Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17659
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพวงรัตน์ บุญญานุรักษ์-
dc.contributor.authorลิลลี่ โอฬารนุกูล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-03-10T04:16:33Z-
dc.date.available2012-03-10T04:16:33Z-
dc.date.issued2523-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17659-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523en
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ ศึกษาและเปรียบเทียบความต้องการการพยาบาลของผู้ป่วยหลังคลอดแต่ละประเภท และเปรียบเทียบการพยาบาลโดยตรงและโดยอ้อมที่ผู้ป่วยแต่ละประเภทนั้นๆ ได้รับ ผู้ป่วยหลังคลอดทั้งหมดได้ถูกจัดเป็น 5 ประเภท ตามระดับความต้องการในหัวข้อต่อไปนี้คือ ความต้องการชนิดของอาหาร ความต้องการช่วยเหลือในการขับถ่าย ความต้องการช่วยเหลือในการทำความสะอาดร่างกาย ความต้องการยา และความต้องการการรักษาพยาบาล ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ผู้ป่วยสามัญหลังคลอดของโรงพยาบาลศิริราชเป็นจำนวน 3 หอผู้ป่วย รวมประชากรทั้งสิ้น 450 คน โดยทำการสุ่มตัวอย่างประชากรแบบแบ่งพวก (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นเครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ 1. เกณฑ์ในการจัดประเภทผู้ป่วย 2. แบบฟอร์มในการจัดประเภทผู้ป่วยประจำวัน 3. แบบฟอร์มบันทึกเวลากิจกรรมพยาบาลโดยตรงและโดยอ้อมที่ผู้ป่วยได้รับ นำเครื่องมือทั้ง 3 ชนิด ไปหาความตรงตามเนื้อหา (Content Validity) โดยผู้ทรงคุณวุฒิ และหาค่าความเที่ยง (Reliability) ของเครื่องมือชนิดที่ 2โดยนำทดลองใช้กับหัวหน้าพยาบาล พยาบาลประจำการผู้ช่วยพยาบาล และนักศึกษาพยาบาล ของแผนกผู้ป่วยสามัญหลังคลอด โรงพยาบาลศิริราช จำนวนทั้งหมด 17 คน ได้ค่าความเที่ยงของเครื่องมือ การจัดผู้ป่วย ดังนี้คือ เกณฑ์การจัดผู้ป่วยประเภทที่ 1 ได้ค่าความเที่ยง 100% เกณฑ์การจัดผู้ป่วยประเภทที่ 2 ได้ค่าความเที่ยง 87.5% เกณฑ์การจัดผู้ป่วยประเภทที่ 3 ได้ค่าความเที่ยง 88.89% เกณฑ์การจัดผู้ป่วยประเภทที่ 4 ได้ค่าความเที่ยง 87.5% และเกณฑ์การจัดผู้ป่วยประเภทที่ 5 ได้ค่าความเที่ยง 100% เก็บรวบรวมข้อมูลโดยสังเกตโดยตรงและต่อเนื่อง โดยผู้วิจัยเองและผู้ช่วยวิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดย หาค่าร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวน และทดสอบหลังการวิเคราะห์ความแปรปรวนด้วยวิธีที (T-Method) ผลการวิจัย 1. ผู้ป่วยแต่ละประเภทมีความต้องการการพยาบาลใน 24 ชั่วโมง ดังต่อไปนี้คือผู้ป่วยประเภทที่ 1 2 3 4 และ 5 มีความต้องการพยาบาลโดยเฉลี่ย ตามลำดับคือ 2.36 ชั่วโมง 3.18 ชั่วโมง 4.42 ชั่วโมง 7.28 ชั่วโมง และ 8.77 ชั่วโมง 2. ผู้ป่วยแต่ละประเภทมีความต้องการการพยาบาลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ยกเว้นผู้ป่วยประเภทที่ 1 กับผู้ป่วยประเภทที่ 2 และผู้ป่วยประเภทที่ 2 กับผู้ป่วยประเภทที่ 3 ซึ่งไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งตรงกับสมมติฐานที่กล่าวว่า “ปริมาณความต้องการการพยาบาลในผู้ป่วยแต่ประเภท ย่อมแตกต่างกัน” 3. ผู้ป่วยประเภทที่ 1 2 และ 5 มีความต้องการการพยาบาลโดยตรง แตกต่างจากความต้องการการพยาบาลโดยอ้อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนผู้ป่วยประเภทที่ 3 และ 4 มีความต้องการพยาบาลโดยตรงไม่แตกต่างจากความต้องการการพยาบาลโดยอ้อม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งตรงกับสมมติฐานที่กล่าวว่า “ในผู้ป่วยแต่ละประเภทนั้นๆ ผู้ป่วยประเภทเดียวกันมีความต้องการการพยาบาลโดยตรงและการพยาบาลโดยอ้อมแตกต่างกัน”-
dc.description.abstractalternativeThe major purposes of this research were to find out and compare the amount of nursing care hours required by puerperal patients in each classification and to compare the direct and in¬direct nursing care required by those patients. The patients were classified according to needs of dietary, activities of daily living, medications and treatment ordered. The sample group selected by a stratified random sampling, were 450 patients on three puerpal wards at Siriraj Hospital. The three instruments were developed by the researcher which were Guidelines for use of patient classification, Patient classification form, and Nursing care time observation form. Then the three instruments were tested the content validity, and the reliability testing of "the Patient classification form" was performed by using 17 nursing personnel from puerperal wards of Siriraj Hospital. The reliability of "Patient classification form" were 100%, 87.5%, 88.89%, 87.5% and 100% for patient classification 1, 2, 3, 4 and 5 respectively. The data were collected by direct observation method and were analyzed by using various statistical methods; percentage, arithematic mean, standard deviation, t-test, analysis of variance and T-Method. The major findings 1. The average hours of nursing care time required by the puerperal patients in each classification during 24-hour were 2.36 hours, 3.18 hours, 4.42 hours, 7.28 hours and 8.77 hours for classi¬fication 1, 2, 3, 4 and 5 respectively. 2. Comparing the amount of nursing care hours required by puerperal patients in each classification, there were statistically significant differences at the .01 level except, between patient classification 1 and 2 and classification 2 and 3 which were no statistically significant differences. Therefore the hypothesis, "there is a statistically significant difference on amount of nurs¬ing care hours required by puerperal patients in each classification," was retained. 3. Comparing the amount of direct and indirect nursing care required by each patient, there were statistically significant differences at the .01 level in patient classification 1, 2 and 5, but no significant differences were found in classification 3 and 4. Therefore the hypothesis, "there is a statistically significant difference on the amount of direct and indirect nursing care required by each patient," was retained.-
dc.format.extent396488 bytes-
dc.format.extent415188 bytes-
dc.format.extent1464566 bytes-
dc.format.extent368095 bytes-
dc.format.extent632471 bytes-
dc.format.extent719337 bytes-
dc.format.extent865025 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectพยาบาลและการพยาบาลen
dc.subjectผู้ป่วยen
dc.titleการศึกษาความต้องการการพยาบาลของผู้ป่วยหลังคลอดen
dc.title.alternativeA study of nursing care needs of puerperal patientsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineดนตรีศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Lily_Or_front.pdf387.2 kBAdobe PDFView/Open
Lily_Or_ch1.pdf405.46 kBAdobe PDFView/Open
Lily_Or_ch2.pdf1.43 MBAdobe PDFView/Open
Lily_Or_ch3.pdf359.47 kBAdobe PDFView/Open
Lily_Or_ch4.pdf617.65 kBAdobe PDFView/Open
Lily_Or_ch5.pdf702.48 kBAdobe PDFView/Open
Lily_Or_back.pdf844.75 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.