Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17638
Title: การจัดการด้านการตลาดของร้านสหกรณ์กรุงเทพ จำกัด และร้านสหกรณ์พระนคร
Other Titles: The marketing management of the Krongteb co-operative store ltd. and Pranakorn co-operative store ltd.
Authors: เลิศชัย ทองสอาด
Advisors: สุรัชนา วิวัฒนชาต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: สหกรณ์ร้านค้า
การตลาด
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สหกรณ์ผู้บริโภคนับเป็นองค์กรหนึ่งที่มีคุณประโยชน์มหาศาลต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่กำลังพัฒนา เพราะระเบียบและวิธีการทางสหกรณ์เป็นหนทางที่จะช่วยเหลือสมาชิก (ประชาชน) ให้ได้ซื้อสินค้าต่างๆ ที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวันในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาดหรือเท่ากับราคาตลาด และจะได้เงินส่วนลดจากการซื้อและเงินปันผลจากหุ้นที่ซื้อ นอกจากนี้ยังเป็นการฝึกนิสัยของการร่วมลงทุน การร่วมมือกันบริหารงานและพัฒนาระบบประชาธิปไตยด้วย การพัฒนาด้านการสหกรณ์ของโลกและของประเทศไทยมีมานานแล้ว โดยเฉพาะในประเทศไทยได้เริ่มต้นทางด้านสหกรณ์การเกษตรก่อนด้วยเหตุผลว่า การเกษตรเป็นหัวใจของเศรษฐกิจของประเทศ ส่วนสหกรณ์ผู้บริโภคเพิ่งจะเริ่มมีมาประมาณ 40 ปีเศษ และยังต้องมีการแก้ไขและพัฒนากันอีกมาก ในประเทศไทย สหกรณ์ผู้บริโภคเป็นระบบสหกรณ์ที่มีประชาชนนิยมกันอยู่ แม้แต่หน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ ธุรกิจเอกชน ก็มีการจัดตั้งร้านสหกรณ์ให้กับหน่วยงานของตนเช่นกัน การศึกษาในเรื่องสหกรณ์ผู้บริโภคจึงเป็นเรื่องที่สำคัญและน่าศึกษา ในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาทางการดำเนินงานด้านการตลาดของสหกรณ์ผู้บริโภคสองแห่ง คือ ร้านสหกรณ์กรุงเทพ จำกัด และร้านสหกรณ์พระนคร จำกัด ซึ่งได้รับความสำเร็จในการดำเนินงานมากที่สุดในบรรดาสหกรณ์ผู้บริโภคในประเทศไทย จากการศึกษาการดำเนินงานของร้านสหกรณ์ทั้งสองและได้พบว่า มีข้อแตกต่างกันบางประการ ในด้านการให้อำนาจ การตัดสินใจแก่ผู้จัดการสาขา นโยบายในด้านการเปิดสาขา การร่วมมือระหว่างสาขา ตลอดจนในด้านการส่งเสริมการจำหน่าย กล่าวคือ ร้านสหกรณ์พระนคร จำกัด ให้อำนาจแก่ผู้จัดการสาขาน้อยกว่าร้านสหกรณ์กรุงเทพ จำกัด แต่มีการส่งเสริมการจำหน่ายในด้านการโฆษณาและส่งเสริมการขายมากกว่า สำหรับผลจากการสำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้บริการจากสหกรณ์ทั้งสองแห่ง สรุปได้คล้ายคลึงกันว่า ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในช่วง 20-35 ปี และมักเป็นสมาชิกร้านสหกรณ์เพียงแห่งเดียว มีผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกอยู่บ้างก็เพราะมีบุคคลในครอบครัวเป็นสมาชิกอยู่แล้ว ผู้ซื้อสินค้ามักตั้งใจซื้อมาล่วงหน้า เหตุผลที่ซื้อส่วนใหญ่เห็นว่ามีสินค้ามากพอควรทั้งคุณภาพและราคาก็ทัดเทียมกับที่อื่น แต่ด้านการจัดสินค้าเห็นว่าร้านสหกรณ์พระนครเป็นระเบียบเรียบร้อยกว่าสหกรณ์กรุงเทพ สำหรับด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในการซื้อสินค้า เช่น ที่จอดรถยังมีไม่เพียงพอ อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่พอใจในการซื้อสินค้าจากร้านสหกรณ์และยินดีกลับไปซื้ออีก ปัญหาด้านการตลาดของร้านสหกรณ์ทั้งสองโดยสรุปก็คือ การตัดสินใจของฝ่ายจัดการยังไม่รวดเร็วเท่าที่ควร การบริหารงานยังไม่ได้นำหลักการจัดการด้านการตลาดมาใช้ประโยชน์มากนัก ข้อเสนอแนะก็คือ ร้านสหกรณ์ทั้งสองแห่งควรให้ผู้จัดการสาขามีอำนาจในการตัดสินใจมากขึ้นและควรนำวิธีการทางการตลาดมาใช้ให้มากขึ้น โดยการจัดหาสินค้าซึ่งเป็นที่ต้องการมาขาย ปรับปรุงด้านการจัดวางสินค้าให้แลดูสวยงาม มีป้ายติดราคาชัดเจน ราคาสินค้าควรเป็นราคาเดียวกันทุกสาขา และไม่ต้องสูงกว่าที่อื่นๆ มีการควบคุมด้านการจัดส่งสินค้าการจำหน่ายและการสต๊อกสินค้าที่ดี ไม่ให้มีของค้างสต๊อกมากทั้งควรมีการส่งเสริมการขายให้มากขึ้น โดยการลดราคาสินค้า จัดของแถม ฯลฯ เป็นระยะๆ นอกจากนี้ยังควรทำการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในเรื่องสหกรณ์และให้ข่าวสารแก่สมาชิก สาธารณะชนให้ทราบอย่างทั่วถึงทางสื่อต่างๆ ตลอดจนจัดสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ แก่ลูกค้า เช่นที่จอดรถ พนักงานบริการให้พอเพียง ในการปรับปรุงในการบริหารงานด้านการตลาดนั้น ร้านสหกรณ์ควรคำนึงถึงการแข่งขันกับร้านสหกรณ์อื่น และธุรกิจเอกชนอื่นๆ ด้วย เพื่อให้มีผลกำไรมากพอเพียงที่จะขยายสาขาหรือกลุ่มสินค้าที่ขายให้มากขึ้น
Other Abstract: The consumer co-operative is one of the most important institutions for the Thai's economy, especially, for any developing country since its principles enable its members to by their daily goods at resonable prices. Besides that, they (the members) can get their money back in the form of discount returns at the end of year plus the devidend from their shares, however, the most important factor is training them how to work together in a democratic way of voting for a new co-operatives' administration committee. The developing of the World co-operatives and the Thai co-operatives took place a long way back. Particularly, in Thailand, the agricultural co-operatives (farmers co-operatives) was the first one ever operate for the reason that Thailand's economy is based on agriculture, the consumer co-operative on the other hand, was about 40 years old and is on its way of development. The most popular co-operative in Thailand is consumer co-operative, we can find this kind of co-operative in many functions, organizations and institutions, we have consumer co¬operatives in Universities, private sectors, government enterprises, etc., so this is the reason why it is interesting to study the consumer co-operative. However, this thesis is limited on the studying of the two major co-operatives, The Pranakorn Co-operative Ltd. and The Krungteb Co-operative Ltd. From this research, it is found that there are some differences in the delegation of authority and the right in making. decision of the branch's managers, the policies of opening a new branch, coordination between branches and sales promotion. The Pranakorn co-operative delegates less authority to their branch managers than the Krungteb co-opertive but the Pranakorn co-opertive gives more attention on sales promotion and advertising campaigns. From the studying of consumers' opinion on services of both co-operatives we can conclude that the age range of the consumer is between 20-35 years old and most of them are members of the co-operative, some consumers are not members because their relatives have already become a member. The consumers have made a decision before going to buy and the reason for buying at co¬operative is that the prices is fair and goods are available as in other department stores. Considering the store decoration, the Pranakorn co-operative is more neatly decorated than the Krungteb co-operative, but the space for car parking is not enough. However, most consumers prefer the services of the co-operative and willing to go back for shopping. The marketing problems of both co-operatives are the lack of authority in decision for branch managers, marketing concepts in administration. The present writer suggest that both co-operatives should delegated more authority to their branch managers and take more marketing concepts in operating its own services by purchasing goods which consumer need, take more care on store arrangement, to make sure that there is a price tag on goods, the price of goods must be the same in every branches and not higher than other department stores or other supermarkets. Controlling on goods distribution, goods transportation and goods stocking which will decrease overstock and give more sales promotion by using cash discount, premiums etc. Besides that, the clear understanding of co-operative concepts must be introduced to all the publics by medias. The co-operatives must provide all the best facilities such as car parking areas, recruiting more staffs, etc. In improving the marketing activities the co-operatives must take attention on competing with each other and other private stores inorder that the co-operatives can get more profit to expand branches or increasing in other product lines.
Description: วิทยานิพนธ์ (พณ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: พาณิชยศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การตลาด
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17638
ISBN: 9745610267
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Lertchai_To_front.pdf400 kBAdobe PDFView/Open
Lertchai_To_ch1.pdf304.88 kBAdobe PDFView/Open
Lertchai_To_ch2.pdf697.54 kBAdobe PDFView/Open
Lertchai_To_ch3.pdf822.67 kBAdobe PDFView/Open
Lertchai_To_ch4.pdf792.52 kBAdobe PDFView/Open
Lertchai_To_ch5.pdf686.14 kBAdobe PDFView/Open
Lertchai_To_ch6.pdf726.93 kBAdobe PDFView/Open
Lertchai_To_ch7.pdf583.42 kBAdobe PDFView/Open
Lertchai_To_back.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.