Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1733
Title: ความสัมพันธ์ของปริมาณโลหะหนักในกากตะกอนกับประสิทธิภาพการบำบัดของโรงบำบัดน้ำเสียสี่พระยา
Authors: ธเรศ ศรีสถิตย์
ปัทมาพร ยอดสันติ
อนันต์ วีระณรงค์
Email: Thares.S@chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: โรงบำบัดน้ำเสียสี่พระยา
น้ำเสีย--การบำบัด
โลหะหนัก
กากตะกอนน้ำเสีย
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพัธ์ระหว่างประสิทธิภาพการบำบัดในด้านการลดค่า BOD ของน้ำเสียกับปริมาณแคดเมียม ตะกั่ว ปรอทในกากตะกอนจากโรงบำบัดน้ำเสียสี่พระยา โดยพิจารณาจากลักษณะทางกายภาพและเคมีของน้ำเสีย (pH ความสกปรกในรูปของ BOD COD ประสิทธิภาพการบำบัดในด้านการลดค่า BOD ปริมาณของแข็งแขวนลอยปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายน้ำได้ ปริมาณแคดเมียม ตะกั่ว และปรอทน้ำเสียก่อนและหลังบำบัด) เพื่อสร้างสมการเส้นตรงในการทำนายปริมาณแคดเมียม ตะกั่ว และปรอทในกากตะกอน รวมทั้งศึกษาลักษณะสมบัติทางกายภาพและเคมีของกากตะกอน เพื่อนำกากตะกอนจากโรงบำบัดน้ำเสียไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม โดยการเก็บตัวอย่างน้ำเสียจำนวน 27 ตัวอย่าง และตัวอย่างกากตะกอน 27 ตัวอย่าง ที่โรงบำบัดน้ำเสียสี่พระยา ทุกๆ 7 วัน ติดต่อกัน ผลการศึกษาพบว่า ทีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ P<0.05 สมการเส้นตรงที่ใช้คาดการณ์ปริมาณแคดเมียม ตะกั่ว และปรอทในกากตะกอน ได้แก่ Y[subscript cd] = 0.010TDS - 3.267 Y[subscript Pb] = 0.0432 - 98.952Pb[subscript eff] + 0.0018SS และ Y[subscript Hg] = 0.463pH - 3.11 ตามลำดับ ซึ่งสามารถใช้ได้เฉพาะโรงบำบัดน้ำเสียสี่พระยาเท่านั้น ในกรณีที่ต้องการทราบค่าปริมาณโลหะหนัก (Cd, Pb และ Hg) ที่อยู่ในกากตะกอน กากตะกอนจากโรงบำบัดน้ำเสียสี่พระยามีความเหมาะสมในการเกษตรกรรม เพราะมีอินทรีย์วัตถุและธาตุอาหารสูงและมีโลหะหนักอยู่ในระดับต่ำ ปริมาณโลหะหนักทั้งสาม (แคดเมียม 3.27 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตะกั่ว 1.00 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และปรอท 0.51 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และปรอท 0.51 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) ชนิดในกากตะกอนอยู่ในระดับที่ยอมให้มีได้ในดินที่ใช้ในการเกษตรกรรมของกลุ่มประเทศในยุโรป (แคดเมียม 1.0-3.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตะกั่ว 100-550 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และปรอท 0.3 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม)
Other Abstract: The objective of this research is to study relationship between removal efficiency and some heavy metal contents in sludge from Sri Phraya Wastewater Treatment Plant with respect to physical and chemical properties (pH, BOD, COD, removal efficiency, SS, TDS cadmium, lead and mercury). Multipe linear regression is used to establish correlational equation for forecasting some heavy metals contents in sludge. In order to suggestion the feasible utilization of sludge from the municipal wastewater treatment plant, therefore sludge characteristics was analyzed, eg pH, moisture content, volatile solid, ash content, heating value, sulfur, nitrogen, phosphorus, potassium, organic matter, organic carbon, cadmium, lead and mercury. Totally 27 wastewater samples and 27 sludge samples are collected from Sri Phraya Wastewater Treatment Plant in each 7 days per sample. Results shown that at P-value < 0.05 cadmium, lead and mercury contents in sludge significantly related with some physical and chemical wastewater characteristics. The correlational equations are Y[subscript Cd] = 0.0101TDS - 3.267, Y[subscript Pb] = 0.0432 - 98.952Pb[subscript eff] + 0.0018SS and Y[subscript Hg] = 0.4623pH - 3.11 respectively. Sludge from Sri Phraya Wastewater Treatment plant is considered suitable for agriculture because of high organic matter and low of some heavy metals contamination. The level of cadmium (3.27 mg/kg) lead (1.00 mg/kg) and mercury (0.51 mg/kg) contaminated in sludge is low and is in allowable level of soils criteria which declared by the European countries (cadmium 1.0 - 3.5 mg/kg, lead 100 - 500 mg/kg and mercury 0.3 mg/kg).
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1733
Type: Technical Report
Appears in Collections:Env - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thares(rem).pdf8.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.