Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16621
Title: ปัจจัยกำหนดอายุครบกำหนดในการออกหุ้นกู้เอกชน
Other Titles: The determinants of the maturity of corporate debt issues
Authors: อรรถพล ลักษณากร
Advisors: ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Thawatchai.J@chula.ac.th
Subjects: หุ้นกู้
หุ้นและการเล่นหุ้น
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาลักษณะของอายุครบกำหนด และปัจจัยกำหนดอายุครบกำหนดในการออกหุ้นกู้เอกชน ที่ทำการซื้อขายผ่านชมรมผู้ค้าตราสารหนี้ (Bond Dealer Club) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1992 ถึงปี ค.ศ. 1996 ผลการศึกษา ลักษณะของอายุครบกำหนดของหุ้นกู้เอกชนจำนวน 97 ตราสารพบว่า กว่า 75% หุ้นกู้ทั้งหมดเป็นหุ้นกู้ที่มีอายุครบกำหนด 3 ปี 6 ปี และ 7 ปี ทั้งนี้เพราะเหตุผล 2 ประการคือ หุ้นกู้ที่มีอายุครบกำหนดเหล่านี้เป็นหุ้นกู้ที่มีความนิยมซื้อขายกันในตลาดรองตราสารหนี้ จึงเป็นตราสารที่มีสภาพคล่องสูงกว่าตราสารที่มีอายุครบกำหนดอื่นๆ จึงทำให้เกิดความสะดวกในการคิดต้นทุน ในการนำหุ้นกู้ออกขายในตลาด และ อายุครบกำหนดของหุ้นกู้เหล่านี้ เป็นอายุครบกำหนดที่นิยมในการสว็อป (SWAP) อัตราดอกเบี้ยของหุ้นกู้ที่มีขนาดของเงินกู้ยืมและอายุครบกำหนดเท่ากันด้วย และผลการศึกษาจากแบบจำลองสมการถดถอยของปัจจัยกำหนดอายุครบกำหนดในการออกหุ้นกู้เอกชนตามทฤษฎี The Contracting-cost Hypothesis, The Signalling Hypothesis, และ Tax Hypothesis โดยใช้ตัวแปรอิสระคือ สัดส่วนของมูลค่าตลาดของทรัพย์สินเทียบกับมูลค่าตามบัญชีของทรัพย์สินสูง ขนาดของสินทรัพย์ของบริษัท ความเกี่ยวข้องกับรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจ ผลตอบแทนของ หุ้นสามัญในอดีต อันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้สูง และส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ซึ่งพบว่าปัจจัยที่กำหนดอายุครบกำหนดของหุ้นกู้ ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับความเชื่อมั่น 95% ก็คือ ขนาดของกิจการ สำหรับกรณีที่หุ้นกู้ของบริษัทไม่ประกาศอันดับความน่าเชื่อถือเป็นหุ้นกู้ที่มีคุณภาพต่ำกว่าหุ้นกู้ของบริษัทที่มีประกาศอันดับความน่าเชื่อถือต่ำที่สุด ส่วนกรณีที่เป็นหุ้นกู้ของบริษัทที่มีการประกาศอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้เพียงอย่างเดียว กลับไม่มีปัจจัยใดเลยที่กำหนดอายุครบกำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับความเชื่อมั่น 95%
Other Abstract: The objectives of this thesis are to study the characteristic and the determinants of the maturity of corporate debt in Thailand. The data used in this paper are cross-section data from 1992 to 1996 which are obtained from Bond Dealer Club (BDC). The results reveals that more than 75% of 97 samples of corporate debentures in the study have the maturities of 3, 5, and 7 years. The finding may reflect the fact that debentures of these maturities are very popular in the trading within the secondary bond and interest rate SWAP markets. The results from regression model are consistent with the contracting-cost hypothesis, the signaling hypothesis, and tax hypothesis. The variables used to test these hypothesis are market-to-book ration, size of assets, government or state enterprise relation, past stock return, credit rating of bond and yield spread of benchmark interest rate. Moreover, when assuming non-rated debentures to have the lowest quality, only firm’s size is found to be the influential factor. However all variables mentioned above are not found to be significant in determing the maturity of rated debentures.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16621
ISBN: วิทยานิพนธ์
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Attapol_La_front.pdf814.33 kBAdobe PDFView/Open
Attapol_La_ch1.pdf758.16 kBAdobe PDFView/Open
Attapol_La_ch2.pdf912.18 kBAdobe PDFView/Open
Attapol_La_ch3.pdf821.38 kBAdobe PDFView/Open
Attapol_La_ch4.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open
Attapol_La_ch5.pdf750.25 kBAdobe PDFView/Open
Attapol_La_back.pdf968.3 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.