Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17406
Title: การวิเคราะห์ความคิดเรื่องมนุษย์ตามทัศนะของเตยารด์ เดอ ชาร์แดง
Other Titles: An analysis of Teilhard De Chardin's concept of man
Authors: พรศิริ เจริญฉันทวิทย์
Advisors: กีรติ บุญเจือ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: มนุษย์
ชาร์แดง, เตยารด์ เดอ
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เตยาร์ดได้พยายามประสานความคิดทางปัญญาของเขา ซึ่งพอจะแบ่งได้เป็น 3 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้ ขั้นแรก คือระดับของความคิดที่เป็นปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์ เป็นวิวัฒนาการทางกายภาพ ความคิดเช่นนี้ไม่ขึ้นกับวิวรณ์ทางศาสนาแต่เป็นความพยายามที่มีพื้นฐานจากข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ เขาพบว่า วิวัฒนาการมีทิศทางไปสู่ขั้นสูงกว่าของความซับซ้อนทางวัตถุ มีการจัดระเบียบไปสู่ขั้นที่สูงกว่าของความสำนึก ยิ่งกว่านั้นเขาพบว่าวิวัฒนาการเป็นการมุ่งไปสู่จุดศูนย์กลางที่มีสภาพเป็นบุคคล จักรวาลจึงมีโครงสร้างและทิศทาง เป็นวิวัฒนาการตามกฎ “ความซับซ้อนของความสำนึก” ในทิศทางของการทำให้เป็นจิตที่สูงกว่าไปสู่จุดศูนย์กลางที่มีสภาพเป็นบุคคล ขั้นที่ 2 คือ การใช้ข้อมูลจากการเปิดเผยของพระเจ้าทางคัมภีร์ไปสู่การใช้เหตุผลอธิบายคริสตศาสนาว่าเป็นเรื่องเดียวกับคริสตวิทยา ในขั้นนี้วิวัฒนาการที่มุ่งไปสู่ศูนย์กลางที่มีสภาพเป็นบุคคลนั้นเขาหมายถึงความเป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสต์ผู้อวตารมาเป็นมนุษย์ จักรวาลทั้งหมดเป็นวิวัฒนาการมุ่งตรงสู่พระคริสต์ เตยาร์ดพิจารณาเทววิทยาว่าพระคริสต์มีคุณาเป็นจักรวาล เตยาร์ดคิดว่าความคิดเช่นนี้ตรงกับคำสอนของเซนต์ปอลและเซนต์ยอห์น และเทววิทยาของปิตาจารย์กรีกแห่งศาสนจักร ขั้นที่ 3 เตยาร์ดหมายถึงศีลธรรมแง่บวก รหัสธรรมของพระคริสต์และความพยายามของมนุษย์ ซึ่งมีพื้นฐานจากคริสตวิทยา ในขั้นนี้พระคริสต์เป็นจุดสุดยอดของวิวัฒนาการของจักรวาล จากข้อเท็จจริงนี้คุณค่าที่เหนือธรรมชาติของความพยายามของมนุษย์ที่สำเร็จในพระคริสต์ก็กระจ่างขึ้นว่าทางไปสวรรค์เป็นการสร้างโลกให้สมบูรณ์กว่าที่จะสำนึกว่าสวรรค์เป็นสิ่งที่ต้องเข้าถึง ทั้งหมดนี้ควรเป็นทัศนคติพื้นฐานที่สุดของคริสตชนโดยไม่ทิ้งประเพณีเดิม แต่ทำให้ประเพณีเดิมเป็นพลวัตมากขึ้น งานวิจัยนี้จะมีการวิจารณ์ข้อบกพร่องของเตยาร์ดในเรื่องต่างๆ เช่น เรื่องบาปกำเนิด เปลโรมาและการเสด็จมาครั้งที่สองของพระคริสต์ อย่างไรก็ตามความคิดของเตยาร์ดในเรื่องศีลมหาสนิท เรื่องพระคริสตศาสนจักรและเรื่องการทำงานก็เป็นความคิดสร้างสรรค์ และมีคุณค่าแก่การศึกษาให้ลึกซึ้งเพื่อนำไปปฏิบัติให้เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน งานวิจัยต่อไปควนค้นคว้าโดยขยายความและวิเคราะห์หัวข้อต่างๆ ในงานวิจัยนี้แต่ละหัวข้อ นอกจากนั้นน่าจะแสดงหาวิธีตีความพระคัมภีร์ให้เหมาะกับสังคมปัจจุบันมากขึ้นด้วย
Other Abstract: Teilhard de Chardin's lifetime effort to work out the synthesis intellectually falls into three steps of phases:- The first phase or level of his thought is a sort scientific phenomenology especially about evolution. This part of this though does not depend on reevaluation but is an attempt to formulate a general theory of evaluation, an attempt based on scientific data. He finds that evolution has a direction, toward higher degree of material complexity, of organization and toward correspondingly higher degrees of consciousness. Further, he finds that evolution is converging toward some already existing center that is somehow personal. The Universe, then, has a structure and a direction, it is evolving according to a law of "Complexity consciousness" in the direction of greater spiritualization toward a point, a center, that is somehow already in being and that is somehow personal. In a second phrase of his thought, Teilhard uses the data of revelation to construct of Christian apologetic that is at the same time a christology the personal center toward which evolution is converging with incarnating Christ. Teilhard considers his theology of Christ, of a Christ who has attributes that are cosmic. This thought is in striking harmony with the most fundamental texts of St. Paul and St. John and with the theology of the Greek Fathers of the Christ. At a third level, Teilhard outlines a positive morality, a Christian mystic of human conquest. He bases this mystic of human conquest directly on his Christology. Christ is the summit of the evolution of the universe. From that fact, the supernatural value of human effort carried out in Christ is clear. The most direct route to heave is through the building up of the world, a world larger and more than that heaven is to be attained. Because this is true, the most fundamental Christian attitudes, without deviating from tradition, are enriched and made much more dynamic. This thesis criticizes some weak points in Teilhard 's thought such as "Original Sin", "Pleroma" and "The Second Coming of Christ". His viewpoints, however, about the Eucharist, the Church and human work are so creative, valuable and worthy of studying that Christians may put them into practice in their daily lives. For further theses, I should like to suggest an extending of each subject in this thesis. Moreover, we should find out the new ways to interpret the Holy Bible so that we may put them into practice according to the need of to-day society.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ปรัชญา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17406
ISBN: 9745622729
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pornsiri_Ja_front.pdf288.73 kBAdobe PDFView/Open
Pornsiri_Ja_ch1.pdf215.16 kBAdobe PDFView/Open
Pornsiri_Ja_ch2.pdf464 kBAdobe PDFView/Open
Pornsiri_Ja_ch3.pdf764.95 kBAdobe PDFView/Open
Pornsiri_Ja_ch4.pdf734.65 kBAdobe PDFView/Open
Pornsiri_Ja_ch5.pdf675.62 kBAdobe PDFView/Open
Pornsiri_Ja_ch6.pdf448.47 kBAdobe PDFView/Open
Pornsiri_Ja_ch7.pdf313.39 kBAdobe PDFView/Open
Pornsiri_Ja_back.pdf514.48 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.