Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16960
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ ทุน และจักรยานยนต์รับจ้างในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: The relations between state-capital and the hired motorcysles in Bangkok
Authors: อาวุธ อุดมรัตน์
Advisors: มณิศรี พันธุลาภ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Advisor's Email: Manisri.P@chula.ac.th
Subjects: จักรยานยนต์
ผู้ขับขี่จักรยานยนต์รับจ้าง
เศรษฐศาสตร์การเมือง
ค่าเช่า
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาในประเด็นเรื่องความสัมพันธ์การผลิต ในส่วนของความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ ทุน และจักรยานยนต์รับจ้าง การศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วยการพิจารณาถึงลักษณะของผู้ที่เกี่ยวข้องในการประกอบอาชีพจักรยานยนต์รับจ้าง สถานะและบทบาทของกลุ่มบุคคลดังกล่าว ซึ่งสามารถนำเราไปสู่การตอบโจทย์ในการศึกษาเรื่องความสัมพันธ์การผลิตได้ว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร ทั้งนี้ได้ทำการศึกษาจากงานวิจัยซึ่งเป็นการศึกษาในเชิงประวัติศาสตร์ (Historical Approach) ผนวกเข้ากับข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ในลักษณะ Group Focus เพื่อให้ได้ข้อมูลในเชิงลึกยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับลักษณะของการเกิดขึ้นของส่วยจักรยานยนต์รับจ้าง รวมถึงค่าใช้จ่ายนอกระบบที่ผู้ให้บริการจักรยานยนต์รับจ้างต้องจ่ายไปทั้งก่อนและหลังการเข้าเป็นแรงงาน ลักษณะความสัมพันธ์ของกิจกรรมการผลิตนี้เกิดขึ้นระหว่างรัฐ ทุน และจักรยานยนต์รับจ้างเป็นผลมาจากกลไกและกระบวนการของรัฐเป็นตัวการสำคัญ กล่าวคือ ตำรวจได้ใช้กลไกหรือกระบวนการในการแจกจ่ายสินค้าทางการเมือง ซึ่งก็คือการให้สิทธิแก่กลุ่มทุนซึ่งก็คือหัวหน้าวิน เมื่อได้รับสิทธินั้นมาแล้วหัวหน้าวินจึงจัดตั้งวินเพื่อให้บริการจักรยานยนต์รับจ้าง ปัจจัยการผลิตที่สำคัญก็ตกไปอยู่แก่หัวหน้าวิน และเพื่อที่จะสร้างรายได้ให้เกิดขึ้น หัวหน้าวินจึงได้สร้างค่าเช่าในปัจจัยการผลิตขึ้นโดยแปรเปลี่ยนไปเป็นเสื้อวิน เสื้อวินก็จะถูกแจกจ่ายไปยังแรงงาน โดยแรงงานมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าเช่าเป็นการตอบแทนให้แก่หัวหน้าวิน และเพื่อที่จะรักษาสถานะและรายได้ของตนไว้ หัวหน้าวินจึงต้องจ่ายค่าเช่าที่เกิดจากการโอนทรัพยากรให้กับตำรวจ จึงเป็นที่มาของ "ส่วยจักรยานยนต์รับจ้าง" ส่วนที่หัวหน้าวินจะได้รับคือค่าเช่าจากการกำกับดูแล เช่นนี้แล้วแรงงานผู้ให้บริการจักรยานยนต์รับจ้างจึงเเสมือนถูก "ขูดรีดมูลค่าส่วนเกินแรงงาน" ต่อมาภาครัฐมีนโยบายที่จะขจัดส่วยจักรยานยนต์รับจ้าง และผู้มีอิทธิพลที่คอยขูดรีดแรงงาน จึงได้ประกาศบังคับใช้พระราชบัญญัติรถยนต์ (ฉบับที่ ๑๓) พ.ศ. ๒๕๔๗ โดยหวังว่าพระราชบัญญัติดังกล่าวสามารถทำให้ผู้มีอาชีพจักรยานยนต์รับจ้างมีระดับความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น หากแต่ปรากฏว่าด้วยกลไกลหรือกระบวนการแห่งรัฐที่เป็นอยู่ก็ไม่สามารถขจัดการขูดรีดแรงงานออกไปได้ทั้งหมด เพียงแต่ช่วยลดระดับการขูดรีดให้ลดลงเท่านั้น กล่าวโดยสรุปได้ว่าความสัมพันธ์การผลิตในกิจกรรมจักรยานยนต์รับจ้างนั้นเป็นการก่อตัวขึ้นจากกลไกหรือกระบวนการในการแจกจ่ายสินค้าทางการเมืองของรัฐผ่านสถาบันอันเป็นตัวแทนรัฐ โดยมีปัจจัยการผลิตเข้ามาทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมโยงให้กลุ่มบุคคลเหล่านั้นสร้างความสำคัญต่อกัน ผ่านกระบวนการของการสร้างค่าเช่าทางเศรษฐกิจ จากการศึกษาสามารถเสนอแนะได้ว่าการจะเข้าไปจัดการกับกิจกรรมการให้บริการจักรยานยนต์รับจ้างให้ได้ผลและมีประสิทธิภาพนั้น ก่อนการออกประกาศบังคับใช้กฏหมายใหม่ๆ นั้นต้องทำความเข้าใจกับโครงสร้างและความสัมพันธ์การผลิตให้เข้าใจอย่างถ่องแท้เสียก่อน อีกทั้งหน่วยงานของรัฐที่จะเข้ามาดูแลนั้นต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจในกิจกรรมการผลิตอย่างแท้จริงด้วย
Other Abstract: This thesis studied about relations of production by focusing on the relation between the state, the capital and a group of motorcyclist, who ride a motorcycle for a living. The thesis is combined with two elements; the consideration of the characters of people, who involve in a circle of this motorcycle riding career and a position or a role of a group of motorcyclist in the society. These two elements lead us to the answer of the question, how is the relation of the production? The historical approach combine with the data from the group focus interview were used to get specific data, especially in the section, that is relevant to the form of the illegal motorcycling levy and the illegal expense that motorcyclists have to pay before and after joining in this motorcycle riding career. The characters of the production between the state, the capital and the motorcyclists is the effect of the system and the government process, it means that polices distribute the political commodity, which is actually an influence, to a leader of the group of motorcyclists, which is the capital group, by using the system or the government process. When the leader obtains the influence, he organize a group of motorcyclists, then a means of production belong to the leader and to earning incomes, the leader sets a rental fee, which transforms to be custom team jackets then the leader distributes these custom team jackets to motorcyclists, who have to pay a rental fee for these jackets to the leader in order to safe their career and their position in the group. Not only the motorcyclist but also the leaders, they have to pay a motorcycling levy to the police that are the origin of the "illegal motorcycling levy" but what the leader gets from the police in return is the safety when running the business. From the process, motorcyclists, who ride for a living, are disadvantaged because they pay more than what they get. Afterward, the government sets a policy in order to eliminate illegal motorcycling levies and influences, therefore, the government declares the act of Vehicle Legislation (13th Edition) in the 2549th year of Buddhist with the expectation that this act of Vehicle Legislation will raise a standard of living of motorcyclists but in reality nowadays, this act of Vehicle Legislation cannot eliminate all of those illegal motorcycling levies and influences, it can only decrease the severity of the situation. In the conclusion, the relation of production of the illegal motorcycling levies is caused by the process of distribution of the political commodity by the government man. A mean of production is the link for those influences by creating the economic rents. From the study, the government has to understand about the structure and the relation of production, in order to deal effectively with the influences before the declaration of the act of Vehicle Legislation and the government organization has to have personal officers with abilities in order to understand the process of production
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์การเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16960
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.286
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.286
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Arwut_Ud.pdf2.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.