Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1686
Title: การควบคุมการตอบรับการเรียกและการจัดสรรแบนด์วิดท์สำหรับการแฮนด์ออฟอย่างเร็วในโครงข่ายอินเทอร์เนตไร้สายเคลื่อนที่
Other Titles: Call admissiom control and bandwidth allocation for fast handoff in mobile wireless internet networks
Authors: ณัฐต์ศุภางค์ ปิตะคาพันธ์
Advisors: วาทิต เบญจพลกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Watit.B@chula.ac.th
Subjects: ระบบสื่อสารไร้สาย
ระบบสื่อสารเคลื่อนที่
อินเตอร์เน็ตไร้สาย
การประมวลผลแบบเคลื่อนที่
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การพัฒนาโครงข่ายไร้สายเคลื่อนที่ให้อยู่บนพื้นฐานของโครงข่ายอินเทอร์เนต เพื่อรองรับการรับส่งไอพีแพ็กเกตที่อัตราข้อมูลที่สูงขึ้น ทำให้โครงข่ายไร้สายถูกจัดอยู่ในสถาปัตยกรรมแบบไมโคร/พิโคเซลลูลาร์ ส่งผลให้การเรียกมีอัตราการแฮนด์ออฟที่มากขึ้น การแฮนด์ออฟในโครงข่ายอินเทอร์เน็ตไร้สายเคลื่อน ที่ต้องเร็วพอที่จะหลีกเลี่ยงการสูญเสียแพ็กเกตที่ไวต่อการประวิงเวลา แบบแผนการลงทะเลียนภูมิภาคได้รับการพัฒนาขึ้น เพื่อสนับสนุนการแฮนด์ออฟอย่างเร็วในโครงข่ายอินเทอร์เนตไร้สายเคลื่อนที่ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงได้เสนอการจัดสรรทรัพยากรของระบบให้กับการเรียก ในโครงข่ายการลงทะเบียนภูมิภาคและสามารถสนับสนุนการแฮนด์ออฟอย่างเร็ว ในโครงข่ายอินเทอร์เนตไร้สายเคลื่อนที่ด้วย แบบแผนการจัดสรรทรัพยากรที่เสนอแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนของการควบคุมการตอบรับการเรียก และส่วนของการจัดสรรแบนด์วิดท์ให้แก่ทราฟฟิกประเภท streaming แบบปรับตัวได้แบบแผนการควบคุมการตอบรับการเรียกที่เสนอขึ้น ประกอบไปด้วยการทำงานที่ 2 ระดับชั้น ได้แก่ ที่เกตเวย์ของโดเมนการลงทะเบียนที่มีค่าจุดเริ่มเปลี่ยน เพื่อตอบรับการเรียกใหม่ที่เกิดขึ้นในโดเมนการลงทะเบียน และที่เกตเวย์ของเซลล์วิทยุที่ใช้วิธีการจัดสรรล่วงหน้า บนพื้นฐานของการวัดมาให้ลำดับความสำคัญกับการเรียกที่เกิดจากการแฮนด์ออฟ และสามารถรับประกันความน่าจะเป็นของการดร็อปการเรียกที่เกิดจากการแฮนด์ออฟได้ ผลการทดสอบสมรรถนะของแบบแผนการควบคุมการตอบรับการเรียกที่เสนอ พบว่าแบบแผนการควบคุมการตอบรับการเรียกที่เสนอ สามารถรับประกันค่าความน่าจะเป็นของการดร็อปการเรียกที่เกิดจากการแฮนด์ออฟได้ และยังสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อม และปริมาณทราฟฟิกที่เปลี่ยนแปลง แบบแผนการจัดสรรแบนด์วิดท์แบบปรับตัว ทำให้ระบบสามารถลดความคับคั่งในโครงข่ายและรองรับการเรียกได้เพิ่มขึ้นด้วย
Other Abstract: Development of mobile wireless networks based on internet networks provides higher data rate transmission. The system architecture becomes micro/picocellular, in which handoff rate is increased. In mobile wireless internet networks, call must handoff fast enough to alleviate the loss of delay-sensitive data. Regional registration is a famous solution for fast location updating scheme. Then, this thesis proposes fast resource allocation in regional registration which can also support fast handoff. The proposed resource allocation scheme includes Call Admission Control (CAC) function and adaptive bandwidth allocation for streaming traffic class. In the proposed CAC scheme, there are 2 layers of CAC: Gateway Foreign Agent (GFA) at domain level and Regional Foreign Agent (RFA) at radio cell level. The key behind this idea is a threshold that is set to admit a new call at GFA cooperating with Measurement-based Pre-assignment (MPr) algorithm for handoff prioritization at RFA where handoff call dropping probability can be guaranteed for users by the proposed CAC scheme. Simulations are conducted to validate the performance of handoff call dropping probability and show that the proposed CAC scheme is flexible in employing in any traffic load condition and any network environment. Moreover, adaptive bandwidth allocation provides more admitted calls in domain level. The congestion can be reduced and the handoff call dropping probability can be decreased by adjusting effective bandwidth of calls.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1686
ISBN: 9745314781
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nutsupang.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.