Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1627
Title: | การศึกษามาตรการด้านผังเมือง เพื่อควบคุมสภาวะแวดล้อมของเมืองท่องเที่ยวชายทะเล กรณีศึกษาเมืองพัทยา : รายงานวิจัย |
Authors: | นพนันท์ ตาปนานนท์ ลือชัย ครุธน้อย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม |
Subjects: | การใช้ที่ดินในเมือง--ไทย--พัทยา การท่องเที่ยว--แง่สิ่งแวดล้อม พัทยา (ชลบุรี)--ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว |
Issue Date: | 2541 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เมืองพัทยาเป็นเมืองท่องเที่ยวชายทะเล ที่มีความสวยงามและสำคัญของประเทศ ข้อได้เปรียบของเมืองพัทยาในด้านภูมิประเทศและความสะดวกในการคมนาคา อีกทั้งระยะทางซึ่งไม่ไกลจากกรุงเทพมหานคา จึงทำให้เมืองพัทยามีการขยายตัวอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การขยายตัวดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของเมืองพัทยาอย่างมาก ดังนั้น ในการศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพของการพัฒนาและปัญหาสภาวะแวดล้อมของเมือง แผนและมาตรการการควบคุมในพื้นที่ รวมไปถึงผลกระทบที่เกิดจากการใช้มาตรการควบคุมที่ผ่านมา เพื่อนำเสนอเป็นแนวางการกำหนดมาตรการที่เหมาะสมในการควบคุมสภาวะแวดล้อมของเมือง การศึกษาครั้งนี้พบว่าปัญหาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมเมืองพัทยาที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน เช่น ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ปัญหาน้ำเสีย ปัญหาขยะ ปัญหามลพิษต่าง ๆ นั้นเป็นผลจากความไม่สมดุลย์ของกิจกรรมการใช้ที่ดินกับความสามารถในการรองรับของทรัพยากรธรรมชาติและการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคของเมือง ขณะที่เมืองพัทยามีมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการควบคุมกิจกรรมการใช้ที่ดิน ซึ่งประกอบไปด้วย 1. กฎกระทรวงฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2522) ออกตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479 ว่าด้วยการควบคุมการก่อสร้างริมทะเลหาดพัทยา - จอมเทียน 2. กฎกระทรวงฉบับที่ 64 (พ.ศ. 2531) ออกตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 ปัจจุบันเมืองพัทยากำลังมีการปรับปรุงผังเมืองรวมครั้งที่ 2 3. พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2535 4. ประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เรื่อง การกำหนดเขตพื้นที่และมาตรการควบคุมสิ่งแวดล้อมบริเวณเมืองพัทยา พ.ศ. 2535 (ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2540) ออกตามพระราชบัญยัติส่งเสริมรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 เมืองพัทยาใช้ข้อกฎหมายต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วควบคุมการสร้าง และทิศทางการขยายตัวของเมืองแต่ไม่ปรากฏว่ามีข้อบัญญัติของเมืองในการควบคุมการก่อสร้าง แม้ว่าจะมีการประกาศบังคับใช้กฎหมายในบริเวณเมืองพัทยา แต่ก็ยังไม่สามารถควบคุมหรือป้องกันผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมได้ เนื่องจาก 1. ความไม่สัมพันธ์กันระหว่างการพัฒนาที่ดินของภาคเอกชนกับการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคของเมือง 2. มาตรการทางกฎหมายที่มีอยู่ไม่ชัดเจนในการควบคุมและการบังคับใช้ นอกจากนี้แล้วยังพบว่ามาตรการต่าง ๆ ที่มีอยู่เป็นการกำหนดข้อห้า และไม่มีมาตรการเสริมเพื่อสร้างจูงใจให้เกิดกิจกรรมการใช้ที่ดินตามที่กำหนดไว้ในแผนการใช้ที่ดิน การศึกษาจึงได้เสนอแนะแนวทางในการกำหนดมาตรการเพื่อควบคุมป้องกันสภาวะแวดล้อมของเมืองไว้ดังนี้ 1. ในส่วนที่เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดิน ควรมีการเพิ่มเติมรายละเอียดของกิจกรรมและมาตรการเสริม เพื่อให้เกิดความชัดเจนในรูปแบบของเมือง และกระตุ้นให้เกิดความสนใจในการประกอบกิจกรรม 2. ในส่วนของการบังคับใช้ และความชัดเจนในการบังคับใช้มาตรการทางกฎหมายต่าง ๆ ควรมีการประสานกันทั้งระดับนโยบายและระดับปฏิบัติในการร่วมกันกำหนดกรอบแนวปฏิบัติให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน |
Other Abstract: | Pattaya City is a beautiful and famous beach resort of the cpuntry. The rapid expansion of tourist activities resulting from its geographical advantages and its convenient accessibility together with its proximity to Bangkok Metropolis, ahs created a great environmental impact to the city. The objectives of this study, consequently, to investigate the development and the environmental problems of th e city, plans and control measures, the impacts of those control measures to the development, annd the suggestions of the suitable measures for the environmental control of the city. The study found that the existing environmental problems of Pattaya City. e.g. the deterioration of natural resource, waste water, solid waste and other pollution problems are resulting from the inbalance of land use activities and the capability of natural resources andn the infrastructure of the city, while there have been regulations concerning land use control, i.e., 1. Ministerial Regulation No. 9 (B.E. 2522), Building Construction Control for Pattaya-Chomthian Beach issuing under the Building Construction Control Act B.E. 2479. 2. Ministerial Regualtion No. 61 (B.E. 2531) issuing under Town Planning Act B.E. 2518 for the comprehensive plan (2 nd revision) of Pattaya City (under preparation) 3. Building Control Act B.E. 2522 and the addition B.E. 2535. 4. Announcement of Ministry of Science, Technology and Environment, Specification of Area and Measures for Environmental Control of Pattaya City B.E. 2535 (No. 2 B.E. 2540) issuing under the National Environmental Protection Act B.E. 2535. The mentioned regulation have been enforcing in Pattaya City, without local bylaw for building control. However, these regulation failed to protect the environmental impact due to the reasons to, i.e., 1. Inconsistency between private land development and infrastructure development, 2. Regulation are unclear in enforcing and controlling. Moreover, all existing measure are for controlling, and there is no incentuve measures for stimulating the conforming use of land to the land use plan. The measures for environmental protection recommended by the study include; 1. Concerning land use, there should be additional details of activity list and incentive measures for clear understanding of urban pattern and for stimulating development interest, 2. Concerning regulations for controlling and enforcing, there should be coordination between policy formation and plan implementation within the development framework. |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1627 |
ISBN: | 9746399861 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Env - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Noppanan(pattaya).pdf | 12.34 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.