Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16767
Title: การพัฒนาเขตปลอดอากร ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
Other Titles: The development of customs free zone at Suwannabhumi Airport
Authors: นิติวิตต์ จันทวีสุข
Advisors: กมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒิ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Kamonchanok.s@chula.ac.th
Subjects: ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
เขตปลอดอากร
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาแนวทางการพัฒนาและปรับปรุงการให้บริการของผู้ให้บริการทั้งหมด 4 ราย ภายในเขตปลอดอากร ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ผู้ให้บริการประกอบด้วย เจ้าหน้าที่กรมศุลกากร เจ้าหน้าที่การบินไทย เจ้าหน้าที่ BFS และเจ้าหน้าที่ TAGS จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 304 ราย ซึ่งเป็นผู้ใช้บริการ ประกอบด้วย ตัวแทนผู้นำเข้าและส่งออกสินค้าทางอากาศ ผู้ส่งออกสินค้าทางอากาศอย่างเดียว และผู้นำเข้าและส่งออกสินค้าทางอากาศ ประเมินความสำคัญ และความพึงพอใจของปัจจัย ประกอบด้วย 5 ปัจจัยหลัก แต่ละปัจจัยหลักจะประกอบด้วยปัจจัยย่อย เพื่อความเข้าใจ และความถูกต้องในการประเมิน เครื่องมือหลักที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสอบถาม ประกอบด้วย 3 ส่วนด้วยกันโดยส่วนที่ 3 เป็นส่วนหลัก เพื่อใช้ประเมินและวัดระดับความสำคัญและความพึงพอใจของปัจจัยต่อผู้ให้บริการ หลังจากเก็บรวมรวบข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูป ตามหลักสถิติเชิงพรรณาที่ระบุค่าของข้อมูลออกมาเป็นค่าเฉลี่ยและค่าความถี่ นำค่าเฉลี่ยมาสร้างแผนภูมิจุด เพื่อดูภาพรวมของค่าเฉลี่ยทั้งหมดว่าจะต้องกำหนดค่าของพื้นที่ใดบ้างในแผนภูมิ เพื่อปรับปรุงและพัฒนาต่อไป โดยหลักสถิติที่ใช้วิเคราะห์คือ Performance Evaluation Matrix และ Competitive Position Matrix วิเคราะห์ผลลัพธ์ที่ได้ และนำไปกำหนด Strategic Opportunities for Competitive Advantage ผลสรุปบางส่วนพบว่า ปัจจัยด้านความสามารถทางด้านความรู้ที่จะให้บริการของเจ้าหน้าที่กรมศุลกากร ภายในเขตปลอดอากร จำเป็นต้องมีการปรับปรุงอย่างเร่งด่วน เนื่องจากเป็นจุดด้อยขององค์กรที่ควรจะรีบปรับปรุงภายในกำหนดระยะเวลาสั้น ส่วนด้านการเข้าถึงของกฎระเบียบ และการบริการด้านพิธีการศุลกากรอย่างมีประสิทธิภาพ ถือว่าเป็นจุดเด่นของเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรที่ควรจะรักษา หรือจะปรับปรุงระดับการให้บริการภายในกำหนดระยะเวลายาว
Other Abstract: To study which factors of four service providers consisting of customs officers, TG officers, BFS officers and TAGS officers in customs free zone at the airport needed to be improved and developed in correct way by being assessed by three hundred and four service users consisting of air freight forwarders, only air freight importers, and both air freight importers and exporters in the same target area to be surveyed. Importance and performance of each sub-factor of five main factors were evaluated by those service users. To enhance more understandings and accurate evaluation by using questionnaires, each questionnaire was composed of three parts of which last part was brought up for importance and performance level evaluation to find out means and frequencies according to descriptive statistics. Means were plotted on graph to specify needed area to be improved and developed according to performance evaluation matrix and competitive position matrix to further find strategic opportunities for competitive advantage. The partial conclusion was that competence was needed to be very urgently improved in a short time period since this factor was found in weakness area as access to the rules and effectiveness in providing single window clearance were found in strength area, therefore these factors should be maintained or improved in a long time period.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การจัดการด้านโลจิสติกส์ (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16767
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1213
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.1213
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nitwitt_Ch.pdf4.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.