Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16278
Title: ผลของอาหารต่างชนิดต่อการเติบโตและการผลิต Ecteinascidins ของเพรียงหัวหอม Ecteinascidia thurstoni herdman, 1891
Other Titles: Effects of different food on growth and ecteinascidins production of tunicate Ecteinascidia thurstoni Herdman, 1891
Authors: ชาตรี ชำนาญรักษา
Advisors: สุชนา ชวนิชย์
วรณพ วิยกาญจน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Suchana.C@Chula.ac.th
vvoranop@chula.ac.th
Subjects: เพรียงหัวหอม -- การเลี้ยง
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เพรียงหัวหอม Ecteinascidia thurstoni Herdman, 1891 ซึ่งพบเฉพาะบริเวณเกาะภูเก็ต จัดเป็นเพรียงหัวหอมชนิดแรกในทวีปเอเชียที่สามารถผลิตสารทุติยภูมิที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพในกลุ่ม Ecteinascidins (ET) ซึ่งสารชนิดดังกล่าวสามารถเปลี่ยนเป็นสาร Ecteinascidin 743 (ET 743) ที่มีศักยภาพในการนำมาใช้เป็นยารักษาโรคมะเร็งได้ ในการเพาะเลี้ยงเพรียงหัวหอมนั้น“อาหาร” จัดเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญอย่างยิ่งที่สามารถส่งผลต่อการเติบโตและการผลิตสารทุติยภูมิที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ อย่างไรก็ตามพบว่า ยังไม่มีการศึก ษาชนิดของอาหารที่สามารถส่งผลดังกล่าวได้ การศึกษาครั้งนี้จึงทำการเพาะเลี้ยงเพรียงหัวหอม E. thurstoni ในโรงเพาะเลี้ยงโดยให้อาหารที่เป็นแพลงก์ตอนพืช 3 ชนิดได้แก่ 1) Chaetoceros gracilis (CG) 2) Isochrysis galbana (IG) และ 3) Nannochloropsis sp. (NA) โดยให้แบบชนิดเดียวและแบบผสม เปรียบเทียบกับอาหารเม็ดสำเร็จรูป (DP) โดยมีชุดที่ไม่ให้อาหารเป็นชุดควบคุม (CTRL) กำหนดการเลี้ยงและเก็บข้อมูล 9 สัปดาห์ เพื่อศึกษาการเติบโตและหาปริมาณสาร ET ภายหลังการเลี้ยง ผลการศึกษาพบว่าจำนวนซูออยด์เฉลี่ยต่อโคโลนี ความยาวซูออยด์เฉลี่ยต่อโคโลนี และพื้นที่การปกคลุมโคโลนีเฉลี่ยของเพรียงหัวหอม มีความแตกต่างกันทางสถิติระหว่างเพรียงหัวหอมที่ให้อาหารที่แตกต่างกัน แต่ไม่พบความแตกต่างทางสถิติเมื่อเพรียงหัวหอมได้รับอาหารแบบผสม เพรียงหัวหอมที่ได้รับ CG เป็นอาหารมีจำนวนซูออยด์เฉลี่ย ความยาวซูออยด์เฉลี่ย และพื้นที่ปกคลุมเฉลี่ยสูงสุด ที่ 40.67 ซูออยด์, 5.28 มิลลิเมตร และ 6.66 เปอร์เซนต์ ตามลำดับ ทั้งนี้เพรียงหัวหอมที่ได้รับอาหารผสมระหว่าง CG และ NA มีจำนวนซูออยด์เฉลี่ยและความยาวซูออยด์เฉลี่ยสูงสุด ที่ 7.24 ซูออยด์ และ 3.59 มิลลิเมตร ตามลำดับ แต่เพรียงหัวหอมที่ได้รับอาหารผสมระหว่าง CG และ IG มีพื้นที่ปกคลุมโคโลนีเฉลี่ยสูงสุด ที่ 1.63 เปอร์เซนต์ อนึ่งพบ ET 770 ปริมาณสูงในเพรียงหัวหอมที่ให้ CG กับ CG และ IG (3.43 และ 4.53 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมน้ำหนักแห้งของเพรียงหัวหอม) ตามลำดับ ขณะที่พบสาร ET 770 ปริมาณต่ำในเพรียงหัวหอมที่ได้รับ NA กับ CG และ NA เป็นอาหาร (0.68 และ 0.63 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมน้ำหนักแห้งของเพรียงหัวหอม) ตามลำดับ ผลการศึกษาสรุปได้ว่าเพรียงหัวหอมที่ได้รับ CG เป็นอาหารเพียงชนิดเดียวและเพรียงหัวหอมที่ได้รับ CG และ IG เป็นอาหารผสม มีความเหมาะสมต่อการเพาะเลี้ยงเพรียงหัวหอม E. thurstoni ในระบบเพาะเลี้ยงให้มีการเติบโตที่ดีและมีปริมาณเพียงพอในการนำไปสกัดเป็นสารที่มีฤทธิ์ในการต่อต้านโรคมะเร็ง
Other Abstract: Thai tunicate, Ecteinascidia thurstoni Herdman, 1891, found only at Phuket Island is the first Asian tunicate contained ecteinascidins. Food is a important factor of the ascidian culture. In vitro culture of the ascidian E. thurstoni is one possible method for supplying ecteinascidins for phamarceutical application. However, the appropriate diets that can maximize both growth and ecteinascidins productions are unknown. In this study, E. thurstoni were fed either single of each type of diet or combination of two diets; C. gracilis (CG), I. galbana (IG), Nannochloropsis sp. (NA) or formulated shrimp feed (DP). The experiments were conducted for nine weeks of E. thurstoni and then zooids from each treatment were collected for ecteinascidins analysis. The results show that there were significant differences in average number of zooids, length of zooids and percent covers of zooids at single diet, while combination of two diets were no significant differences. In single diet, average highest numbers of zooids, length of zooids and percent covers of zooids were found at 40.67 zooids, 5.28 mm and 6.66 % of CG. In combination of two diets, average highest numbers of zooids and length of zooids were found at 7.24 zooids and 3.59 mm of combination diet between CG and NA, while average highest percent covers of zooids was detected at 1.63% of combination diet between CG and IG. A high concentration of ET 770 (3.43 and 4.53 mg per 100 g of tunicate dry weight) were found at single diet of CG and combination diet between CG and IG respectively, while a low concentration of ET 770 (0.68 and 0.63 mg per 100 g of tunicate dry weight) were found at single diet of NA and combination diet between CG and NA respectively. Overall, this study suggests that a single diet of CG and a combination diet between CG and IG are a good feeding diet for the in vitro culture of E. thurstoni to supply ecteinascidins.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีชีวภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16278
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1393
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1393
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chatree_ch.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.