Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17323
Title: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสนับสนุนของครอบครัวที่ให้แก่ผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อมในเขตภาคใต้ตอนบน
Other Titles: Factors related to family support for older persons with osteoarthritis, upper Southern region
Authors: บุญตา ถาวรวัชรกุล
Advisors: ศิริพันธุ์ สาสัตย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: s_sasat@hotmail.com
Subjects: ผู้สูงอายุ -- การดูแล
ข้อเข่า -- โรค
ข้อเสื่อม
โรคข้อ
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความคาดหวังในคุณภาพการดูแล ทัศนคติในการดูแล แรงจูงใจในการดูแล ความสนใจในการดูแล ค่านิยมในการดูแล กับการสนับสนุนของครอบครัวที่ให้แก่ผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อมในเขตภาคใต้ตอนบน กลุ่มตัวอย่าง 110 คน จากบุคคลในครอบครัวของผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อมที่มารับการรักษาในแผนกคลินิกกระดูกและข้อ งานผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลศูนย์เขตภาคใต้ตอนบน ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัย ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดการสนับสนุนของครอบครัว แบบวัดความคาดหวังคุณภาพในการดูแลของครอบครัวผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อม แบบวัดทัศนคติในการดูแลของครอบครัวผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อม แบบวัดแรงจูงใจในการดูแลของครอบครัวผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อม แบบวัดความสนใจในการดูแลของครอบครัวผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อม และแบบวัดค่านิยมในการดูแลของครอบครัวผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อม ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ มีค่าความเที่ยงจากการคำนวณสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .89, .83, .74, .91, .90 และ.92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน สัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปดังนี้ 1. การสนับสนุนของครอบครัวผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อมในเขตภาคใต้ตอนบนอยู่ในระดับสูง (X̅ = 4.21, SD = .89) 2. ความคาดหวัง ทัศนคติ แรงจูงใจ ความสนใจ และค่านิยมในการดูแลของครอบครัวผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการสนับสนุนของครอบครัวที่ให้แก่ผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อมในเขตภาคใต้ตอนบนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ( r = .563, r = .478, r= .615, r = .620 และ r = .448)
Other Abstract: The purpose of this descriptive research were to examine the relationships between factors related to expect for caring, attitude to care, motivation in caring, interested in caring, and value in caring and social support for older persons in osteoarthritis. Subject consisted of 110 family members of older people with osteoarthritis from general hospital and central hospital in upper southern region. The simple random sampling technique was applied. Data were collected using seven instruments: demographic data, social support, expect for caring, attitude to care, motivation in caring, interested in caring, and value in caring questionnaires. The instruments were tested for content validity by a panel of experts. The reliability of instruments were .89, .83, .74, .91, .90 and .92 respectively. Data were analyzed using Contingency Coefficients. Major findings were as follows : 1. The social support of older persons in osteoarthritis were at high level (X̅ = 4.21, SD= .89) 2. The expectation for caring, attitude to care, motivation in caring, interested in caring, and value in caring were positively significant related to social support in older persons with osteoarthritis at the level of .05( r= .563,r= .478, r= .615, r=.620, and r=.448 respectively )
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17323
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1198
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.1198
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
boonta_ta.pdf1.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.