Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17636
Title: ความคิดเห็นของผู้บริหาร อาจารย์ และนักเรียนในโรงเรียนนายร้อย 3 เหล่าทัพ เกี่ยวกับการประเมินการสอนของอาจารย์
Other Titles: Opinions of administrators, instructors and students in the three armed forces military cadets concerning instructional evaluation
Authors: ลาวัณย์ รัตนเสวี
Advisors: พรชุลี อาชวอำรุง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Pornchulee.A@Chul.ac.th
Subjects: การสอน -- การประเมิน
การทหาร -- การศึกษาและการสอน
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1. ศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหาร อาจารย์ และนักเรียนในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ และโรงเรียนนายเรืออากาศ ที่มีต่อการประเมินการสอนของอาจารย์ 2. สำรวจความต้องการ การประเมินการสอนของอาจารย์ โดยผู้บริหารอาจารย์ และนักเรียน ในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ และ โรงเรียนนายเรืออากาศ 3. พิจารณาแนวทางที่เหมาะสมในการประเมินการสอนในโรงเรียนนายร้อย พระจุลจอมเกล้าโรงเรียนนายเรือ และ โรงเรียนนายเรืออากาศ กลุ่มตัวอย่างประชากรเป็นบุคลากรที่เป็นผู้บริหาร จำนวน 27 คน อาจารย์ 155 คน และนักเรียน 570 คน ในโรงเรียนนายร้อย 3 เหล่าทัพ ในปีการศึกษา 2527 โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็น เครื่องมือในการวิจัยการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยไปแจก และเก็บข้อมูลด้วยตนเอง นำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ด้วยการใช้ โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ ของสถาบันบริการคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบเอฟ และการทดสอบรายคู่ ด้วยวิธีการของเชฟเฟ (Scheffe) ซึ่งผลการวิเคราะห์ข้อมูล ปรากฏว่า 1. ความคิดเห็นเกี่ยวกับดำเนินงานการประเมินการสอนของอาจารย์พบว่า ผู้บริหาร อาจารย์ และนักเรียน ส่วนใหญ่เห็นด้วยที่จะให้มีการประเมินการสอน ควรให้มีการประเมินการสอนเมื่อจบ 1 ภาคเรียนแล้ว และประเมินเพื่อปรับปรุงการสอนของอาจารย์ และให้นักเรียนเป็นผู้ประเมิน 2. ความต้องการเกี่ยวกับการประเมินการสอนของอาจารย์นั้น ผู้บริหาร และอาจารย์ยินดีที่จะให้ประเมิน และแจ้งผลการประเมินให้อาจารย์ผู้สอนทราบโดยตรง 3. ความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมในการนำแบบประเมินการสอนไปใช้นั้นกลุ่มตัวอย่างผู้บริหาร อาจารย์ และนักเรียนทั้งหมดเห็นด้วยในการนำข้อกระทงส่วนใหญ่ไปใช้และเห็นด้วยมากในบางข้อกระทง ซึ่งเมื่อทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย ระหว่างกลุ่มตัวอย่างแต่ละโรงเรียน จะมีบางข้อกระทงที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ก็อยู่ในระดับเดียวกันคือ เห็นด้วย และเห็นด้วยมาก ซึ่งแยกออกเป็น 5 ด้าน โดยข้อกระทงที่สำคัญของพฤติกรรมการสอนของอาจารย์ในด้านต่างๆ คือ ด้านจุดมุ่งหมายและเนื้อหาวิชา อาจารย์ศึกษาหลักสูตรก่อน อาจารย์เข้าใจจุดมุ่งหมายของวิชาที่สอนชัดเจน อาจารย์ช่วยพัฒนานักเรียนให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ อาจารย์ค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมในวิชาที่สอน เนื้อหาวิชาควรต่อเนื่องสัมพันธ์และสอดคล้องกัน เพื่อให้นักเรียนเข้าใจง่ายและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ ด้านบุคลิกของผู้สอน อาจารย์เป็นผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ตรงต่อเวลามีความประพฤติเหมาะสมกับการเป็นอาจารย์ แต่งกายเหมาะสมกับการเป็นนายทหารและอาจารย์มีความยุติธรรม มีวิจารณญาณและเหตุผล ควรมีน้ำเสียงดังชัดเจน ด้านวิธีสอน เตรียมการสอนอยู่เสมอ เตรียมบทเรียนอย่างดี เพื่อให้นักเรียนสามารถเข้าใจได้ สรุปหลักการสำคัญของเนื้อหาวิชา ควรจัดหาผู้เชี่ยวชาญมาบรรยายพิเศษ ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มาช่วยสอน จัดกิจกรรมที่น่าสนใจ ด้านการวัดผล การจัดทำข้อสอบครอบคลุมเนื้อหาวิชาที่สอน มีความยุติธรรมในการวัดและประเมินผลผู้เรียน การวัดผลควรทำให้มีคุณค่าและจริงจัง ด้านการปฏิบัติงานนอกเหนือการสอน มีความรับผิดชอบสูง ให้คำแนะนำที่มีคุณค่าเพื่อนอาจารย์เป็นที่ปรึกษา และยอมฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน จัดกิจกรรมร่วมกับสถาบันอื่น
Other Abstract: Purpose : The Objectives of study are as follows. 1. To study the opinions of administrators, instructors and the cadets in CRMA, Royal NAVAL Academy and the Royal Thai Airforce Academy toward teaching evaluation. 2. To survey the needs of evaluation on instructors' teaching by the administrators, instructors and cadets in the three Armed Forces Academies. 3. To consider and seek for the most appropriate approach (method) in evaluation of teaching in the three Armed Forces Academies. Methodology The population of this study consisted of 27 administrators 155 instructors and 570 cadets from three academies in academic year 1984. The questionnaires were constructed and collected by the researcher. The data were analyzed by using Statistical Package for the Social Science (SPSS). System showed frequency, percent, arithmatic mean, standard deviation, F-Test and the test of defference of each pair by Scheffe' 's method. Findings The findings of the study can be summed up as follows 1. Most of the administrators, instructors and cadets indicated preference for establishing some evaluation process. Evaluation should be done at the end of the first semester in order to adjust and inprove teaching methods and subsequently evaluated by the cadets. 2. Needs for evaluation : The administrators and the instructors were hippy to be evaluated and wished to have the instructors directly informed of the results so asto make certain improvements. 3. Opinions on the suitable in bringing up the evaluation format to use, administrators, instructors and cadets agreed with each item of the questionnaires and some agreed most with some items. From the comparative test conducted significant differences were found in some items among three academies but they were at the same levels of being agreeable and the most agreeable. The teaching behavior was devided into 5 aspects and the items of the questionnaire in each aspect that were the most agreeable as follows : A. Objectives and subject matter were instructors' prior study of curriculum, instructors' clearly understand the course objectives, instructors' motivation for students' initiative, extension of instructors' knowledge on the subject matter, the subject matter must be coherent and easy to apply. B. Instructors' personality were initiative, punctuality, accepted behavior, proper appearance, impartial, resonable expectation, adequate vocal projection. C. Teaching techniques were readiness of teaching, adequate preparation of subject matter, good conclusion on subject matter, invitation of specialist in particular field, use of advanced technology in teaching, activities of interest. D. Evaluation were proper coverage of subject matter, impartial of evaluation and assessment, standardization of evaluation. E. Non - teaching task were high responsibility, benefitial suggestion, respectfulness and acceptance of colleague's opinions, academic cooperation.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17636
ISBN: 9745660322
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Lawan_Ra_front.pdf370.98 kBAdobe PDFView/Open
Lawan_Ra_ch1.pdf332.95 kBAdobe PDFView/Open
Lawan_Ra_ch2.pdf678.37 kBAdobe PDFView/Open
Lawan_Ra_ch3.pdf293.57 kBAdobe PDFView/Open
Lawan_Ra_ch4.pdf766.62 kBAdobe PDFView/Open
Lawan_Ra_ch5.pdf423.38 kBAdobe PDFView/Open
Lawan_Ra_back.pdf509.03 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.