Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16608
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุนทร บุญญาธิการ-
dc.contributor.authorโชติวิทย์ พงษ์เสริมผล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-02-01T03:12:20Z-
dc.date.available2012-02-01T03:12:20Z-
dc.date.issued2539-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16608-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539en
dc.description.abstractงานวิจัยนี้เป็นการหาแนวทางการปรับปรุงหลังคาภายในอาคาร ทำการศึกษารูปแบบหลังคาที่ใช้กันทั่วไปในประเทศไทย จากการเลือกตัวอย่างศึกษาอาคารของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อหาวิธีป้องกันความร้อนที่ถ่ายเทเข้ามาทางหลังคาในการลดภาระการทำความเย็นให้แก่อาคาร หลังคากรณีศึกษา 4 ประเภท ได้แก่ หลังคากระเบื้องลอนคู่ หลังคากระเบื้องซีเมนต์ หลังคาแผ่นโลหะ และหลังคาคอนกรีตเสริมเหล็ก จากกรณีศึกษา 6 กรณี ในช่วงต้นของงานวิจัย เป็นการศึกษาอิทธิพลของตัวแปรต่าง ๆ ที่มีผลต่อการถ่ายเทความร้อนทางหลังคา ศึกษาค่าการถ่ายเทพลังงานความร้อนรวมทางหลังคา (RTTV) และค่าประเมินสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อน จากการศึกษาพบว่า ตัวแปรสำคัญหนึ่งในการประเมินค่าพลังงานความร้อนที่ถ่ายเทเข้ามาทางหลังคา คือ อุณหภูมิอากาศภายในห้องค่า RTTV จากการวัดจริงของหลังคาระบบปิดส่วนใหญ่ จะมีค่าเกินข้อกำหนดมาตรฐาน (25 วัตต์ ต่อตารางเมตร) และการประเมินหาค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อน จากอาคารจริง พบว่า เป็นค่าที่เปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงเวลา ตามอิทธิพลของตัวแปรต่าง ๆ จะแตกต่างจาก ค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อน ตามทฤษฏีซึ่งอยู่ภายใต้สภาวะที่ถูกควบคุมไว้ หลังคาที่มีคุณสมบัติในการป้องกันความร้อน จากการประเมินค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อน เรียงจากมากไปน้อย ดังนี้ หลังคาคอนกรีตเสริมเหล็กฝ้าเพดานยิบซั่มบอร์ดบุฉนวนใยแก้วหนา 2 นิ้ว วางแนวระนาบ, หลังคาแผ่นโลหะผสม พร้อมช่องระบายอากาศ ฝ้าเพดานไม้อัดยาง วางแนวระนาบ, หลังคากระเบี้องลอนคู่ ฝ้าเพดานยิบซั่มบอร์ดวางเอียงตามหลังคา, หลังคากระเบี้องลอนคู่ ฝ้าเพดานยิปซั่มบอร์ด วางแนวระนาบ, หลังคากระเบื้องซีเมนต์ฝ้าเพดานยิบซั่มบอร์ด วางแนวระนาบ, และหลังคาคอนกรีตเสริมเหล็กชนิดไม่มีฝ้าเพดาน ตามลำดับ อีกส่วนหนึ่งของงานวิจัยเป็นการเปรียบเทียบการใส่ฉนวนกันความร้อนแต่ละประเภทเหนือฝ้าเพดาน การใส่ฉนวนใยแก้วหรือใยหิน ที่ความหนาหนึ่งนิ้วแรก จะช่วยลดปริมารการใช้พลังงานไฟฟ้ามากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับนิ้วถัดไป สำหรับการปรับปรุงหลังคาที่ต้องการระยะเวลาคืนทุน 3 ปี สำหรับอัตราค่าไฟฟ้าเดิม ฉนวนกันความร้อนที่เหมาะสมจากการศึกษาคือฉนวนเส้นใยเซลลูโลสชนิดอัดกาวหนา 1 นิ้ว, ฉนวนหินหนา 2 นิ้ว และฉนวนใยแก้วหนา 2 นิ้ว จะช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้าในอาคารได้ถึงร้อยละ 22.9, 25.9 และ 26.1 ตามลำดับ ส่วนอัตราค่าไฟฟ้าใหม่ ฉนวนกันความร้อนที่เหมาะสมจากการศึกษา คือ ฉนวนใยหินหนา 6 นิ้ว และฉนวนใยแก้วหนา 6 นิ้ว จะช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้าในอาคารได้ถึงร้อยละ 30.2 และ 30.3 ตามลำดับ ดังนั้น การปรับปรุงหลังคาภายในอาคารของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อย่างเหมาะสม จะช่วยประหยัดปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้า และมีระยะเวลาคืนทุนที่เหมาะสมได้en
dc.description.abstractalternativeThis research is to seek a method to improve the design of roof system of typical building in Thailand. In this study, the building of Chulalongkorn University was selected. The aims of this study are to prevent heat being absorbed by roof and therefore reducing the cooling load of the buildings. Four types of roof system were studied: - Asbestos tile roof, metal sheet roof and reinforced concrete roof from 6 cases. The research studies the transferring effect factor of heat into the building, the roof thermal transfer value (RTTV) and the evaluation of heat transmission coefficient. Initially, the significant factor for evaluating of RTTV was the indoor air temperature. Then, most of the RTTV measurement were taken from closed-system roof which exceeded the standard value (25 watt/sq.m). Afterwards, the evaluation of the heat transmission coefficient of the different roofs varied at different time of the day from varying factors which differs from theoretical U-Value under controlled conditions. Following is the descendent evaluation of heat transmission coefficient on 6 cases in preventing heat transferring through the roof which are reinforced concrete roof/ gypsumboard ceiling with 2-inch fibreglass horizontally; metal sheet roof with ventilated space beneath/ plywood ceiling horizontally; asbestos tile roof / sloped gypsumboard ceiling; cement tile roof; gypsumboard ceiling horizontally; asbestos tile roof/ gypsumboard ceiling horizontally and reinforced concrete roof/ without ceiling respectively. Furthermore, the research studies the comparisons between using different types of insulation materials above the ceiling. Considering the roof improvements on three-year period, the first inch of the thickness of fibreglass or rockwool will reduce the energy consumption the most when compared with the next inch. In case of the current electricity rate, the most suitable materials to use are 1-inch cellulose fibre, 2-inch rockwool and 2-inch fibreglass which can reduce cooling load in the building to 22.9% 25.9 % and 26.1% respectively. However with the up and coming electricity rate, the most suitable materials to be used are 6-inch rockwool or 6-inch fiberglass which can reduce cooling load in building to 30.2% and 30.3% accordingly. The conclusion, with the proper roof improvements to the buildings at Chulalongkorn University, energy consumption with be dramatically reduce and therefore a short term pay-back period as a resulten
dc.format.extent909736 bytes-
dc.format.extent776614 bytes-
dc.format.extent1733785 bytes-
dc.format.extent2390759 bytes-
dc.format.extent1881941 bytes-
dc.format.extent721738 bytes-
dc.format.extent2383361 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectความร้อน -- การถ่ายเทen
dc.subjectหลังคาen
dc.titleการปรับปรุงหลังคาเพื่อลดภาระการทำความเย็น : กรณีศึกษาอาคารของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.title.alternativeRoof improvement to reduce cooling load : a case study of Chulalongkorn University buildingsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineเทคโนโลยีอาคารes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorsoontorn@asia.com, Soontorn.B@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chotewit_Po_front.pdf888.41 kBAdobe PDFView/Open
Chotewit_Po_ch1.pdf758.41 kBAdobe PDFView/Open
Chotewit_Po_ch2.pdf1.69 MBAdobe PDFView/Open
Chotewit_Po_ch3.pdf2.33 MBAdobe PDFView/Open
Chotewit_Po_ch4.pdf1.84 MBAdobe PDFView/Open
Chotewit_Po_ch5.pdf704.82 kBAdobe PDFView/Open
Chotewit_Po_back.pdf2.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.