Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16829
Title: ผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดหัวใจ หลังใส่โครงตาข่ายในหลอดเลือดหัวใจ
Other Titles: The Effect of cardiac rehabilitaion program on health promotiong behaviors among coronary artery disease elderly patients after coronary stent implantation
Authors: วิยะการ แสงหัวช้าง
Advisors: จิราพร เกศพิชญวัฒนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: wwattanaj@ yahoo.com
Subjects: ผู้สูงอายุ
หลอดเลือดโคโรนารีย์ -- โรค
พฤติกรรมสุขภาพ
หัวใจ -- โรค -- ผู้ป่วย -- การฟื้นฟูสมรรถภาพ
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เปรียบเทียบพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดหัวใจหลังใส่โครงตาข่ายในหลอดเลือดหัวใจ ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ซึ่งสร้างจากแนวทางการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจของชมรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย (2547) ร่วมกับแนวคิดการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจในผู้สูงอายุของ Dolansky et al. (2006) และเปรียบเทียบพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ กับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ โดยใช้แบบแผนการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่ม วัดก่อนและหลังการทดลอง โดยการจับคู่เพศ อายุ และการศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดหัวใจหลังใส่โครงตาข่ายในหลอดเลือดหัวใจ แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองจำนวนกลุ่มละ 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยเครื่องมือ 2 ส่วน คือ 1) โปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและผ่านการทดสอบความตรงตามเนื้อหา .81 และ 2) เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งผ่านการทดสอบความตรงตามเนื้อหา .81 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .74 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการ ทดสอบ Wilcoxon sign-rank test และ Mann-Whitney U test ผลการวิจัยสรุปดังนี้ 1. ค่าคะแนนพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดหัวใจหลังใส่โครงตาข่ายในหลอดเลือดหัวใจ หลังได้รับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ค่าคะแนนพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดหัวใจ หลังใส่โครงตาข่ายในหลอดเลือดหัวใจหลังได้รับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: To examine the effect of cardiac rehabilitation program on health promoting behaviors among coronary artery disease elderly patients after coronary stent implantation. The Quasi-experimental design using pretest-post test control group design by matching sex, age, and education. Subjects consisted 40 elderly patients which were equally assigned to experimental and control group. Instruments of this study comprised with 2 parts which are : 1) Cardiac Rehabilitation Program which was tested for validity with content validity index of .81 2) The Data collecting instrument was Health Promoting Behavior Questionnaire with reliability of .74. Data were analyzed using Wilcoxon sign-rank test and Mann-Whitney U test. Major findings were as follows : 1. The score of health promoting behaviors of coronary artery disease elderly patients after coronary stent implantation in the experimental group received the cardiac rehabilitation program was significantly higher than before received program (p<.05). 2. The score of health promoting behaviors of coronary artery disease elderly patients after coronary stent implantation implantation in the experimental group received the cardiac rehabilitation program was significantly higher than those of the regular nursing care (p<.05).
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16829
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1498
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.1498
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wiyakarn_Sa.pdf1.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.