Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15885
Title: ความแม่นยำในการตรวจหาภาวะเส้นเลือดหัวใจโคโรนารีตีบตัน ด้วยภาพคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็ก โดยใช้ยาไดไพริดาโมลชักนำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดชั่วคราว
Other Titles: Diagnostic accuracy of dipyridamole stress cardiovascular magnetic resonance imaging for the detection of coronary artery disease
Authors: ไพโรจน์ ฉัตรานุกูลชัย
Advisors: จักรพันธ์ ชัยพรหมประสิทธิ์
มนตร์รวี ทุมโฆสิต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: cjarkarp@hotmail.com
ไม่มีข้อมูล
Subjects: หลอดเลือดโคโรนารีย์ -- โรค
หัวใจ -- การสร้างภาพจากการกำทอนในสนามแม่เหล็ก
รื่องถ่ายภาพด้วยสนามแม่เหล็ก
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จุดมุ่งหมาย เพื่อทำการศึกษาหาความแม่นยำในการวินิจฉัยภาวะเส้นเลือดหัวใจโคโรนารีตีบตัน ด้วยภาพคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็ก โดยใช้ยาไดไพริดาโมลชักนำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดชั่วคราว ร่วมกับเทคนิคดีเลย์เอนแฮนท์เมนท์ (delayed enhancement) วิธีการศึกษา ผู้ป่วยเข้าร่วมทั้งหมด 39 คน (ชาย 24, หญิง 15 คน, อายุเฉลี่ย 59±11.4 ปี) ซึ่งสงสัยว่ามีภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบตัน หรือเคยได้รับการวินิจฉัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายมาก่อนและสงสัยว่ามีพยาธิสภาพที่ใหม่เกิดขึ้น เข้ารับการตรวจภาพคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็กเก็บภาพขณะใช้ยาไดไพริดาโมลชักนำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดชั่วคราวเปรียบเทียบกับภาพขณะพัก ร่วมกับเทคนิคดีเลย์เอนแฮนท์เมนท์ แปลผลภาพคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็กโดยแยกตามเส้นเลือดหัวใจโคโรนารีแต่ละเส้น อ้างอิงตาม 17 เซกเมนท์โมเดล จากนั้นผู้ป่วยทุกรายจะเข้ารับการฉีดสีสวนเส้นเลือดหัวใจ (โดยไม่ขึ้นกับผลการตรวจคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็ก) ภายในระยะเวลาให้หลังไม่เกิน 1 เดือน (ค่าเฉลี่ย 16 วัน) ผลการศึกษา ไม่มีผู้ป่วยรายใดได้รับผลข้างเคียงรุนแรงจากการตรวจทั้ง 2 วิธี ผลการฉีดสีสวนเส้นเลือดหัวใจโคโรนารีพบผู้ป่วยที่มีภาวะเส้นเลือดตีบอย่างมีนัยสำคัญ (ตีบมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 70) จำนวน 26 คน (แจกแจงเป็นเส้นเลือดหัวใจทั้งหมด 55 เส้น) คิดเป็นความชุกของผู้ป่วยร้อยละ 67 การตรวจคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็กโดยใช้ยาไดไพริดาโมลชักนำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดร่วมกับเทคนิคดีเลย์เอนแฮนท์เมนท์ในการวินิจฉัยภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบตัน ให้ค่าของความไวและ positive predictive value ร้อยละ 89 ให้ค่าความจำเพาะ, negative predictive value และค่าความแม่นยำ อยู่ที่ร้อยละ 90 สรุปผลการศึกษา การตรวจภาพคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็กโดยใช้ยาไดไพริดาโมลชักนำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดชั่วคราว ร่วมกับเทคนิคดีเลย์เอนแฮนท์เมนท์มีค่าความแม่นยำต่างๆที่ดีนับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของเทคนิค noninvasive ในการวินิจฉัยภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบตัน
Other Abstract: Purpose To prospective determine the accuracy of dipyridamole stress cardiovascular magnetic resonance (CMR) by using stress and rest perfusion imaging combine with delayed enhancement for detection of coronary artery disease (CAD). Material and methods Thirty-nine patients (24 men, 15 women; mean age 59 ± 11.4 years) suspected of having CAD or who had experienced a previous myocardial infarction and suspected of having new lesion were enrolled. Both dipyridamole stress CMR and subsequent coronary angiography were performed with mean time interval of 16 (1-30) days. The dipyridamole stress CMR protocol includes stress and rest dipyridamole perfusion imaging followed by delayed enhancement. Per-vessel analysis was performed using the correlation with 17-segment model. Results None of the patient experienced serious adverse reaction during CMR protocol. Coronary angiography depicted significant CAD (≥ 70% stenosis of major epicardial artery) in 26 patients (55 coronary artery vessels) calculated to 67% prevalence of CAD. Dipyridamole stress CMR combine with delayed enhancement provided 89% for sensitivity and positive predictive value, 90% for specificity, negative predictive value and accuracy to depict significant coronary stenosis. Conclusion Using of dipyridamole stress CMR combine with delayed enhancement with visual interpretation is the novel noninvasive diagnostic tool which has high sensitivity, specificity and diagnostic accuracy to depict significant coronary stenosis.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อาชีวเวชศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15885
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.417
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.417
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pairoj_ch.pdf1.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.