reflected to the unique dance of Nang Tiam showing at the annual village rite of Ban Kaluem.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นาฏยศิลป์ไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15792
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1120
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.1120
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kanokon_su.pdf5.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.