Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16477
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุมาลี ปิตยานนท์-
dc.contributor.authorภคพร วัฒนดำรงค์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-01-10T08:40:22Z-
dc.date.available2012-01-10T08:40:22Z-
dc.date.issued2539-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16477-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้มีจุดประสงค์ เพื่อการศึกษาต้นทุนและผลได้ของเงินอุดหนุนจากรัฐให้แก่การศึกษาเอกชนโดยการให้เงินอุดหนุนการศึกษาในครั้งนี้ พิจารณาเฉพาะกรณีการให้เงินอุดหนุนเป็นเงินรายหัวนักเรียนของโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาที่ได้รับเงินอุดหนุนในกรุงเทพฯ วิธีการศึกษามีทั้งในส่วนของการวิเคราะห์ต้นทุนผลได้และการวิเคราะห์เชิงพรรณนา เครื่องมือที่ให้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ มูลค่าปัจจุบันสุทธิ อัตราผลตอบแทนต่อต้นทุนการวิเคราะห์ค่าความไวและการวิเคราะห์สถานการณ์จำลอง วิธีการคำนวณต้นทุน พิจารณาจากงบประมาณของรัฐที่ให้การอุดหนุนการศึกษาเอกชนนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2532 จนถึงปี พ.ศ.2538 ส่วนการคำนวณผลได้ พิจารณาเพียงผลได้ในประเด็นของการประหยัดทรัพยากรของรัฐกรณีที่รัฐไม่ให้เงินอุดหนุนการศึกษาเอกชนซึ่งการคำนวณผลได้เกิดจากผลคูณของค่าประมาณจำนวนนักเรียนที่รัฐต้องรับภาระในการจัดการศึกษากับค่าประมาณค่าใช้จ่ายรายหัวนักเรียนภาครัฐตามงบประมาณต่าง ๆ ได้แก่ งบดำเนินการ งบลงทุนและงบรวม สำหรับการประมาณค่าสัดส่วนจำนวนนักเรียนที่รัฐต้องรับภาระนั้นส่วนหนึ่งพิจารณาจากการประมาณค่าความยืดหยุ่นของความต้องการเข้าเรียนในโรงเรียนเอกชนที่ได้รับเงินอุดหนุนและพิจารณาจากผลของรายได้ต่อความต้องการศึกษาในโรงเรียนเอกชน ผลการศึกษาพบว่า หากรัฐอนุญาตให้โรงเรียนเอกชนสามารถเก็บค่าเล่าเรียนได้เพิ่มขึ้น และยกเลิกการให้เงินอุดหนุน ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงราคาค่าเล่าเรียนก็คือ รัฐจะต้องรับภาระจากการลดลงของความต้องการในการศึกษาโรงเรียนเอกชนที่ได้รับเงินอุดหนุนในอัตราร้อยละ 8 ซึ่งคิดเป็นอัตราที่ไม่สูงมากนัก อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากสภาพความเป็นจริงของสังคมไทย ซึ่งมีหลักฐานงานวิจัยของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พบว่า ผู้ที่ศึกษาในโรงเรียนเอกชนที่ได้รับเงินอุดหนุนจะมาจากครัวเรือนที่มีรายได้ปานกลางจนถึงค่อนข้างต่ำ งานศึกษาครั้งนี้ได้นำเอาความจริงดังกล่าวเข้ามาวิเคราะห์ด้วยเป็นผลกระทบทางด้านรายได้ต่อความต้องการเรียนในโรงเรียนเอกชนที่ได้รับเงินอุดหนุนซึ่งจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ทำให้สัดส่วนจำนวนนักเรียนที่รัฐต้องรับภาระสูงขึ้นอีกร้อยละ 36 รวมเป็นร้อยละ 44 ดังนั้นผลทางด้านราคาและรายได้ทำให้ทราบถึงจำนวนนักเรียนที่รัฐต้องรับภาระ (Number of Relocated Students) ซึ่งเมื่อคิดเป็นมูลค่าทางการเงินแล้วจะมีมูลค่าสูงมาก สำหรับการวิเคราะห์ต้นทุนผลได้พบว่า การให้เงินอุดหนุนการศึกษาเอกชนของรัฐเกิดความคุ้มค่าเพราะมูลค่าปัจจุบันสุทธิมีค่าเป็นบวกและอัตราผลตอบแทนต่อต้นทุนมีค่ามากกว่าหนึ่ง สำหรับการวิเคราะห์ผลกระทบของการให้เงินอุดหนุนต่อปริมาณการศึกษาเอกชนนั้นไม่อาจสรุปได้ว่าก่อให้เกิดการขยายตัวของปริมาณการศึกษาให้กับสังคมเนื่องจากข้อมูลที่แสดงปริมาณการศึกษาเอกชนมีจำนวนลดลงทุกปี ในขณะเดียวกันก็มีการลดลงของโรงเรียนเอกชนในภาพรวมและจำนวนประชากรวัยเรียนที่ลดลง ทั้งนี้อาจเป็นผลมาจากปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมอื่น ๆ มากกว่าen
dc.description.abstractalternativeThis thesis focused on cost and benefit analysis of the effect of government subsidies on private education by applying both quantitative and qualitative approaches. The major tools as the principal reference were Net Present Value (NPV), Benefit-Cost Ratio, Sensitivity Analysis and Scenario Analysis. These were carefully examined. Costs were calculated from government subsidies between 1989 and 1995. Benefits came from multiplying estimated number of relocated students (ERS) with estimated per student cost (ERSC). ERS was estimated from calculating by econometric model of general least square method and used for empirical test of student price response coefficient (SPRC). As a result the number of students to be absorbed by the government if there were no subsidies was obtained. The results of calculation show that the government subsidies have positive effect on private education due to positive NPV, B/C ratio more than one, sensitivity test and scenario analysis be rather satisfied respectively. This means that the government subsidies are economically feasible. For this research, the concentration was on economic success or failure of government subsidies on private education from government's viewpoint. The study result undoubtedly show a sound investment from government's viewpoint and may or may not be a venture from other viewpoints. Based on this research, the government should continue to offer subsidies on private education due to the positive effecten
dc.format.extent830005 bytes-
dc.format.extent833650 bytes-
dc.format.extent1034759 bytes-
dc.format.extent981983 bytes-
dc.format.extent942276 bytes-
dc.format.extent1095569 bytes-
dc.format.extent767345 bytes-
dc.format.extent779465 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectเงินอุดหนุนen
dc.subjectต้นทุนและประสิทธิผลen
dc.titleการวิเคราะห์ต้นทุน-ผลได้ของเงินอุดหนุนจากรัฐที่ให้แก่การศึกษาเอกชนen
dc.title.alternativeA cost-benefit analysis of government subsidies on private educationen
dc.typeThesises
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Bhagaporn_Wa_front.pdf810.55 kBAdobe PDFView/Open
Bhagaporn_Wa_ch1.pdf814.11 kBAdobe PDFView/Open
Bhagaporn_Wa_ch2.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open
Bhagaporn_Wa_ch3.pdf958.97 kBAdobe PDFView/Open
Bhagaporn_Wa_ch4.pdf920.19 kBAdobe PDFView/Open
Bhagaporn_Wa_ch5.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
Bhagaporn_Wa_ch6.pdf749.36 kBAdobe PDFView/Open
Bhagaporn_Wa_back.pdf761.2 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.