Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17608
Title: ทรรศนะเรื่องการติดข้อง และความหลุดพ้นในปรัชญาเชน
Other Titles: The concept of bondage and liberation in Jaina Philosophy
Authors: พัชราภรณ์ คชสังข์สีห์
Advisors: วิจิตร เกิดวิสิษฐ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ปรัชญาอินเดีย
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ทรรศนะเรื่องความหลุดพ้นและการติดข้องเป็นปัญหาที่สำคัญในปรัชญาอินเดีย และมีคำอธิบายในแต่ละระบบแตกต่างกัน ปรัชญาเชนเป็นระบบหนึ่งที่มีความแตกต่างจากระบบอื่นและมีลักษณะพิเศษเป็นของตนเอง การเข้าใจปัญหานี้ได้จะทำให้เข้าใจคำสอนที่เป็นหลักสำคัญหรือที่เป็นหัวใจของปรัชญาเชนได้อย่างแจ่มแจ้ง ทรรศนะทางอภิปรัชญาของเชนมีลักษณะเป็นทวินิยมคือ ถือว่าอันติมสัจจะมี ๒ อย่าง คือ ชีวะหรือสิ่งมีสำนึก (consciousness) และสิ่งไร้สำนึกหรือสสาร (non-consciousness or matter) ซึ่งเรียกว่าอชีวะ ชีวะในสภาพดั้งเดิมนั้นบริสุทธิ์ ความติดข้องเกิดขึ้นเนื่องจากการมาผูกพันกับอชีวะนี้ ชีวะต้องมามัวหมองและสูญเสียความบริสุทธิ์ดั้งเดิมไปก็ด้วยอนุภาคของกรรม ตามทรรศนะของเชนนั้นกรรมคือ วัตถุ (ปุทคละ) มีลักษณะเป็นอนุภาคหรืออณูซึ่งละเอียดมาก สาเหตุที่ทำให้ชีวะบริสุทธิ์ต้องมาติดข้องด้วยอนุภาคของกรรมคือ อวิชชา ซึ่งหมายถึงความไม่รู้จริงในธรรมชาติของชีวะ ทำให้เกิดกิเลสซึ่งเรียกว่า กษายะ กษายะมี ๔ อย่างคือ โลภะ (ความโลภหรือความอยากได้) โกรธะ (ความโกรธ) มานะ (ความถือตัว) และมายา (ความหลง) กษายะนี้เองที่เป็นตัวดึงดูดอนุภาคของกรรมให้เข้าไปแทรกซึมติดอยู่กับชีวะ ทำให้ชีวะต้องมีสภาพติดข้องซึ่งเรียกว่า พันธะ สภาพของชีวะในลักษณะนี้จะต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏเป็นสภาพแห่งความทุกข์ ดังนั้นจุดมุ่งหมายสูงสุดในชีวิตจึงมิใช่เพียงเพื่อการกระทำดี เพราะการกระทำดีก็ยังส่งผลให้เกิดอนุภาคของกรรมดี ซึ่งทำให้เกิดสภาพที่มีความสุขทางโลก แต่ก็มิใช่ความสุขที่แท้จริง เพราะชีวะยังต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกและอาจพลั้งพลาดไปสร้างกรรมชั่วได้อีก วิถีทางที่ถูกต้องก็คือการให้ชีวะได้กลับไปมีสภาพสมบูรณ์และบริสุทธิ์ดังเดิม ซึ่งหมายถึงการแยกชีวะออกจากอนุภาคของกรรมให้ได้อย่างเด็ดขาด เมื่อชีวะเป็นอิสระอย่างเด็ดขาดเช่นนี้แล้ว ชีวะก็ได้บรรลุถึงความหลุดพ้นหรือโมกษะอันเป็นจุดหมายอันประเสริฐและสูงสุดของชีวิต วิถีทางที่จะปฏิบัติให้เข้าถึงความหลุดพ้นนั้น จะต้องเริ่มจากการมีศรัทธาชอบ (สัมยัคทรรศนะ) ต้องมีความรู้ชอบ (สัมยัคชญาน) และความประพฤติชอบ (สัมยัคจาริตร) พร้อมกันไป ทั้งหมดนี้รวมเรียกว่ารัตนตรัยของเชน ขั้นต่อจากนี้ผู้ปฏิบัติต้องขจัดอนุภาคของกรรมให้หมดสิ้นจากชีวะ ด้วยวิธีการปิดกั้นอนุภาคของกรรมใหม่ภายนอกมิให้หลั่งไหลแทรกซึมเข้าสู่ชีวะ การประพฤติปฏิบัติตนให้อยู่ในกฎข้อบังคับที่สำคัญของศาสนาอย่างเคร่งครัด มีการรักษาพรตซึ่งประกอบด้วยพรตสำคัญ ๕ ประการคือ อหิงสา (การไม่เบียดเบียน) สัตยะ (การพูดความจริง) อัสเตยะ (การไม่ขโมยหรือหยิบสิ่งของที่เจ้าของมิได้ออกปากอนุญาต) พรหมจรยะ (การรักษาพรหมจรรย์) และอปริครหะ (การไม่ติดข้องในสิ่งทั้งปวง) และพรตรอง ๗ ประการคือ คุณพรต ๓ และศึกษาพรต ๔ พรตทั้งหมดนี้เป็นข้อปฏิบัติเพื่อรักษาและสนับสนุนมหาพรต ๕ ประการ การรักษาพรตดังกล่าวแม้จะสามารถปิดกั้นมิให้อนุภาคของกรรมใหม่หลั่งไหลเข้าไปแทรกซึมติดอยู่กับชีวะได้ แต่ก็ไม่สามารถทำลายอนุภาคของกรรมเก่าให้หมดไปโดยเร็วได้ ดังนั้นจึงต้องมีการทำลายกรรมเก่าให้หมดสิ้นไปด้วยการบำเพ็ญตบะ เมื่อชีวะสามารถทำลายอนุภาคของกรรมเก่าได้หมดแล้ว ชีวะก็จะหลุดพ้นจากอนุภาคของกรรม และหลุดพ้นจากการผูกพันกับวัตถุทั้งปวงกลับไปสู่สภาพบริสุทธิ์ดั้งเดิมอีก ในสภาพนี้เองที่เรียกว่าโมกษะ ผู้ที่บรรลุโมกษะแล้วจะเป็นผู้ที่มีการพัฒนาการทางจิตใจถึงขั้นสูงสุดคือขั้นที่ ๑๔ ซึ่งเรียกว่า อโยคเกวลิ-คุณสถาน ซึ่งเมื่อตายแล้วชีวะที่บรรลุโมกษะนี้จะลอยขึ้นสู่เบื้องสูง และไปพำนักอยู่ที่สุทธศิลาซึ่งเป็นที่สุดของโลกากาศ ชีวะในสภาพดั้งเดิมนี้จะสามารถรู้แจ้งถึงพลังเดิมอันมีอยู่ภายในตน และได้บรรลุถึงความสมบูรณ์ ๔ ประการคือ มีความเห็นอันหาที่สุดมิได้ มีความรู้อันหาที่สุดมิได้ มีอำนาจอันหาที่สุดมิได้ มีความสุขอันหาที่สุดมิได้ ชีวะนี้จะดำรงอยู่ชั่วนิรันดร ไม่มีการเสื่อมสลาย
Other Abstract: The concept of Bondage and Liberation is the very important problem in Indian Philosophy. In each system appears varied the explanation of this concept. To master this contributes much to understanding the core of Jainism. Dualistic is it that the Metaphysical concept of Jainism advocates two kinds of the ultimate reality: Jiva (the conscious) and Ajiva (the unconscious). The primal nature of Jiva has been pure. But Jiva tainted itself because of Ajiva at the unknown point of time. From then on it has become impure and lost its primal status because of Karmic particles. According to Jainism, Karmas are nothing but the matter called Pudgala. They are atomic and subtle in general features. The important cause of bondage is Avidya or Ignorance that attracts the Karmic particle into Jiva. This cause hidden in Jiva brings about defilements further called Ksãyas which are of four kinds: Lobha (avarice), Dvesa (hatred), Mãna (conceit) and Mãya (illusion). It is obvious here that Ksãyas are nothing but the real cause that attracts the Karmic particles into Jiva. Such phenomenon is called bondage and it is because of this fact that Jiva has to be tied with the cycle of rebirths. This is the suffering-unbearable condition. So the ultimate aim of life is not to do good only. This is because to do good as such yields good fruit which is the lower happiness uncomparable to the highest one. The reason for this is that Jiva as such has to reap fruit within the circle of rebirths. Again it may be tempted and then fall into the evil action and condition undesirably. The right way is to raise Jiva up to the primal status. This refers to the separation of Jiva from the Karmic particles once and for all. By following the way mentioned above, the Jiva would attain its former purity and this is called Liberation or Moksa which is the Sumum bonum of life. The following are the ways leading to the Liberation: The first step: the aspirants begin with Right Faith (samyakdarsna), Right Knowledge (samyakjñana) and Right Conduct (samyakcaritra). These are called the three jewels (ratana traya) of Jainism. The second step: the aspirants have to try to eradicate the Karmic particles within Jiva through Samvara which is the way of Impelling new Karmic outside. These are based on controlling himself strictly under the religious disciplines, namely, Ahimsa (non-violence), Satya (truth-holding), Asteya (non-stealing), Brahmacarya (the vow of chastity). These are called Mahãvrata (great vows). Another vows that should be practiced together with the great vows is called Silavratas: 3 Guna Vrata and 4 Siksa Vrata. The aim of Silavratas is to protect and promote Mahãvrata. Though all of these Vratas can prevent Karmic particles outside from overflowing into Jiva, yet they cannot destroy all of old Karmic particles inherent in it. So it is necessary for the aspirant to destroy these Karmic particles through austerities. After having destroyed old Karmic particles completely, Jiva attains freedom without all kinds of Karmic particles. Its bondage of matter is a sundered and then Jiva now regains the primal status again. This is called Moksa or the Liberation. Those who have attained this status have passed the various stages of mental development up to the highest 14th level called Ayogakevali-Gunasthana. After death, Jiva will float upward to the highest plane and then reside in Sudha-Sila at the end of Lokãkas forever. Jiva in the primary status as such naturally obtains enlightenment and gains the four kinds of completion: infinite vision, infinite knowledge, unlimited power and unlimited happiness. The liberated Jiva exists eternally.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ปรัชญา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17608
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pacharaporn_Ko_front.pdf329.56 kBAdobe PDFView/Open
Pacharaporn_Ko_ch1.pdf320.71 kBAdobe PDFView/Open
Pacharaporn_Ko_ch3.pdf510.78 kBAdobe PDFView/Open
Pacharaporn_Ko_ch4.pdf635.15 kBAdobe PDFView/Open
Pacharaporn_Ko_ch5.pdf1.48 MBAdobe PDFView/Open
Pacharaporn_Ko_ch6.pdf643.17 kBAdobe PDFView/Open
Pacharaporn_Ko_ch7.pdf294.26 kBAdobe PDFView/Open
Pacharaporn_Ko_back.pdf246.86 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.