Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16054
Title: การบำบัดน้ำเสียจากอุตสาหกรรมผลิตแอลกอฮอล์ด้วยเหล็กนาโนและเหล็กนาโนดัดแปร
Other Titles: Treatment of wastewater from alcohol industry using Nano-Fe and modified Nano-Fe
Authors: ภัสกนก หอมหวล
Advisors: มะลิ หุ่นสม
สิทธิพงษ์ เพ็งพานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: mali@sc.chula.ac.th
sitthiph@mut.ac.th
Subjects: น้ำเสีย -- การบำบัด
อุตสาหกรรมแอลกอฮอล์
นาโนเทคโนโลยี
เหล็ก
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาการบำบัดน้ำเสียจากอุตสาหกรรมผลิตแอลกอฮอล์ด้วยเหล็กนาโนและเหล็กนาโนดัดแปร โดยตัวแปรที่ศึกษาสำหรับเหล็กนาโน ได้แก่ การเจือจาง ความเป็นกรด-เบส ความเร็วรอบในการเขย่า อัตราส่วนระหว่างเหล็กนาโนและปริมาตรน้ำเสีย ต่อร้อยละการลดลงของสี ซีโอดี และบีโอดี ส่วนตัวแปรที่ศึกษาสำหรับเหล็กนาโนดัดแปรคือ ชนิดและปริมาณของตัวรองรับ และปริมาณโลหะตัวที่สอง (แพลเลเดียม) พบว่าประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียจะเพิ่มขึ้นเมื่อมีการเจือจางน้ำเสียมากขึ้น ค่าความเป็นกรด-เบสลดลง และอัตราส่วนระหว่างเหล็กนาโนและปริมาตรน้ำเสียเพิ่มขึ้น ส่วนความเร็วรอบในการเขย่ามีผลเล็กน้อยต่อร้อยละการลดลงของสี ซีโอดีและบีโอดี การใช้ไคโตซานเป็นตัวรองรับจะให้ผลในการบำบัดน้ำเสียดีกว่าซิลิกา และการเติมแพลเลเดียมจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียเพียงเล็กน้อย เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียด้วยเหล็กนาโนและเหล็กนาโนดัดแปร พบว่าเหล็กนาโนดัดแปรจะมีประสิทธิภาพสูงกว่าเหล็กนาโน โดยเหล็กนาโนดัดแปรที่เหมาะสมในการนำไปใช้ในการบำบัดน้ำเสียจากอุตสาหกรรมผลิตแอลกอฮอล์คือ เหล็กนาโนบนไคโตซาน ซึ่งมีปริมาณไคโตซาน 0.1 กรัมต่อกรัมเหล็ก โดยภาวะที่เหมาะสมในการบำบัดคือ การเจือจาง 50 เท่า ความเป็นกรด-เบสเท่ากับ 3 ความเร็วรอบในการเขย่า 170 รอบ ต่อนาที อัตราส่วนระหว่างเหล็กนาโนและปริมาตรน้ำเสีย 12.5 กรัมต่อลิตร ซึ่งที่ภาวะดังกล่าวสามารถลดสี ซีโอดี และบีโอดี ได้ 93.9% 90.5% และ 60.8% ตามลำดับ เมื่อเวลาผ่านไป 6 ชั่วโมง โดยอัตราการลดลงของสี ซีโอดี และบีโอดี จะเป็นปฏิกิริยาอันดับหนึ่ง ซึ่งมีค่าคงที่ของการเกิดปฏิกิริยาเท่ากับ 0.85, 0.76 และ 0.57 ชั่วโมง-1 ตามลำดับ
Other Abstract: This work was carried out to treat wastewater from alcohol plant by nano-Fe and modified nano-Fe. The investigated parameters for the system treated by the nano-Fe were number of dilution, initial pH of wastewater, shaking rate, ratio of nano-Fe to volume of wastewater whereas the explored parameters for the system treated by the modified nano-Fe were type and quantity of supporter and quantity of the secondary metal (Pd). The preliminary results indicated that the treatment efficiency increased with the increase of dilution time and ratio of nano-Fe0 to volume of wastewater and the decrease of initial pH of wastewater while the shaking speed had slightly effect on the removal efficiency of color, COD and BOD. The utilization of chitosan as a supporter provided the better performance than that of silica and the addition of Pd slightly promoted the treatment efficiency. Comparison between the treatment efficiency of nano-Fe[superscript o] and modified nano-Fe, the modified nano-Fe, nano-Fe on 0.1 g chitosan, was suitable for treating wastewater from alcohol plant. At optimum condition, dilution 50 times, initial pH 3, shaking rate 170 rpm, ratio of nano-Fe to volume of wastewater 12.5 g/l, approximately 93.9 90.5 and 60.8 of color, COD and BOD was decreased within 6 hr reaction time. The reduction rate of color, COD and COD followed the first order reaction with the rate constant of 0.85 0.76 and 0.57 hr-1, respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคมีเทคนิค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16054
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1381
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.1381
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Phatkanok_Ho.pdf2.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.