Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16677
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกาญจนา แก้วเทพ-
dc.contributor.authorจิราวรรณ นันทพงศ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-02-04T13:28:57Z-
dc.date.available2012-02-04T13:28:57Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16677-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en
dc.description.abstractศึกษาถึงการสื่อสารเพื่อการรวมกลุ่มภายในกลุ่มวัฒนธรรมย่อยนักเต้นบีบอย และบทบาทของการสื่อสารในการรวมกลุ่ม และวิเคราะห์ความสัมพันธ์บทบาทของการสื่อสารกับการสร้างอัตลักษณ์ของกลุ่มนักเต้นบีบอย และการนำเสนออัตลักษณ์ของกลุ่มนักเต้นบีบอยในประเทศไทย โดยใช้กรอบแนวคิดเรื่องบทบาทของการสื่อสารในการสร้างอัตลักษณ์ แนวคิดเรื่องวัฒนธรรมย่อย และแนวคิดเกี่ยวกับกลุ่มและเครือข่ายการสื่อสาร ซึ่งใช้การวิจัยเชิงคุณภาพในการศึกษา โดยอาศัยการสัมภาษณ์เจาะลึก การสังเกตอย่างไม่มีส่วนร่วม การสนทนาอย่างไม่เป็นทางการ การศึกษาข้อมูลจากเอกสารต่างๆ ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะทางด้านประชากรศาสตร์ของกลุ่มนักเต้นบีบอยในประเทศไทย มีลักษณะดังนี้ 1) อายุ 10-35 ปี 2) เพศชายมากกว่าเพศหญิง 3) อาชีพมีความหลากหลาย ส่วนใหญ่กำลังศึกษาอยู่ 4) ระดับการศึกษา ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาจนถึงปริญญาตรี 5) สถานภาพทางเศรษฐกิจ ระดับปานกลางค่อนข้างต่ำ 6) ภูมิลำเนา บนพื้นที่สาธารณะจะมีภูมิลำเนาใกล้เคียงกับสถานที่ฝึกซ้อม แต่บนพื้นที่โลกเสมือนจริงมีภูมิลำเนาทั่วประเทศ การใช้แนวคิดเรื่องกลุ่มวัฒนธรรมย่อยในการวิเคราะห์กลุ่มนักเต้นบีบอย โดยมีรายละเอียดเรื่องกำเนิด/ที่มาบีบอย แรงจูงใจในการเต้นบีบอย ระยะเวลาในการเต้น ขนาดของกลุ่ม เครือข่ายกลุ่มนักเต้นบีบอย ทัศนคติก่อนและหลังเต้นบีบอย เป้าหมายในการเต้น โดยบทบาทของการสื่อสารในการรวมกลุ่มสื่อสารในการรวมกลุ่มใช้สื่อ 4 ประเภทคือ สื่อบุคคล สื่อสมัยใหม่ สื่อกิจกรรม และสื่อมวลชน และอัตลักษณ์ของกลุ่มนักเต้นบีบอยแสดงออก 2 แบบคือ 1) ทางวัจนภาษา ได้แก่ คำศัพท์/สแลง ฉายา เพลง 2) อวัจนภาษา ได้แก่ เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย ภาษาท่าทาง/การเต้น พื้นที่ แต่ที่โดดเด่นคือการต่อสู้ของอัตลักษณ์ทางด้านการเต้นและการต่อสู้ของอัตลักษณ์ทางด้านพื้นที่ ส่วนการสื่อสารภายในกลุ่มนักเต้นบีบอย และการสื่อสารของกลุ่มนักเต้นบีบอยกับภายนอกใช้สื่อต่างๆ 5 ประเภทคือ สื่อบุคคล สื่อสมัยใหม่ สื่อกิจกรรม สื่อวัตถุ และสื่อมวลชน นักเต้นบีบอยใช้สื่อหลายๆ สื่อในการสื่อสารกัน และบทบาทของสื่อในการสื่อสารภายในกลุ่มและการสื่อสารกับภายนอก แบ่งได้เป็น 4 ประเภทคือ 1) บทบาททางด้านสารสนเทศ 2) ในการมีปฏิสัมพันธ์กับสังคม 3) บทบาทในการสร้างและนำเสนออัตลักษณ์ให้แก่กลุ่ม 4) บทบาทด้านความบันเทิง นอกจากนี้ผู้วิจัยพบว่า การรวมกลุ่มของกลุ่มนักเต้นบีบอยคือ การสร้างพื้นที่ทางพิธีกรรมทางศาสนาในสังคมสมัยโบราณ ในพื้นที่กิจวัตรประจำวัน และในบริบทที่เข้มข้นขึ้นอย่างกิจกรรมการแข่งขันที่ถูกสร้างขึ้นมา เป็นการตอบสนองความต้องการการยอมรับและต้องการต่อสู้ ต่อรองอำนาจจากสังคมผ่านการเต้นที่เป็นอัตลักษณ์ในตัวเองของกลุ่มนักเต้นบีบอย รวมถึงการต่อสู้พื้นที่เพื่อให้ได้พื้นที่ในการแสดง อัตลักษณ์ภายในกลุ่มและนำเสนอสู่สายตาคนภายนอกen
dc.description.abstractalternativeTo study ways of communication among b-boy dancers to gel together into a group; to study the role of communication in gelling into a group; and to analyze the relationship between the role of communications and identity creation of b-boy dancers in Thailand, in the concept of the role of communications in the identity creation and presentation of a subculture and concept of group communications. Research was completed by special interview, investigation, information conversation and paper document research. The study finds that the demographic characteristics of b-boy dancers in Thailand are: 1) Age 10-35 years 2) Gender: both male and female 3) Occupation: various 4) Education: primary school to undergraduate level 5) Economic status: average-to-middle and average-to-low 6) Domicile: public sphere and social network sphere, nationwide. Analysis in the concept of the b-boy dancer subculture group indicates the origin of the b-boy dancer, motivation for dancing, practice period, size of group, b-boy network, pre-member and post-member attitudes, dancing goals. There are 4-forms of communication within a b-boy dancing group: people communication, innovative communication, activity communication and mass media communication. The b-boy identity is shown in 2-ways: language and non-language. Language generally refers to spoken word, idiom, alias and song. Non-language composes clothes and accessories, body language, dance-movements and location, but their most outstanding identities are personal dancing ability and identity marker as a performer. Communications between the b-boy dancer group and among b-boy dancers and the public are achieved through 5-media outlets; opinion leaders, news media, activity media, object media and mass media. Four communications roles are involved as follows: 1) Surveillance 2) Relationship 3) Identity 4) Diversion. In addition, research shows that the b-boy dancer group supports ancient religious activities. In daily life and context concentration It also seeks to be accepted socially and to be negotiable, to emphasize membership identity and purpose of participating in dance performances in public.en
dc.format.extent4167957 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1232-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectอัตลักษณ์en
dc.subjectการสื่อสารen
dc.subjectวัฒนธรรมย่อยen
dc.subjectวัฒนธรรมมวลชนen
dc.subjectการเต้นฮิปฮ็อปen
dc.titleบทบาทของการสื่อสารกับการสร้างและนำเสนออัตลักษณ์ของกลุ่มวัฒนธรรมย่อยนักเต้นบีบอยในประเทศไทยen
dc.title.alternativeRole of communication in identity creation and presentation of the subculture : b-boy dancer in Thailanden
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการสื่อสารมวลชนes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorKanjana.Ka@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.1232-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
jirawan_na.pdf4.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.