Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15893
Title: Oxidative stability of omega-3 fatty acid emulsions coted with polyelectrolyte multilayer
Other Titles: เสถียรภาพต่อการเกิดออกซิเดชันของกรดไขมันโอเมกา-3 อิมัลชันที่เคลือบด้วยพอลิอิเล็กโทรไลต์มัลติเลเยอร์
Authors: Somprasong Siramard
Advisors: Dubas, Luxsana
Dubas, Stephan T,
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Science
Advisor's Email: No information provided
No information provided
Subjects: Oxidation
Unsaturated fatty acids
Emulsions
Omega-3 fatty acids
Polyelectrolytes
Issue Date: 2008
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: In this study, we demonstrated the first preparation procedure for oil-in-water emulsion coated with tertiary and quaternary polyelectrolyte layers and their improvement on the oxidation and creaming stability of omega-3 oil-in-water emulsions. Based on the study of the optimum preparation condition, primary emulsions were prepared by homogenizing a solution of 5 %w tuna oil and 95 %w of 1.5 %w casein in water at pH 6 for 2 minutes at 20,000 rpm and 5 homogenization cycles. Surface modification of the primary emulsion by polyelectrolytes was achieved by using the layer-by-layer self assembly technique. First, the primary emulsions were further coated with either poly(diallyl dimethyl ammonium chloride) PDADMAC or chitosan (polycationic) called secondary emulsion. Then, the tertiary emulsions were prepared by coating secondary emulsion with alginate (polyanonic). Last, the quaternary emulsion coated with casein-PDADMAC-alginate-PDADMAC could be synthesized. The equivalent point for multilayer emulsion preparation was investigated by measuring %transmission and zeta potential. The mass ratios of the emulsion to polyelectrolyte at the equivalent points for the preparation of secondary emulsion were 3.2 and 3.0 for casein-PDADMAC and casein-chitosan, respectively. The mass ratios for tertiary emulsions coated with casein-PDADMAC-alginate, casein-chitosan-alginate and quaternary emulsion coated with casein-PDADMAC-alginate-PDADMAC preparations were 0.24, 0.33 and 0.77, respectively. Oxidative stability of the omega-3 in tuna oil-in-water emulsions was measured by using UV-Vis spectroscopy via ferric thiocyanate method. Physical and oxidative stability of the multilayer emulsions were found to be improved when compared with primary emulsions. The oxidative stability of all multilayer emulsions were increased around 36-38% over primary emulsion at day 4 and 5 of storage. This is because the thicker layer of multilayer emulsions and the cationic charge on the droplet of secondary and quaternary emulsion can prevent the droplet from the oxidants. The creaming stability of secondary, tertiary and quaternary emulsion was also increased around 29.78, 45.70 and 65.38% compared to the primary casein emulsion at day 7 of storage
Other Abstract: งานวิจัยนี้ทำการทดลองการเตรียมอิมัลชันระบบน้ำมันในน้ำที่เคลือบด้วยพอลิอิเล็กโทรไลต์สามและสี่ชั้น รวมทั้งการเพิ่มเสถียรภาพต่อการเกิดออกซิเดชันและการเกิดครีมของโอเมกา-3 อิมัลชัน โดยภาวะที่เหมาะสมในการเตรียมอิมัลชันได้แก่ เตรียมได้โดยการผสมน้ำมันทูนา 5% โดยน้ำหนักและ 95% โดยน้ำหนักของสารละลายโปรตีนเคซีนความเข้มข้น 1.5% โดยน้ำหนัก ที่ pH 6 ให้เป็นเนื้อเดียวกันเป็นเวลา 2 นาที ที่จำนวนรอบ 20,000 รอบต่อนาที จำนวน 5 รอบ มัลติเลเยอร์อิมัลชันสามารถเตรียมได้โดยใช้เทคนิคการเคลือบชั้นต่อชั้นของสารพอลิ อิเล็กโทรไลต์ (layer-by-layer assembly) ลำดับแรกอิมัลชันถูกเคลือบชั้นต่อไปด้วยพอลิไดอัลลิลไดเมทิลแอมโมเนียมคลอไรด์ (PDADMAC) หรือ ไคโทซาน (พอลิอิเล็กโทรไลต์ที่มีประจุบวก) เรียกว่าอิมัลชันเคลือบสองชั้น ต่อจากนั้นอิมัลชันเคลือบสามชั้นสามารถเตรียมโดยเคลือบอิมัลชันสองชั้นด้วยอัลจิเนต(พอลิอิเล็กโทรไลต์ที่มีประจุลบ) ลำดับสุดท้ายอิมัลชันเคลือบสี่ชั้นของ เคซีน-PDADMAC-อัลจิเนต-PDADMAC ในการเตรียมมัลติเลเยอร์อิมัลชันได้ศึกษาหาจุดสมมูลระหว่างอิมัลชันและพอลิอิเล็กโทรไลต์ที่มีประจุตรงกันข้ามโดยการวัดเปอร์เซ็นต์การส่องผ่านของแสงและค่าศักย์ซีต้า พบว่าอัตราส่วนน้ำหนักระหว่างอิมัลชันและสารพอลิอิเล็กโทรไลต์ของอิมัลชันที่เคลือบด้วยสองชั้นของ เคซีน-PDADMAC และ เคซีน-ไคโทซาน และอิมัลชันที่เคลือบด้วยสามชั้นของ เคซีน-PDADMAC-อัลจิเนต และ เคซีน-ไคโทซาน-อัลจิเนต และอิมัลชันที่เคลือบด้วยสี่ชั้นของเคซีน-PDADMAC-อัลจิเนต-PDADMAC เท่ากับ 3.2, 3.0, 0.24, 0.33 และ 0.77 ตามลำดับ เสถียรภาพต่อการเกิดออกซิเดชันของน้ำมันโอเมกา-3 ในน้ำมันทูนาในน้ำอิมัลชัน ศึกษาโดยใช้วิธี ferric thiocyanate ผ่านเทคนิค UV-Vis spectroscopy นอกจากนี้ยังพบว่าอิมัลชันซึ่งมีสารพอลิอิเล็กโทรไลต์หลายชั้นเคลือบบนหยดน้ำมันสามารถเพิ่มเสถียรภาพต่อการเกิดครีม รวมทั้งเสถียรภาพต่อการเกิดออกซิเดชันของน้ำมันได้ ความเสถียรต่อการเกิดออกซิเดชันในวันที่ 4 และ 5 ของอิมัลชันเคลือบสอง, สามและสี่ชั้นของทุกชนิด เพิ่มขึ้น 36-38% เมื่อเทียบกับอิมัลชันที่เคลือบด้วยชั้นเคซีนเพียงชั้นเดียว การที่ความหนาของชั้นที่มากขึ้นและประจุบวกที่ล้อมรอบอนุภาคน้ำมันในกรณีของอิมัลชันเคลือบสองชั้นและสี่ชั้น สามารถป้องกันอนุภาคน้ำมันจากตัวออกซิไดซ์ได้ นอกจากนี้ความเสถียรต่อการเกิดครีมในวันที่ 7 ของอิมัลชันเคลือบสอง, สามและสี่ชั้นเพิ่มขึ้น 29.78, 45.70 และ 65.38% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับอิมัลชันที่เคลือบด้วยชั้นเคซีนเพียงชั้นเดียว
Description: Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2008
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Petrochemistry and Polymer Science
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15893
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1811
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.1811
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somprasong_Si.pdf1.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.