Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1764
Title: สถานภาพของบุคลากรและหน่วยงานประชาสัมพันธ์ในประเทศไทย : รายงานการวิจัย
Authors: ปรมะ สตะเวทิน
วิรัช ลภิรัตนกุล
กรรณิการ์ อัศวดรเดชา
จิตราภรณ์ สุทธิวรเศรษฐ์
Email: Virat.L@Chula.ac.th
Jitraporn.S@Chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาการประชาสัมพันธ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาการประชาสัมพันธ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาการประชาสัมพันธ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาการประชาสัมพันธ์
Subjects: การประชาสัมพันธ์
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่อง สถานภาพของบุคลากรและหน่วยงานประชาสัมพันธ์ในประเทศไทยกระทำในลักษณะของการสำมะโน เพื่อรวบรวมหน่วยงานและหัวหน้าหน่วยงานในประเทศไทยทั้งหมด ซึ่งกระทำโดยการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ (mail questionnaire) ไปยังหน่วยงานต่าง ๆ และได้รับแบบสอบถามที่สมบูรณ์และใช้ในการวิเคราะห์คืนมา 296 ชุด ผลของการวิจัยพบว่าหน่วยงานประชาสัมพันธ์ในประเทศไทยมีอายุเพียง 47 ปีเศษหน่วยงานประชาสัมพันธ์กว่าครึ่งมีอายุไม่เกิน 10 ปี หน่วยงานประชาสัมพันธ์ 84.12% เป็นหน่วยงานของรัฐ ในขณะที่เป็นหน่วยงานประชาสัมพันธ์ของเอกชน 10.81% และขององค์การไม่แสวงหากำไร 5.07% หัวหน้าหน่วยงานประชาสัมพันธ์ 72.14% สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป แต่ก็ยังมีหน่วยงานประชาสัมพันธ์ที่มีหัวหน้าหน่วยที่มีวุฒิเพียง ม. 6 (เดิม) หรือ ม.ศ. 3 2.85% มีผู้มีวุฒิปริญญาด้านประชาสัมพันธ์หรือนิเทศศาสตร์เป็นหัวหน้าหน่วยงานประชาสัมพันธ์เพียง 16.78% มีหัวหน้าหน่วยงานประชาสัมพันธ์ที่ไม่มีปริญญาด้านประชาสัมพันธ์หรือนิเทศศาสตร์เข้ารับการฝึกอบรมด้านการประชาสัมพันธ์ 32.19% หัวหน้าหน่วยงานประชาสัมพันธ์ถึง 56.43% ไม่ได้ศึกษาหรือฝึกอบรมด้านประชาสัมพันธ์หรือนิเทศศาสตร์เลย มีหัวหน้าหน่วยงานประชาสัมพันธ์ที่เคยปฏิบัติงานด้านการประชาสัมพันธ์มาก่อนที่จะทำงานประชาสัมพันธ์ปัจจุบัน 24.23% ในการปฏิบัติงานด้านการประชาสัมพันธ์ในหน่วยงานปัจจุบัน ปรากฏว่ามีหัวหน้าหน่วยงานประชาสัมพันธ์ถึง 79.21% ที่ทำงานในหน่วยงานปัจจุบันไม่เกิน 5 ปี ในขณะที่มีผู้ทำงานในหน่วยงานปัจจุบันเกิน 10 ปีเพียง 8.45% งบประมาณด้านการประชาสัมพันธ์ ได้รับการจัดสรรในวงเงินที่ต่ำมาก 56.61% มีงบประมาณต่อปีไม่เกิน 1 แสนบาท ในขณะที่มีหน่วยงานประชาสัมพันธ์ที่ได้รับงบประมาณต่อปีมากกว่า 1 ล้านบาทเพียง 12.50% นอกจากนั้นบางหน่วยงานไม่มีงบประมาณที่แน่นอน บางหน่วยงานไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณด้านประชาสัมพันธ์โดยเฉพาะ เพราะงานประชาสัมพันธ์ถูกจัดเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ส่วนหนี่งของหน่วยงานอื่น ในขณะที่หน่วยงานประชาสัมพันธ์อีกส่วนหนึ่งไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณให้เลย อุปสรรคในการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ด้านบุคลากรที่สำคัญ คือ การขาดแคลนเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ อุปสรรคด้านงบประมาณเรียงตามลำดับความสำคัญคือ ได้รับงบประมาณไม่เพียงพอ ไม่มีงบประมาณให้หน่วยงานประชาสัมพันธ์โดยเฉพาะ ไม่ได้รับงบประมาณ ไม่กำหนดงบประมาณที่แน่นอนให้หน่วยงานประชาสัมพันธ์และการมีระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการเบิกจ่ายงบประมาณที่ยุ่งยาก อุปสรรคด้านอื่น ๆ ที่สำคัญ ๆ ได้แก่ การไม่ได้รับความสนับสนุนจากผู้บริหาร การขาดเครื่องมือและอุปกรณ์ ระบบการดำเนินงานที่ไม่คล่องตัว หน่วยงานอื่น ไม่เข้าใจและไม่เห็นความสำคัญของงานประชาสัมพันธ์ ผู้บริหารไม่เข้าใจงานประชาสัมพันธ์ ผู้บริหารไม่มีนโยบายที่แน่ชัดเกี่ยวกับงานประชาสัมพันธ์ และไม่มีการจัดตั้งหน่วยงานประชาสัมพันธ์โดยเฉพาะที่มีงบประมาณและอำนาจในการปฏิบัติงานของตนเอง การแก้ไขอุปสรรคทั้งปวงต้องเริ่มต้นจากผู้บริหารขององค์การ ผู้บริหารจะต้องเข้าใจแนวคิดเรื่องการประชาสัมพันธ์ และตระหนักถึงประโยชน์และความสำคัญของการประชาสัมพันธ์ที่มีต่อองค์การเสียก่อน การสนับสนุนงานประชาสัมพันธ์จึงจะเกิดขึ้นได้ และอุปสรรคด้านบุคลากร งบประมาณ และอุปสรรคด้านอื่น ๆ จึงจะลุล่วงไปได้
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1764
Type: Technical Report
Appears in Collections:Comm - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Parama_information.pdf21.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.