Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1766
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านสังคมและเศรษฐกิจ การดูโทรทัศน์ และทัศนคติของวัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร : รายงานการวิจัย
Authors: ปรมะ สตะเวทิน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาการประชาสัมพันธ์
Subjects: โทรทัศน์กับเยาวชน
สื่อมวลชนกับเยาวชน
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านสังคมและเศรษฐกิจการดูโทรทัศน์ และทัศนคติของวัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 1, 2 และ 3 ของโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงเรียนจันทร์หุ่นบำเพ็ญ โรงเรียนละ 100 คน รวม 2 โรงเรียน 200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การแจกแจงความถี่และค่าร้อยละ การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบพาร์เชียล และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้น ซึ่งประมวบผลโดยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS สาระสำคัญของการวิจัยปรากฏผลดังนี้ 1. วัยรุ่นทุกคนมีโอกาสดูโทรทัศน์ รายการโทรทัศน์ที่วัยรุ่นนิยมดูมากที่สุด ได้แก่ ข่าว ภาพยนตร์ เกมต่าง ๆ ดนตรีและเพลง และกีฬา ตามลำดับ วัยรุ่นส่วนใหญ่ (161 คน หรือ 80.5%) ดูโทรทัศน์กับคนในครอบครัว2. เพศ โรงเรียน สถานะทางสังคมและเศรษฐกิจของครอบครัว และความสัมพันธ์ของบิดา มารดาไม่มีความสัมพันธ์กับความบ่อบครั้งและระยะเวลาในการดูโทรทัศน์ และความบ่อยครั้งในการดู "รายการข่าวและความรู้" แต่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความบ่อยครั้งในการดู "รายการบันเทิง" 3. ความบ่อยครั้งและระยะเวลาที่ดูโทรทัศน์กับความบ่อยครั้งที่ดู "รายการข่าวและความรู้" ไม่มีความสัมพันธ์กับรสนิยม ความก้าวร้าวรุนแรง และศีลธรรม และความถูกต้อง แต่ความบ่อยครั้งที่ดู "รายการบันเทิง" มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับรสนิยมและความก้าวร้าวรุนแรง และความมีความสัมพันธ์เชิงลบกับศีลธรรมและความถูกต้อง 4. เพศไม่มีความสัมพันธ์กับรสนิยม แต่มีความสัมพันธ์เชิงลบกับความก้าวร้าวรุนแรงส่วนโรงเรียน สถานะทางสังคมและเศรษฐกิจของครอบครัวและความสัมพันธ์ของบิดามารดามีความสัมพันธ์เชิงบวกกับรสนิยมและความก้าวร้าวรุนแรง ทั้ง 4 ตัวแปรไม่มีความสัมพันธ์กับศีลธรรมและความถูกต้อง 5. เมื่อควบคุมตัวปรการดูโทรทัศน์ เพศไม่มีความสัมพันธ์กับรสนิยม แต่ก็ยังมีความสัมพันธ์เชิงลบกับความก้าวร้าวรุนแรง ส่วนโรงเรียน สถานะทางสังคมและเศรษฐกิจของครอบครัวและความสัมพันธ์ของบิดามารดายังคงมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับรสนิยมและความก้าวร้าวรุนแรง ตัวแปรทั้ง 4 ไม่มีความสัมพันธ์กับศีลธรรมและความถูกต้อง 6. ตัวแปรที่สามารถใช้อธิบายรสนิยมเรียงตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ 1) โรงเรียน หรือสถานะทางสังคมและเศรษฐกิจของครอบครัว 2) ความบ่อยครั้งที่ดู "รายการข่าวและความรู้" 3) ความบ่อยครั้งที่ดู "รายการบันเทิง" ตัวแปรที่สามารถใช้อธิบายความก้าวร้าวรุนแรงเรียงตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ 1) โรงเรียนหรือสถานะทางสังคมและเศรษฐกิจของครอบครัว 2) ความบ่อยครั้งและระยะเวลาที่ดูโทรทัศน์ 3) ความบ่อยครั้งที่ดู "รายการบันเทิง" 4) เพศ ไม่มีตัวแปรใดเลยที่สามารถใช้อธิบายศีลธรรมและความถูกต้องได้
Other Abstract: The main purpose of this study was to examine the correlation among socio-economic factors, T.V. watching and attitudes of teenagers in Bangkok. The sample used in this study were 200 7th, 8th and 9th grade students of two schools: 100 students of Chulalongkorn University Demonstration School and 100 students of Chanhoonbampen School. Questionnaires were used to collect the data. Frequency, percentage, Pearson's product moment correlation coefficient, partial correlation coefficient and stepwise multiple regression were employed for the analysis of data. SPSS progress was used for data processing. The major findings of the study were as follows: 1. Every teenager was the T.V. watcher. The top 5 programs attracted most teenagers were news, movies, game shows, musical programs and sports respectively. Most teenagers (161 or 80.5%) watched television with other members of the family.2. There was no significant correlation between sex, school, socio-economic status of the family, parents' relationship and theamount of T.V. watching, the frequency of "news-knowledge" watching. However, there was a significantly poditive correlation between sex, school, socio-economic status of the family, parents' relationship, and the frequency of 'entertainment" watching. 3. There was no significant correlation between the amount of T.V. watching, the frequency of "news-knowledge" watching and taste, aggression, morality. There were, however, a significantly positive correlation between the frequency of 'entertainment" watching and taste, aggression, and a significantly negative correlation between the frequency of 'entertainment" watching and morality. 4. Sex did not significantly correalate with taste but negatively correlated with aggression. There was a significantly positive correlation between school, socio-economic status of the family, parents' relationship and taste, aggression. There was, however, no significant correlation between four socio-economic variables and morality. 5. When T.V. watching was controlled, therewas no significant correlation between sex and taste but there still was a significantly negative correlation between sex and aggression. Meanwhile, there still was a significantly positive correlation between school, socio-economic status of the family, parents' relationship and taste, aggression. However, there was no significant correlation between four socio-economic variables and morality. 6. Priorities of variables able to explain taste were as follows: 1) School or socio-economic status of the family. 2) The frequency of 'news-knowledge" watching. 3) The frequency of "entertainment" watching' Priorities of variables able to explain aggression were as follows: 1) School or socio-economic status of the family. 2) The amount of T.V. watching. 3) The frequency of "entertainment" watching. 4) Sex. None of the variables was able to explain morality.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1766
Type: Technical Report
Appears in Collections:Comm - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Parama_soceconinbbk.pdf11.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.