Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1688
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุพิชชา จันทรโยธา-
dc.contributor.authorภาวิณี วิสัยแสวง, 2523--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-08-11T10:35:07Z-
dc.date.available2006-08-11T10:35:07Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9745312169-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1688-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเทคนิคในการหาปริมาณเรเดียม-226 ในน้ำโดยใช้แมงกานีสไดออกไซด์ที่เคลือบบนเส้นใยอะคริลิกเป็นตัวดูดซับ โดยทำการศึกษาหาถึงเงื่อนไขที่เหมาะสมในการเคลือบเส้นใยอะครีลิก ประกอบด้วย สีของเส้นใยอะครีลิก อุณหภูมิและความเข้มข้นของสารละลายโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต และเวลาที่ใช้ในการเคลือบ นอกจากนี้ยังได้ศึกษาตัวแปรต่างๆ ที่อาจมีผลต่อการดูดซับเรเดียมของเส้นใยอะครีลิกที่เคลือบด้วยแมงกานีสไดออกไซด์ การวิเคราะห์หาปริมาณเรเดียม-226 ทำโดยการวิเคราะห์สเปกตรัมรังสีแกมมาของบิสมัท-214 ที่พลังงาน 609.3 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ การศึกษาการเคลือบโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนตบนเส้นใยอะครีลิก พบว่า เงื่อนไขที่เหมาะสม คือ ความเข้มข้นของสารละลายโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต เท่ากับ 0.5 โมลต่อลิตร อุณหภูมิของสารละลายให้มีค่าอยู่ในช่วง 70 -80 องศาเซลเซียส เวลาในการเคลือบเส้นใยประมาณ 20-30 นาที และสีของเส้นใยอะครีลิกควรมีสีดำ สำหรับปริมาณของเส้นใยอะครีลิกที่เคลือบด้วยแมงกานีสไดออกไซด์ 60 กรัม (น้ำหนักเปียก) สามารถดูดซับเรเดียม-226 ในน้ำธรรมชาติที่มีปริมาตร 20-100 ลิตร ได้ดี และสำหรับการศึกษาอัตราการไหลและค่าความเป็นกรดด่างของตัวอย่างน้ำพบว่า อัตราการไหลที่เหมาะสมมีค่าอยู่ในช่วง 1-2 ลิตรต่อนาที และค่าความเป็นกรดด่างของตัวอย่างน้ำควรมีค่าประมาณ 6-7 ผลของการศึกษาขนาดของเส้นใยอะครีลิก พบว่า เส้นใยอะครีลิกขนาดต่างๆ มีประสิทธิภาพในการดูดซับเรเดียมบนแมงกานีสไดออกไซด์ใกล้เคียงกัน ค่าต่ำสุดในการวัดสำหรับเทคนิคนี้มีค่าเท่ากับ 0.001 เบคเคอเรลต่อลิตรen
dc.description.abstractalternativeThis research was aimed to develop a technique for determination of radium-226 content in water using manganese dioxide-coated acrylic fiber as adsorber. The suitable conditions for coating acrylic fiber with KMnO[subscript 4] including color, temperature, KMnO[subscript 4] concentration and coating time were studied. In addition, the various parameters that might effect the adsorption of [superscript 226]Ra on Mn-coated fiber during collecting water sample were also investigated. Gamma spectrum of 609.3 keV of [superscript 214]Bi was used to analyze the [superscript 226]Ra concentration. The study of KMnO[subscript 4] coated on acrylic fiber found that the best used conditions are as follows: 0.5 M/L, 70-80 degree celcius, 20-30 min coating time and the color of Mn-coated fiber should be black.The amount 60 gram of Mn-coated fiber was capable for absorbing [superscript 226]Ra in 20-100 L of natural water sample.The appropriate range of pH and flow rate of collected water should be 6-7 and 1-2 L/min respectively. The efficiency of [superscript 226]Ra adsorpted on different sizes of Mn-coated local fibers gave the same results. This technique has minimum detectable activity, (MDA) 0.001 Bq/L.en
dc.format.extent1171913 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectเรเดียม-226en
dc.subjectกัมมันตภาพรังสี--การวัดen
dc.subjectรังสีแกมมาen
dc.subjectแมงกานีสไดออกไซด์en
dc.titleการหาปริมาณเรเดียม-226 ในน้ำโดยใช้แมงกานีสไดออกไซด์ ที่เคลือบบนเส้นใยอะครีลิกเป็นตัวดูดซับen
dc.title.alternativeDetermination of radium-226 content in water using manganese dioxide-coated acrylic fiber as an adsorbenten
dc.typeThesisen
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineนิวเคลียร์เทคโนโลยีen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSupitcha.C@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
PawineeWi.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.