Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17679
Title: การเปรียบเทียบสมรรถนะของเครื่องกรองไร้ออกซิเจนที่มีตัวกลางเต็มถัง และครึ่งถัง
Other Titles: Perfomance comparison of a filled-up and a half-filled anaerobic filters
Authors: เรืองชัย เจียกภาพร
Advisors: มั่นสิน ตัณฑุลเวศม์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: เครื่องกรองและการกรอง
น้ำเสีย, การกำจัด
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความมุ่งหมายในการศึกษางานวิจัยนี้ คือ เพื่อที่จะเปรียบเทียบสมรรถนะการทำงานระหว่างเครื่องกรองที่มีการวางตัวชั้นตัวกลางต่างกัน 2 ลักษณะ คือ การวางชั้นตัวกลางในลักษณะเต็มถัง และการวางชั้นตัวกลางแบบครึ่งถังลอย โดยทดลองกับน้ำเสียสังเคราะห์ที่มีความเข้มข้น ซีโอดีในช่วง 2,000-10,000 มก. /ล. ภายใต้ออร์แกนิคโหลดดิ้ง 3 ระดับ คือ 1,3 และ 5 กก.ซีโอดี/ม^3-วัน และกำหนดค่า HRT ประมาณ 48 ชม. จากงานวิจัยแสดงให้เห็นว่า เครื่องกรองที่มีชั้นตัวกลางครึ่งถังลอยมีความเป็นไปได้ในการที่จะนำมาใช้กำจัดน้ำเสียประเภทนี้ นอกจากนี้ยังพบว่าพฤติกรรมและสมรรถนะในการทำงานของเครื่องกรองที่มีชั้นตัวกลางครึ่งถังลอยเหนือกว่าเครื่องกรองที่มีชั้นตัวกลางเต็มถัง แต่อย่างไรก็ตามภายใต้การทำงานที่ระดับออร์แกนิคโหลดดิ้งไม่สูงนัก เช่น 1 กก. ซีโอดี/ม^3-วัน สมรรถนะในการทำงานของเครื่องกรองทั้งสองจะคล้ายคลึงกัน จากผลการทดลองพบว่า เครื่องกรองทั้งสองมีประสิทธิภาพในการกำจัดซีโอดีในน้ำเสียสังเคราะห์ได้ 60-89% ที่ระดับออร์แกนิคโหลดดิ้ง 1-5 กก. ซีโอดี/ม^3-วัน ประสิทธิภาพในการกำจัดซีโอดีสูงสุดจะเกิดที่ระดับออร์แกนิคโหลดดิ้ง 1 กก. ซีโอดี/ม^3-วัน ซึ่งจะผลิตก๊าซมีเทนได้ 0.33 ลิตร/กรัมซีโอดีที่ถูกกำจัด
Other Abstract: The purpose of this study was to compare the performances between the two anaerobic filters which had different packed-up media,: ie the filled-up media and the half-filled suspended media. The experiments were applied to treat synthetic waste which had COD con¬centration in the range of 2,000-10,000 mg/1 and treated under 3 organic loadings, ie 1,3,5 kg.COD/cum-day respectively under fixed HRT about 48 hours. From this research, it revealed that the anaerobic filter which had a half-filled suspended media was possible to treat this waste. Furthermore this experiment showed that the behavior and performances of the half-filled filter were over than the filled-up one. However, under the organic loadings at 1 and 3 kg.COD/cum-day on the same controlled conditions, the performances of these two filters were more or less the same. Results of the investigations showed that COD removal efficien¬cies of these filters were in ranges between 60-89% at organic loading .from 1 to 5 kg.COD/cum-day. The maximum efficiency of COD removal was 89% and the methane production was 0.33 L/gm.COD removed at organic loading of 1 kg.COD/cum-day.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสุขาภิบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17679
ISBN: 9745649031
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ruengchai_Ja_front.pdf350.3 kBAdobe PDFView/Open
Ruengchai_Ja_ch1.pdf231.07 kBAdobe PDFView/Open
Ruengchai_Ja_ch2.pdf584.86 kBAdobe PDFView/Open
Ruengchai_Ja_ch3.pdf369.68 kBAdobe PDFView/Open
Ruengchai_Ja_ch4.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open
Ruengchai_Ja_ch5.pdf229.07 kBAdobe PDFView/Open
Ruengchai_Ja_back.pdf1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.