Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16205
Title: งานของ "ดังตฤณ" ในฐานะวรรณกรรมพุทธศาสนาแนววัฒนธรรมประชานิยม
Other Titles: Dungtrin's Buddhist literary works as popular culture
Authors: สุธีรา สัตยพันธ์
Advisors: ศิริพร ภักดีผาสุข
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Siriporn.Ph@Chula.ac.th
Subjects: ดังตฤณ -- ผลงาน
วรรณกรรมพุทธศาสนา
วัฒนธรรมมวลชน
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาผลงานของ "ดังตฤณ" ในฐานะวรรณกรรมพุทธศาสนาแนววัฒนธรรมประชานิยม และเพื่อวิเคราะห์รูปแบบ เนื้อหา และกลวิธีนำเสนอในผลงานดังกล่าว เพื่อให้เห็นลักษณะของวรรณกรรมพุทธศาสนาแนววัฒนธรรมประชานิยม ผลการวิจัยพบว่า วัฒนธรรมประชานิยมมีอิทธิพลต่อการสร้างงานวรรณกรรมพุทธศาสนา กล่าวคือ งานวรรณกรรมพุทธศาสนาปรับเปลี่ยนรูปแบบและการนำเสนอเนื้อหา เพื่อให้มีรูปแบบการนำเสนอที่น่าสนใจ เนื้อหาเข้าถึงกลุ่มผู้อ่านได้ง่าย และได้รับความนิยมจากผู้อ่านเป็นจำนวนมาก ผลงานของ "ดังตฤณ" มีรูปแบบการนำเสนอที่หลากหลาย ทั้งรูปแบบบทความคู่มือการใช้ชีวิตหรือบทความฮาวทู (How to) รูปแบบบทความสารคดี รูปแบบนวนิยาย และรูปแบบผสมผสาน โดยนำเสนอผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อสมัยใหม่ เช่น อินเทอร์เน็ต การนำเสนอเนื้อหาธรรมะในรูปแบบที่หลากหลายทำให้วรรณกรรมพุทธศาสนาของ "ดังตฤณ" เข้าถึงกลุ่มผู้อ่านได้เป็นจำนวนมาก ด้านเนื้อหา งานของ "ดังตฤณ" นำเสนอเนื้อหาหลัก ๔ กลุ่มได้แก่ เนื้อหาเรื่องกรรม เนื้อหาเรื่องการปฏิบัติวิปัสสนาตามแนวสติปัฏฐาน ๔ เนื้อหาเรื่องความรัก และเนื้อหาว่าด้วยธรรมะเบ็ดเตล็ด ส่วนกลวิธีการนำเสนอเนื้อหาทางพุทธศาสนานั้น ผู้แต่งนำเสนอเนื้อหาพุทธศาสนาโดยการอธิบายเนื้อหาธรรมะเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ร่วมสมัย นำเสนอเนื้อหาพุทธศาสนาผ่านเรื่องเล่า ซึ่งแบ่งออกได้เป็น การนำเสนอเนื้อหาธรรมะโดยเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ร่วมสมัย วิถีชีวิต สังคมสมัยใหม่ การนำเสนอเนื้อหาธรรมะผ่านบทสนทนาของตัวละคร การนำเสนอเนื้อหาธรรมะผ่านตัวละคร การนำเสนอเนื้อหาธรรมะผ่านฉาก กลวิธีการนำเสนอเหล่านี้ ทำให้เข้าใจเนื้อหาธรรมะได้ง่าย งานของ "ดังตฤณ" ลักษณะที่ทำให้พิจารณาได้ว่าเป็นวรรณกรรมพุทธศาสนาแนววัฒนธรรมประชานิยม กล่าวคือ เนื้อหาที่นำเสนอมีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตสมัยใหม่ มีรูปแบบการนำเสนอที่หลากหลาย มีการนำรูปแบบที่เดิมใช้สำหรับเนื้อหาทางโลก และเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมประชานิยมมาใช้ในการนำเสนอเนื้อหาธรรม และมีการนำเสนองานของ "ดังตฤณ" ผ่านสื่อที่หลากหลายด้วยเช่นกัน ความหลากหลายและการผสมผสานที่ปรากฏในงานวรรณกรรมพุทธศาสนาของ "ดังตฤณ" ทำให้เกิดการเผยแพร่และเป็นที่รู้จักในกลุ่มผู้อ่านที่หลากหลาย นอกจากนี้ยังได้รับความนิยมจากผู้อ่านจำนวนมากเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ งานวรรณกรรมพุทธศาสนาของ "ดังตฤณ" จึงมีลักษณะเป็นวรรณกรรมพุทธศาสนาแนววัฒนธรรมประชานิยม
Other Abstract: This thesis aims at studying Dungtrin's 12 Buddhist literary works as popular literary and analyzing the form, content, and writing techniques of these works in order to reveals the characteristics of Buddhist popular literature. The findings reveal that popular culture has influenced upon the creation of Buddhist literature. That is, the form, content, and writing techniques of Buddhist literature has been changed in order to make the works more interesting, easier to understand, comprehensible for wider groups of readers and more popular. Dungtrin's literary works are represented in various forms, namely guidance or how-to articles, documentaries, novels or mixed form. Some are in print while some are distributed in new types of media such as the internet. The various ways of distribution of Dungtrin’s Buddhist Literature enable these works to become more accessible for a wide range of readers. Regarding the contents, 4 main groups of contents are found, namely Karma, the four meditation methods, love, and miscellaneous dharma. To present these contents, the author makes a connection between the Buddhist dharma and the contemporary events and elements in modern ways of life. Also, he explain religious issues and teaching by using narrative. In these narratives, the dialogues, characters, and settings are used for presenting Buddhist dharma and religious issues. All these methods make religious contents more understandable and attractive for more readers. The characteristics of Dungtrin's literary works make these works Buddhism popular literature. That is, the contents of these works are related and relevant to modern lifestyle. The forms are various. Remarkably, some forms previously used for secular contents and belonging to popular culture are used for presenting religious contents. Also, sometimes, mixed types of media are employed for presentation. As a result, his works become attractive and popular among a large group of readers. In summary, Dungtrin’s works are considered as Buddhist popular literature.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16205
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1998
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.1998
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sutheera_sa.pdf2.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.