Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17481
Title: ปัญหาและความต้องการสื่อการสอนวิชาชีววิทยา สำหรับหลักสูตรสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Problems and needs of biological instructional media for the curriculum of the institute for the promotion of teaching science and technology in upper secondary schools in Bangkok Metropolis
Authors: นงลักษณ์ จำปาเทศ
Advisors: สุนทร ช่วงสุวนิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ศูนย์โสตทัศนศึกษา
Issue Date: 2522
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความมุ่งหมาย เพื่อศึกษาเกี่ยวกับปัญหาและความต้องการของครูและนักเรียน เกี่ยวกับการใช้สื่อการศึกษา และสำรวจคุณภาพและประสิทธิภาพของสื่อการศึกษาวิชาชีววิทยาหลักสูตรสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิธีดำเนินการวิจัย ในการวิจัยครั้งนี้ได้เลือกกลุ่มตัวอย่างจากครูและนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนในกรุงเทพมหานคร 36 โรงเรียน เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง โดยแจกให้ครู 72 ฉบับ และนักเรียน 720 ฉบับ ได้กลับคืนมาอย่างสมบูรณ์ 628 ฉบับ เป็นของครู 54 ฉบับ และของนักเรียน 574 ฉบับ ค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ͞ x และ S.D. ผลการวิจัย 1. คู่มือครูมีปัญหาในด้านความรู้เพิ่มเติม, แนวทางตั้งคำถาม, หนังสืออ่านเพิ่มเติม และเทคนิคในการใช้อุปกรณ์พิเศษมีปริมาณน้อยเกินไป 2. หนังสือแบบเรียนมีปัญหาในด้านเนื้อหาไม่ตรงความสนใจของนักเรียน ซ้ำซ้อน สรุปไม่ชัดเจน อธิบายวกวนไม่เป็นลำดับ การทดลองและแบบฝึกหัดมีปริมาณ และการจัดแบ่งไม่เหมาะสม และไม่น่าสนใจ เพราะง่ายเกินไป และไม่บอกจุดมุ่งหมายของการทดลอง 3. ปัญหาด้านสื่อการสอน คือ จำนวนอุปกรณ์ไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียนและเนื้อหา ผู้สอนไม่ค่อยใช้เครื่องมือโสตทัศนูปกรณ์ เพราะโรงเรียนไม่มีเครื่องมือโสตทัศนูปกรณ์ และเบิกเครื่องมือโสตทัศนูปกรณ์ลำบาก 4. สาเหตุที่ทำให้นักเรียนไม่ค่อยได้ทำการทดลอง เพราะอุปกรณ์ไม่พอ ทำการทดลองแล้วไม่ได้ผล อุปกรณ์ชำรุดต้องชดใช้หรือโดนตัดคะแนน สถานที่ไม่อำนวย เสียเวลาไม่คุ้มกับผลการทดลอง อุปกรณ์มีสภาพไม่สมบูรณ์เรียนไม่ทัน การทดลองง่ายเกินไป และการทดลองบางการทดลองต้องใช้เวลารอผลนานเกินไป 5. ครูต้องการให้คู่มือครูอำนวยความสะดวกในด้านเนื้อหา การตั้งคำถาม ภาษา และการอธิบายเหตุผล อุปกรณ์ทดแทน และเทคนิคในการทดลอง 6. ครูและนักเรียนต้องการให้ปรับปรุงหนังสือแบบเรียนให้มีเนื้อหา กิจกรรม เหมาะสมและมีการจัดแบ่งเนื้อหา และกิจกรรมให้สมดุลกันในแบบเรียนชีววิทยาทั้ง 4 เล่ม 7. อุปกรณ์การทดลองเฉพาะมีคุณภาพ และประสิทธิภาพอยู่ในระดับปานกลาง ข้อเสนอแนะ 1. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจัดให้มีการสัมมนาเกี่ยวกับปัญหา และความต้องการของครูและนักเรียน เกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชาชีววิทยา 2. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ควรปรับปรุงคู่มือครูและแบบเรียนชีววิทยาใหม่ทั้งด้านเนื้อหา และกิจกรรม 3. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ควรออกต้นแบบอุปกรณ์การทดลองให้มีความคงทนถาวร มีประสิทธิภาพมากกว่าที่เป็นอยู่ 4. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ควรออกเป็นข่าวสาร การค้นคิด และความรู้ใหม่ๆ ออกเป็นรายเดือน เพื่อให้ครูมีความรู้ทันกับความเป็นจริง 5. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ควรเป็นศูนย์บริการเครื่องมือโสตทัศนศึกษา สื่อการสอน และอุปกรณ์การสอน เพื่อแก้ปัญหาให้กับโรงเรียนที่ขาดแคลนอุปกรณ์
Other Abstract: Purpose: The first, to study problems and needs of teachers and students in using instructional media. Secondly, to study the quality and efficiency of instructional media in teaching biology. Procedure: The samples were teachers and students in 36 upper secondary schools in Bangkok Metropolitan. Questionnaires were distributed to 72 teachers and 720 students. The returned questionnaires from two categories were 54 and 574 respectively. The questionnaires were then tabulated and analyzed by means and standard deviations. Findings: 1. Most biological teachers thought that the teacher guide were less in the content, questions, references and techniques in using special media. 2. Most teachers and students thought that the textbooks were not interesting. 3. The problem in using instructional media was lack experimental materials. 4. The students did not often experiment because of failure in the beginning experiment, avoidance in breaking instruments and in convenient to experiment. 5. Most teachers required the teacher guide to provide more facilities in contents, questions, language, explanation and techniques in experiment. 6. Most teachers and students required to improve textbooks to have suitable contents and activities in all four textbooks. 7. The special experimental materials had the quality and efficiency in the fair level. Suggestions: 1. The Institute for Promotion of Teaching Science and Technology should provide a seminar of the problems and needs in teaching and studying biology. 2. The Institute for Promotion of Teaching Science and Technology should improve teacher guide and the biological textbooks in both contents and the activities. 3. The Institute for Promotion of Teaching Science and Technology should design the experimental materials to be better quality and efficiency 4. The Institute for Promotion of Teaching Science and Technology should publish modern informations, discoveries and technological advances monthly. 5. The Institute for Promotion of Teaching Science and Technology should be the center of instructional media service to solve the problems for material-lacked schools.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17481
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nonglak_Ch_front.pdf360.95 kBAdobe PDFView/Open
Nonglak_Ch_ch1.pdf548.29 kBAdobe PDFView/Open
Nonglak_Ch_ch2.pdf429.07 kBAdobe PDFView/Open
Nonglak_Ch_ch3.pdf269.2 kBAdobe PDFView/Open
Nonglak_Ch_ch4.pdf632.44 kBAdobe PDFView/Open
Nonglak_Ch_ch5.pdf429.42 kBAdobe PDFView/Open
Nonglak_Ch_back.pdf586.91 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.