Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16768
Title: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดูแลตนเองของผู้ป่วยกลุ่มอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
Other Titles: Factors related to self-care in acute coronary syndromes
Authors: พรพิมล อ่ำพิจิตร
Advisors: ชนกพร จิตปัญญา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: hchanokp@pioneer.netserv.chula.ac.th
Subjects: การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง
หลอดเลือดโคโรนารีย์ -- โรค
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง อายุ ระยะเวลาการเจ็บป่วย การทำหน้าที่ด้านการรู้คิด การรับรู้การควบคุมตนเอง ภาวะซึมเศร้า การทำหน้าที่ของร่างกาย และการสนับสนุนทางสังคม กับการดูแลตนเองของผู้ป่วยกลุ่มอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โดยใช้กรอบแนวคิดของ Riegel et al., (2004) กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยกลุ่มอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ที่มารับการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลชลบุรี และโรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี จำนวน 140 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการทำหน้าที่ของร่างกาย แบบสัมภาษณ์การทำหน้าที่ด้านการรู้คิด แบบสอบถามภาวะซึมเศร้า แบบประเมินการรับรู้การควบคุมตนเอง แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามการดูแลตนเองของผู้ป่วยกลุ่มอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และมีค่าความเที่ยงจากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .89, .70, .85 และ .78 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความสัมพันธ์สเพียร์แมน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. การดูแลตนเองของผู้ป่วยกลุ่มอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันอยู่ในระดับดี โดยด้านการดูแลตนเองเพื่อคงภาวะสุขภาพ ด้านการจัดการอาการ และด้านความมั่นใจในการดูแลตนเองอยู่ในระดับดีเช่นเดียวกัน (ค่าเฉลี่ย = 71.48, 63.82, และ 57.72 ตามลำดับ) 2. ภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์ทางลบกับการดูแลตนเองของผู้ป่วยกลุ่มอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (r = - .496) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. การสนับสนุนทางสังคมและการทำหน้าที่ด้านการรู้คิด มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการดูแลตนเองของผู้ป่วยกลุ่มอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (r = .363 และ .381) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. การทำหน้าที่ของร่างกายมีความสัมพันธ์กับการดูแลตนเองของผู้ป่วยกลุ่มอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (rS = .225) 5. อายุ ระยะเวลาการเจ็บป่วย และการรับรู้การควบคุมตนเอง ไม่มีความสัมพันธ์กับการดูแลตนเองของผู้ป่วยกลุ่มอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this descriptive research was to study the relationship between age, length of illness, physical functioning, perceived control, cognitive function, depression, social support and self-care in patients with acute coronary syndrome. Riegel’s framework (2004) was used to guide this study. The sample consisted of 140 acute coronary syndromes patients recruited by a simple random sampling from the Out-Patients Departments of Chonburi Hospital and Phrapokkloa Hospital. The instruments were a demographic Data From, a NYHA from, a Thai Mini Mental State Examination, a Center for Epidemiologic Studies-Depression Scale (CES-D), a Control Attitude Scale, the enriche social support questionnaire and a Self-care questionnaire of acute coronary syndrome. The instruments were tested for their content validity by a panel of experts. The reliability of instruments were .89, .70, .85, and .78 respectively. Statistical techniques used in data analysis were mean, standard deviation, Spearman’s Rho and Pearson’s product-moment correlation. The major findings were as follows: 1. Mean of self-care score in patients with acute coronary syndromes indicated was at the good level). Also, the scores of self-care maintenance, self-care management, and self-care self confidence were at the good level. (mean = 71.48, 63.82 and 57.72 respectively). 2. There were a significantly relationship negative between depression and self-care in patients with acute coronary syndromes. (r = - .496, p < .05). 3.There were a significantly positive relationship between Social Support, Cognitive functioning and self care in patients with acute coronary syndromes. (r = .363, and .381, p < .05). 4. Physical functioning was a significantly related to self care in patients with acute coronary syndromes at the level of .05 (rS = .225). 5. There were no statistical correlation between age, length of illness, and perceived control and self-care in patients with acute coronary syndromes.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16768
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1190
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.1190
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pornpimon_um.pdf2.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.