Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16228
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์ | - |
dc.contributor.author | จุฑาทิพย์ ก่อทรัพย์สิน | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2011-11-28T10:30:58Z | - |
dc.date.available | 2011-11-28T10:30:58Z | - |
dc.date.issued | 2550 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16228 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 | en |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบสหวิธีการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการในการตรวจพิจารณาเซ็นเซอร์มิวสิควิดีโอเพลงไทยสากล ลักษณะการสร้างสารในมิวสิควิดีโอเพลงไทยสากลที่ถูกเซ็นเซอร์ และทรรศนะของบุคคลกลุ่มต่างๆ อันได้แก่ กลุ่มผู้สร้างสรรค์ผลงานมิวสิควิดีโอที่ถูกเซ็นเซอร์ กลุ่มนักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง และกลุ่มผู้ชมเป้าหมายที่มีอายุตั้งแต่ 18 ถึง 30 ปี เพื่อทราบทรรศนะทางด้านต่างๆ ที่มีต่อผลงานมิวสิควิดีโอที่ถูกเซ็นเซอร์และต่อกระบวนการพิจารณาเซ็นเซอร์ ทั้งยังเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงานมิวสิควิดีโอเพลงไทยสากลให้มีความสอดคล้องเหมาะสมกับสภาพสังคมและวัฒนธรรมที่ดีงามของไทย และเพื่อเป็นแนวทางในการจัดสรรกระบวนการพิจารณาเซ็นเซอร์ให้เหมาะสมกับสภาพสังคมปัจจุบันต่อไปในอนาคต โดยผลการวิจัยพบว่า 1. กระบวนการในการพิจารณาเซ็นเซอร์มิวสิควิดีโอเพลงไทยสากล ได้ดำเนินงานโดยฝ่ายที่รับผิดชอบในการตรวจพิจารณารายการของสถานีโทรทัศน์โดยตรง ซึ่งปัจจุบันได้ยึดหลักกฎหมายและระเบียบวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2537) ในการตรวจพิจารณา ประกอบกับการใช้ดุลยพินิจและวิจารณญาณของเจ้าหน้าที่เป็นหลัก ทั้งนี้ในปัจจุบันแม้หลักกฎหมายดังกล่าวได้ถูกยกเลิกแล้ว แต่ในทางปฏิบัติยังคงยึดตามหลักเกณฑ์นี้ในการตรวจพิจารณาเป็นสำคัญ 2. ลักษณะการสร้างสารในมิวสิควิดีโอเพลงไทยสากลที่ถูกเซ็นเซอร์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ 1.) การนำเสนอภาพ อันประกอบไปด้วยประเด็นต่างๆ ได้แก่ ประเด็นที่เกี่ยวกับเรื่องเพศ ความรุนแรง สิ่งเสพติด การโฆษณาแฝง และภาพที่สื่อความหมายสองแง่สองง่าม 2.) เนื้อหาและคำร้องของบทเพลง ซึ่งมีลักษณะดังนี้ ได้แก่ การใช้คำร้องที่มีความหมายสองแง่สองง่าม และลักษณะเนื้อหาของเพลงที่ชักจูงไปในทางที่ไม่เหมาะสมขัดกับขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมไทย 3. ทรรศนะของผู้สร้าง นักวิชาการ และผู้ชม ที่มีต่อมิวสิควิดีโอเพลงไทยสากลที่ถูกเซ็นเซอร์พบว่า 1.) ลักษณะการนำเสนอนั้นได้มุ่งเน้นที่การขายภาพลักษณ์ของศิลปินเป็นหลัก โดยมีประเด็นที่พบมากที่สุดได้แก่ประเด็นที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเพศ 2.) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างสรรค์มิวสิควิดีโอ ได้แก่ ปัจจัยด้านการตลาดและเงื่อนไขทางสังคม 3.) แนวโน้มของมิวสิควิดีโอเพลงไทยสากลในอนาคตนั้นขึ้นอยู่ที่กระแสสังคมเป็นหลัก ซึ่งอาจมีการนำเสนอเนื้อหาที่มีความแรงมากขึ้นและน้อยลงตามการเปลี่ยนแปลงของกระแสสังคมในขณะนั้น 4.) แนวทางปฏิบัติคือ ควรสร้างมาตรฐานที่ชัดเจนร่วมกันระหว่างสถานี และควรปรับเปลี่ยนจากระบบการเซ็นเซอร์เป็นระบบของการจัดระดับมิวสิควิดีโอแทน รวมทั้งจัดให้มีการแลกเปลี่ยนทรรศนะระหว่างฝ่ายต่างๆ โดยเปิดโอกาสให้ฝ่ายผู้ผลิตและผู้ชมได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น | en |
dc.description.abstractalternative | This is a multiple methodology research which aims to explore the censorship process Thai pop music videos messages in the music videos. Moreover, it investigates attitudes towards censored music videos in different groups: producers, the academics, and the audience aged 18 - 30 years old. Furthermore, this research will be used as a guide in creating Thai pop music videos, that Thai culture as well as a guide of the censorship process to be appropriate with current and future social situations. Study results are as follows: 1. The censorship processes of Thai pop music video were conducted by TV networks’ censor departments under The Broadcasting Act 1994 (B.E. 2537) as well as an impartial and authority. Although, this regulation was abandoned, it still has been used as a framework of the censorship process. 2. Messages in censored music videos cause grouped in two forms: 1.) Presentation: sexual matters, violence, drug abuse, disguised advertising and double - meaning images 2.) Content and lyrics: double - meaning lyrics and lyrics that lead to inappropriate behavior. 3. The research also revealed the attitudes of producers, academics and audiences towards Thai pop music videos as follows: 1.) Image of the artist, particularly in sexual matters was a main focus of the presentation in the music videos. 2.) Marketing had a significant influence on direction and presentation of music videos. 3.) It would seem that future of Thai pop music videos will rely on social trends. 4.) All television networks should collaborate in establishing a censorship process. However, It would be better if music videos were be rated to suit different audiences rather than censorship. Also, the academics and the audience should be encouraged to show their opinion about the censorship process. | en |
dc.format.extent | 4607370 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.922 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | มิวสิกวิดีโอ -- การเซ็นเซอร์ | en |
dc.subject | เพลงไทยสากล -- การเซ็นเซอร์ | en |
dc.title | การวิเคราะห์มิวสิควิดีโอเพลงไทยสากลที่ถูกเซ็นเซอร์ | en |
dc.title.alternative | Analysis of the censored music videos of Thai pop songs | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | วาทวิทยา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Thiranan.A@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2007.922 | - |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chuthathip.pdf | 4.5 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.