Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1730
Title: การศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อมของการใช้พลังงานไฟฟ้า ในการสูบน้ำเพื่อระบบชลประทานในลุ่มแม่น้ำชี : กรณี อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด : รายงานการศึกษาวิจัย
Other Titles: Preliminary environmental impact assessment on the utilization of electricity as a pumping energy for irrigation system in River Chi watershed:case of Amphoe Selapoom,Changwat Roi Et
Authors: พันธวัศ สัมพันธ์พานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม
Subjects: ชลประทาน--ไทย--ร้อยเอ็ด
สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า--ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
โครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า
การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
แม่น้ำชี
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อมของการใช้พลังงานในการสูบน้ำ เพื่อการชลประทานในลุ่มแม่น้ำชี : กรณีอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ดนั้น โครงการฯ มิได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมแต่อย่างไร ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรทางกายภาพ ทรัพยากรทางชีวภาพ คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ และคุณค่าต่อคุณภาพชีวิต หากแต่โครงการสูงน้ำด้วยพลังงานไฟฟ้าทุกสถานีสูบน้ำของอำเภอเสลภูมิ มีแต่ข้อดี หรือมีแต่ประโยชน์ที่ราษฎรจะได้รับแทบทั้งสิ้น กล่าวคือ ราษฎรที่อยู่ในพื้นที่โครงการสูบน้ำสามารถนำน้ำไปใช้ประโยชน์ในการเกษตร เช่น ทำนา ทำสวน ทำไร่ และอื่นๆ โดยเฉพาะสามารถทำนาเกษตรได้ปีละ 2 ครั้ง (ทำนาปี และทำนาปรัง) โดยมิต้องอาศัยน้ำฝนจากธรรมชาติ โครงการดังกล่าวทำให้เกิดการพัฒนาต่างๆ อาทิ การพัฒนาด้านถนนหนทาง ด้านพลังงานไฟฟ้า ด้านแหล่งน้ำเพื่ออุปโภค-บริโภคให้มากขึ้น สำหรับราษฎรในหมู่บ้านของพื้นที่โครงการ สรุปได้ว่าโครงการฯ ทำให้มีการพัฒนาด้านเกษตร ทำให้ได้ผลผลิตมากขึ้น ทุกคนมีความร่วมแรกร่วมใจกันทำงาน และไม่มีความขัดแย้งกันของคนในหมู่บ้าน หากแต่โครงการทำให้ราษฎรในพื้นที่ที่มิได้รับการบริการจากโครงการสูบน้ำด้วยพลังงานไฟฟ้า คิดค่าจ้างหรือค่าตอบแทนเมื่อมีการว่าจ้างให้ทำงาน อีกทั้งพื้นที่โครงการไม่มีปัญหาของการใช้ยาฆ่าแมลงที่ใช้แล้วก่อให้เกิดทรัพยากรสัตว์น้ำน้อยลงไม่มีโรคแมลงระบาด ไม่มีปัญหาเรื่องของคุณภาพดินเสื่อม และไม่มีปัญหาเรื่องของระยะเวลาการเปิด-ปิด ปริมาณการปล่อยน้ำ อัตราการเรียกเก็บเงิน ตลอดจนการขโมยน้ำจากโครงการใช้ และไม่เกิดปัญหาของการขาดแคลนน้ำด้วย หากแต่โครงการฯ พบว่ามีปัญหาอยู่ที่ระยะทางของการก่อสร้างคลองดาดคอนกรีตส่งน้ำสั้นเกินไป การจัดตั้งกลุ่มสหกรณ์ผู้ใช้น้ำไม่สำเร็จ โครงการฯ ทำให้มีการใช้เงินลงทุนสูงขึ้น แต่ผลผลิตที่ได้รับก็คุ้มกับการลงทุน หรือกล่าวได้คือผลผลิตไม่ตกต่ำ และโครงการฯ มิได้ก่อปัญหา ทำให้ราษฎรในพื้นที่โครงการมีภาระหนี้สินใดๆ หากแต่ราษฎรที่มีภาระหนี้สินมากขึ้นอาจเกิดจากการใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย โดยเฉพาะการซื้อเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ที่จะอำนวยความสะดวกสบายในชีวิตประจำวัน โครงการสูบน้ำด้วยพลังงานไฟฟ้าทำให้มีการใช้แรงงานคน เครื่องทุ่นแรง มากขึ้นแล้ว ทำให้ราคาที่ดิน และผลผลิตทางการเกษตรก็สูงขึ้นเช่นกัน ทำให้ราษฎรมีรายได้เพิ่มขึ้น มีสภาพความเป็นอยู่ดี รวมถึงคุณภาพชีวิตของราษฎรดีขึ้นด้วย แต่ราษฎรภายในพื้นที่โครงการฯ กล่าวว่า โครงการจะมีปัญหาในเรื่องของโครงสร้างคลองส่งน้ำประธาน (ดาดคอนกรีต) คลองซอย รวมทั้งคลองไส้ไก่ที่ชำรุด ผุพัง เก็บน้ำไม่อยู่ ทั้งนี้อาจเนื่องจากระยะเวลาการใช้งานมานานมาก แต่บางหมู่บ้านกล่าวว่า สาเหตุมาจากผู้รับเหมาก่อสร้าง ทำการก่อสร้างไม่ตรงตามแบบหรือได้ตามมาตรฐานที่กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานกำหนดไว้ อีกทั้งผู้รับผิดชอบดูแลและวิเคราะห์โครงการฯ ควรที่จะพิจารณาถึงผลดี-ผลเสียต่อราษฎรในพื้นที่ใกล้เคียงที่ไม่ได้รับน้ำจากโครงการ ถึงสภาวะจิตใจของความต้องการโครงการ ความเหมาะสมและถูกต้อง ความจำเป็นต่างๆ ของราษฎร ทั้งนี้โครงการควรที่จะมีเหตุผลต่างๆ และข้อจำกัดของโครงการฯ ต่อการขยายพื้นที่ให้บริการ รวมถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อราษฎร และต่อโครงการฯ ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อโครงการดังกล่าวจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องชี้แจงให้ราษฎรที่ต้องการรับการบริการจากโครงการฯ ทราบถึงเหตุผลพร้อมข้อจำกัดต่างๆ ของศูนย์บริการสูบน้ำด้วยพลังงานจังหวัดร้อยเอ็ด กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน ทั้งนี้เพื่อให้ราษฎรทราบสาเหตุของการไม่ได้รับบริการ และเพื่อลดความขัดแย้งต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต
Other Abstract: Preliminary Environmental Impact Assessment on the Utilization of Electricity as a Pumping Energy for Irrigation system in River Chi Watershed : Case of Amphoe Selapoom, Changwat Roi Et, the preliminary study shows no impact on physical resource, biological resource, Human use values and Quality of life values surround the study area. On the contrary, the water-pumping projects at every station located at Amphoe Selapulm yield advantages in a number of ways. People living in the studied area could use the water for agricultural purposes without having to use natural rain-requirement. This led to the possibility of growing rice twice a year (dry-and wet-season rice). In addition, the projecet also created more development on infrastructures, electric power, water resources for consumption. It could be concluded that the project agricultural development, resulting in higher productivity, eliminating the conflicts between the villagers, resulting in the unity and also created jobs for the local people. However, the problems of this project were the short distance of water delivery and the failure of the settlement of the co-operative of water users. Although this project faced high cost of investment, the production yield obtained was worthwhile. In other words, the production yield was not reduced. The project did not put villagers into debts but higher debts might come from the luxurious lifestyle they spend. This project yields more use of labour force and labour saving devices. Moreover, it caused a higher land price and higher productivity of crops which, inturn, increased the income of the villagers and improved their life quality. From the villagers' point of view, this project still has problems with the structures of main canals, canal linings which were damaged and could not hold the water. The problems caused by either too long-term use of the spillways or the substandard construction according to the standard set up by the Department of Energy Development and Promotion. Therefore, it is recommended that full consideration of project's pros and cons be givent to all the villagers who could not be served by the project, of villagers' needs. Clear explanation of benefits and limitations of the programme to the villagers should be made to prevent any conflicts among them.
Description: รายละเอียดโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า : ข้อกำหนดในการจัดตั้งสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า ; ลักษณะของโครงการ ; การบริการสูบน้ำและการเรียกเก็บค่าบริการ ; การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบในการบำรุงรักษาโครงการ ; การจัดตั้งสหกรณ์ผู้ใช้น้ำ -- การศึกษาผลกระทบของโครงการต่อสิ่งแวดล้อมปัจจุบัน : ทรัพยากรทางกายภาพ : ที่ตั้ง ; ลักษณะภูมิประเทศ ; ลักษณะภูมิอากาศ ; ปฐพีวิทยาและสมรรถนะดิน ; อุทกวิทยาน้ำผิวดิน ; อุทกวิทยาน้ำใต้ดิน ; ทรัพยากรทางชีวภาพ : นิเวศวิทยาบนบก ; นิเวศวิทยาแหล่งน้ำ -- คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ -- คุณค่าต่อคุณภาพชีวิต -- สภาพปัญหาของอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด -- ผลการศึกษาโครงการสูบน้ำด้วยพลังงานไฟฟ้า : กรณี อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด : ความคิดเห็นต่างๆ ของผู้นำท้องถิ่นที่มีต่อโครงการสูบน้ำด้วยพลังงานไฟฟ้า : กรณี อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ; อุปสรรคปัญหาและประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการสูบน้ำด้วยพลังงานไฟฟ้า : กรณี อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ; ความต้องการโครงการสูบน้ำด้วยพลังงานไฟฟ้าของราษฎรในพื้นที่ข้างเคียงที่ยังไม่ได้รับการบริการจากโครงการฯ -- รายละเอียดสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า ถึงปี 2538 -- ระเบียบกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานด้วยการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการขอใช้บริการสูบน้ำจากสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า -- การคิดค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ และการจัดรอบเวรการส่งน้ำ -- ระเบียบสหกรณ์ต่างๆ จำกัด ว่าด้วยการรับฝากเงินและว่าด้วยการรับจ่าย และเก็บรักษาเงิน -- สถานีสูบน้ำในเขตอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1730
Type: Technical Report
Appears in Collections:Env - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
PantawatPrel.pdf22.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.