Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16379
Title: ผลของแอมเฟตามีนและแอลกอฮอล์ต่อความสามารถในการผสมติด ในหนูแรทเพศผู้โตเต็มวัย
Other Titles: Effects of amphetamine and alcohol on fertility in adult male rats
Authors: สุภาพร วรรณศิริ
Advisors: ประคอง ดังประพฤทธิ์กุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: แอมฟิตะมิน
แอลกอฮอล์
อสุจิ
การผสมเชื้อ
เทสทอสเตอโรน
หนู
Issue Date: 2538
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาผลของแอมเฟตามีนและแอลกอฮอล์ และผลรวมของแอมเฟตามีนกับแอลกอฮอล์ ต่อระบบสืบพันธุ์ของหนูแรทเพศผู้โตเต็มวัย พบว่าเมื่อฉีดแอมเฟตามีนขนาด 10, 20 และ 30 มก./น้ำหนักตัว 1 กก./วัน เข้าช่องท้องเป็นเวลาติดต่อกัน 30 วัน ไม่ทำให้ระดับเทสโทสเตอโรนในซีรัม, คุณภาพ ของตัวอสุจิและความสามารถในการผสมติดเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด ในขณะที่เมื่อฉีดแอลกอฮอล์ 40 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณ 0.5 มล./วัน ติดต่อกัน 30 วัน ทำให้ระดับเทสโทสเตอโรนในซีรัมลดลงจาก 2785.11 เป็น 1743.55 พิโคโมล/ลิตร สัตว์ทดลอง จำนวน 40 เปอร์เซ็นต์ มีลักษณะการเคลื่อนที่ของตัวอสุจิแบบรุดไปข้างหน้าลดลง และจำนวน 50 เปอร์เซ็นต์ มีความสามารถในการผสมติดลดลง เมื่อหนูได้รับส่วนผสมของแอมเฟตามีน 10 มก. และแอลกอฮอล์ 40 เปอร์เซ็นต์ ติดต่อกัน 30 วัน ทำให้ระดับเทสโทสเตอโรนในซีรัมลดลงจาก 2785.11 เป็น 1492.70 พิโคโมล/ลิตร สัตว์ทดลองจำนวน 50 เปอร์เซ็นต์ มีลักษณะการเคลื่อนที่ของตัวอสุจิแบบรุดไปข้างหน้าลดลง และจำนวน 80 เปอร์เซ็นต์ มีความสามารถในการผสมติดลดลง แต่เมื่อให้แอมเฟตามีนเพิ่มขึ้นเป็น 20 มก. ร่วมกับแอลกอฮอล์ 40 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ระดับเทสโทสเตอโรนในซีรัมลดลงจาก 2785.11 เป็น 1896.00 พิโคโมล/ลิตร แต่ไม่ทำให้คุณภาพของตัวอสุจิและความสามารถในการผสมติด เปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด สำหรับส่วนผสมของแอมเฟตามีน 30 มก. และแอลกอฮอล์ 40 เปอร์เซ็นต์ พบว่าไม่มีผลต่อระบบสืบพันธุ์ของหนูทดลอง เมื่อทดลองดูผลของสารดังกล่าวต่อการหลั่งเทสโทสเตอโรน จากเซลล์ลัยดิกในหลอดทดลองพบว่า แอมเฟตามีนขนาด 0.25, 0.5 และ 1.0 มก./100 ไมโครลิตร สามารถยับยั้งการหลั่งเทสโทสเตอโรนลงเหลือ 55, 28, และ 8 เฟมโตโมล/100 ไมโครลิตร ตามลำดับ ส่วนแอลกอฮอล์ขนาด 1100 มิลลิโมล/100 ไมโครลิตร ยับยั้งการหลั่งเทสโทสเตอโรนลงเหลือ 45 เฟมโตโมล/100 ไมโครลิตร และเมื่อให้แอมเฟตามีนขนาด 0.25 มก./100 ไมโครลิตร ร่วมกับแอลกอฮอล์ 1100 มิลลิโมล/100 ไมโครลิตร สามารถยับยั้งการหลั่งเทสโทสเตอโรนลงเหลือ 65 เฟมโตโมล/100 ไมโครลิตร จากการศึกษาครั้งนี้อาจสรุปได้ว่าแอมเฟตามีนมีผลยับยั้ง การหลั่งเทสโทสเตอโรนที่ระดับเซลล์ลัยดิกโดยตรง ส่วนแอลกอฮอล์มีผลผ่านฮัยโปธาลามัสและต่อมใต้สมอง และสารทั้งสองไม่มีผลเสริมฤทธิ์กัน
Other Abstract: The objective of this study was to examine the effect of amphetamine, alcohol and the combination of amphetamine and alcohol on reproductive system in adult male rats. Rats received amphetamine (ip.) at dose of 10, 20 and 30 mg./kg. BW/day for the period of 30 days did not show any change in serum testosterone levels, sperm quality and fertility. Rats received 40% (v/v) alcohol at a volume of 0.5 ml./day for a period of 30 days showed a reduction of serum testosterone levels from 2785.11 to 1743.55 pmol/L., 40% of rats had a reduction in the progressive sperm motility and 50% of them showed a reduction in the fertility. The combination of 10 mg./kg. amphetamine and 40% alcohol for the period of 30 days decreased serum testosterone levels from 2785.11 to 1492.70 pmol./L. 50% of rats had a reduction in the progressive sperm motility and 80% of them showed a reduction in the fertility. While the combination of 20 mg./kg. amphetamine and 40% alcohol reduced serum testosterone levels from 2785.11 to only 1896.00 pmol./L. and did not show any change in sperm quality and fertility. Moreover, the combination of 30 mg. amphetamine and 40% alcohol did not exhibit any alterations on reproductive system in adult male rats. In vitro study showed that amphetamine at doses of 0.25, 0.5 and 1.0 mg./100 microlitre reduced testosterone secretion to 55, 28 and 8 fmol./100 microlitre, respectively. Alcohol at the dose 1100 mM./100 microlitre reduced testosterone secretion to 45 fmol./100 microlitre. While combination of 0.25 mg. amphetamine and 1100 mM. alcohol also reduced testosterone secretion to 65 fmol. 100 microlitre. It can be concluded that amphetamine may exhibit direct effect on Leydig cells while alcohol may exert its effect via hypothalamo-pituitary-testicular aixs to reduce testosterone secretion
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สรีรวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16379
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
supaporn_va.pdf6.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.