Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17431
Title: การกำหนดราคาสินค้าโดยรัฐบาล : ทฤษฎี ประสบการณ์ และข้อเสนอแนะสำหรับประเทศไทย
Other Titles: Government price fixing : theory, experience and suggestion for Thailand
Authors: พร้อมจิต ศักดิ์พันธ์พนม
Advisors: อรัญ ธรรมโน
บุญยง ทิพยโส
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ราคา -- ทฤษฎี
สินค้า -- ราคา
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ประเทศแทบทุกประเทศในโลกรวมทั้งประเทศไทย กำลังประสบกับปัญหาภาวะเงินเฟ้อรุนแรง และในขณะเดียวกันก็ประสบภาวะเศรษฐกิจชะงักงันด้วย ในการกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ รัฐบาลของประเทศต่างๆ ต้องระวังว่า จะไม่ทำให้ภาวะเงินเฟ้อรุนแรงขึ้นไปอีก มาตรการแก้ไขภาวะเงินเฟ้อที่สำคัญมี 3 มาตรการ คือ มาตรการทางการเงิน มาตรการทางการคลัง และมาตรการเข้าควบคุมโดยตรง แต่จากที่ภาวะเงินเฟ้อมีความรุนแรงมาก การใช้มาตรการทางการเงินและการคลังเข้าแก้ไข ก็อาจจะก่อให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจชะงักงันและการว่างงานอย่างกว้างขวางได้ รัฐบาลจึงต้องหันไปใช้มาตรการการควบคุมราคาสินค้าโดยตรงด้วย ซึ่งในระยะยาวมักจะมีผลเสียมากกว่าผลดี วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ได้เขียนขึ้นจากประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในประเทศไทยอันสืบเนื่องมาจากการกำหนดราคาสินค้าโดยรัฐบาล กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดราคาสินค้ามีด้วยกันหลายฉบับ แต่การเขียนนั้นได้เน้นเฉพาะกฎหมายการกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด พ.ศ. 2522 เนื่องจากรัฐบาลได้อาศัยกฎหมายฉบับนี้ในการกำหนดราคาสินค้าในปัจจุบัน นอกจากนั้น ผู้เขียนได้กล่าวถึงหลักเกณฑ์ในการกำหนดราคาสินค้าที่รัฐบาลได้กำหนดขึ้นไว้เป็นแนวทางปฏิบัติซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ง่ายๆ แต่ในการปฏิบัตินั้นมีข้อจำกัดและมีความยุ่งยากซับซ้อน อันก่อให้เกิดความไม่มั่นใจแก่ผู้ลงทุนและยากลำบากแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง อนึ่ง สินค้าที่รัฐบาลเข้าไปควบคุมนั้น โดยทั่วไปถือว่าเป็นสินค้าที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพและมีจำนวนมากมายหลากหลายประเภท ผู้เขียนจึงได้เลือกเฉพาะประเภทที่สำคัญกระทบกระเทือนภาวะเศรษฐกิจ และสามารถเป็นตัวอย่างเด่นเห็นได้ชัดขึ้นมาศึกษาเป็นกรณีตัวอย่างเพียง 3 ประเภท อันได้แก่ ปูนซีเมนต์ น้ำตาลทราย น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันปิโตรเลียม จากการศึกษาวิจัยสินค้าแต่ละประเภทนั้น อาจกล่าวได้ว่า การกำหนดราคาสินค้าโดยรัฐบาล เพื่อหวังมิให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่ได้รับความเดือดร้อนนั้น มีผลทำให้รัฐบาลได้รับคะแนนนิยมจากประชาชนในระยะแรกเริ่ม ส่วนในระยะยาวนั้นมีผลเสียมากมาย การตรึงราคาสินค้าโดยไม่สอดคล้องกับกลไกของราคามักก่อให้เกิดการบริโภคอย่างฟุ่มเฟือย ประเทศต้องสูญเสียเงินเป็นจำนวนมหาศาล ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในสังคมมากขึ้น และธุรกิจอุตสาหกรรมที่ถูกควบคุมจะไม่มีการขยายเพิ่มกำลังการผลิต หรือการลงทุนเพิ่มขึ้นใหม่ เนื่องจากหวั่นเกรงว่าจะประสบกับภาวะการขาดทุน ซึ่งมีผลทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนอันส่งผลให้เกิดตลาดมืด และเป็นการส่งเสริมให้มีระบบการผูกขาดให้เกิดขึ้นในธุรกิจโดยปริยาย อนึ่ง การควบคุมราคาสินค้าโดยรัฐบาลเป็นการแก้ไขที่ปลายเหตุ จึงเป็นปัญหาเรื้อรังจนถึงปัจจุบันประกอบกับการทำงานของรัฐบาลขาดระบบที่ดี ไม่มีการวางแผนระยะยาว ขาดการติดตามผลงาน จึงเป็นช่องทางก่อให้เกิดคอรัปชั่นขึ้นได้อย่างแพร่หลาย นอกจากนั้นการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลบ่อยครั้ง เป็นเหตุให้นโยบายต่างๆ ไม่มีความต่อเนื่องนักธุรกิจจึงไม่อาจคาดนโยบายได้ถูกต้อง ธุรกิจที่ถูกควบคุมนั้นๆ จึงเติบโตได้ช้าหรือเกือบไม่มีความเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นเลยก็ว่าได้ ผลเสียต่างๆ ที่เกิดขึ้นจึงตกอยู่กับผู้บริโภคในที่สุด ดังนั้นรัฐบาลควรส่งเสริมให้มีการค้าโดยเสรี จะเข้าไปควบคุมก็ต่อเมื่อเห็นว่าอาจจะเกิดวิกฤตการณ์อันร้ายแรง หรือทำเพื่อช่วยเหลือคนยากจนโดยตรงเท่านั้น ถ้ารัฐบาลมีความจำเป็นต้องควบคุมราคาโดยตรง เพราะสินค้านั้นๆ ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติแล้ว รัฐควรมีหลักการที่ดีกว่าที่ได้กระทำอยู่ในปัจจุบันนี้ ในตอนท้ายของวิทยานิพนธ์เล่มนี้ ได้มีข้อเสนอแนะแก่รัฐบาลอันจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อประเทศชาติโดยส่วนรวม ในขณะที่เกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจเช่นที่กำลังประสบอยู่ในขณะนี้
Other Abstract: Most countries in the world including Thailand are facing severe inflationary pressure and at the same time facing economic stagnation. In order to encourage economic growth the government must avoid creating further inflationary pressure. There are three important measures which can be used to combat inflation, namely, monetary policy, fiscal policy and direct control. During the time of high inflation, using monetary or fiscal policies may create more economic stagnation and wide spread unemployment, so the government may be persuade to use direct control measures which unfortunately create more harm than god in the long-run. The thesis is written from experiences faced by Thailand in governmental price fixing. There are many laws concerning price fixing but this thesis will emphasize only PRICE FIXING AND ANTIMONOPOLY ACT, B.E. 1979, because the government is using this act in fixing prices at present. The author mentions the principles which the government set-up in fixing prices. These principles are simple to understand but have many restrictions as well as limitations, and are quite complicated which caused uncertainties for investors and difficulties for government officials involved. Goods subjected to price fixing are usually necessities. As there are many kinds of goods subjected to price fixing, therefore the author selected only three commodities, namely, cement, sugar and petroleum products. In selecting these commodities, the author believes that they can be good exams and have wide ranging effects on the economy. From this study, it can be said that the only advantage for government price fixing is to increase government popularity during the initial period, but there are many disadvantages in the long-run. Price fixings which does not take price mechanism into consideration usually causes excessive consumption, considerable loss of income for the country, more social and economic inequality, while the industries concerned dare not increase productive capacity or make new investment, because of the losses that might be involved. Usually price fixing causes scarcity of goods which leads to black market and tends to create monopolistics condition in the country. Governmental price fixing is one way of solving problems without looking into the real causes, so it cannot really eliminate the problems efficiently. Moreover, the operational systems of government agencies generally lack efficiency, long-term planning, and following-up. This deficiency may encourage widespread corruptions. Besides, the frequent changes of governments lead to lack of continuous policy and make it more difficulty for business to foresee what will be the next government policy. It is also more difficult for the controlled business to expand, so finally all the disadvantages become a burden to consumers. Therefore, the government should encourage free trade system, and use price fixing measure only when crisis is eminent or it is critical to help the poor. If it is necessary for the government to use price fixing measure, the government should use better measure and system than what prevail at present. At the end of this thesis, the author offers suggestions that will be very useful for the country in the time of economic crisis.
Description: วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: บัญชีมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบัญชี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17431
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Promchit_Sa_front.pdf317.67 kBAdobe PDFView/Open
Promchit_Sa_ch1.pdf391.82 kBAdobe PDFView/Open
Promchit_Sa_ch2.pdf717.31 kBAdobe PDFView/Open
Promchit_Sa_ch3.pdf498.68 kBAdobe PDFView/Open
Promchit_Sa_ch4.pdf697.79 kBAdobe PDFView/Open
Promchit_Sa_ch5.pdf835.16 kBAdobe PDFView/Open
Promchit_Sa_ch6.pdf675.83 kBAdobe PDFView/Open
Promchit_Sa_ch7.pdf330.28 kBAdobe PDFView/Open
Promchit_Sa_back.pdf258.73 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.