Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17697
Title: ทรรศนะเรื่องความหลุดพ้นในปรัชญาอินเดีย
Other Titles: The concept of liberation in Indian philosophy
Authors: นวนิต ประถมบูรณ์
Advisors: สุนทร ณ รังษี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ปรัชญาอินเดีย
Issue Date: 2520
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โมกษะหรือความหลุดพ้นเป็นลักษณะร่วมที่สำคัญอย่างหนึ่งของปรัชญาอินเดีย ไม่ว่าจะเป็นปรัชญาสายอาสติกะที่ยอมรับความถูกต้องและความศักดิ์สิทธิ์ของคัมภีร์พระเวท หรือปรัชญาสายนาสติกะที่ไม่ยอมรับความถูกต้องและความศักดิ์สิทธิ์ของพระเวท ต่างมีความหลุดพ้นหรือโมกษะเป็นจุดมุ่งหมายปลายทางด้วยกันทั้งสิ้น ยกเว้นปรัชญาจารวากระบบเดียวที่ไม่ได้ถือว่าเป็นโมกษะเป็นจุดมุ่งหมายสำคัญของชีวิต จึงไม่ได้เน้นเรื่องนี้เหมือนปรัชญาอินเดียระบบอื่นๆ ความหลุดพ้นในปรัชญาอินเดียหมายถึงความหลุดพ้นจากทุกข์และเข้าถึงภาวะที่เป็นความสุขนิรันดร ทุกระบบของปรัชญาอินเดียเห็นว่าชีวิตที่ดำเนินไปตามธรรมชาติของมนุษย์เป็นการวนเวียนอยู่ในความทุกข์ ความสุขที่แม้จะมีความสุขในการดำเนินชีวิตตามธรรมชาติก็หาได้เป็นความสุขที่ยั่งยืนควรแก่การปรารถนาไม่ ปรัชญาอินเดียทุกระบบจึงสอนให้มนุษย์มุ่งแสวงหาความสุขที่แท้จริง ซึ่งความสุขเช่นนี้จะมีได้ก็ เฉพาะในภาวะแห่งโมกษะที่หลุดพ้นไปจากการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารเท่านั้น แนวความคิดเกี่ยวกับความหลุดพ้นที่เรียกว่าโมกษะในปรัชญาอินเดียเริ่มปรากฏมีขึ้นในปรัชญาพระเวท แต่ยังไม่ชัดเจน มาปรากฏชัดเจนในฐานะเป็นจุดมุ่งหมายของชีวิตอย่างแท้จริงในปรัชญาอุปนิษัท ซึ่งได้พูดถึงสิ่งสัมบูรณ์หรือพรหมันหรืออาตมันว่าเป็นที่มาของสรรพสิ่ง มนุษย์มีสารัตถะของชีวิตเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับสิ่งสัมบูรณ์นั้น ความหลุดพ้นของมนุษย์จึงอยู่ที่การทำความรู้แจ้งเกี่ยวกับธรรมชาติอันแท้จริงของตนเองให้เกิดขึ้น ความรู้แจ้งนี้จะขจัดความหลงผิดอันเป็นสาเหตุแห่งความติดข้องให้ปลาสนาการไปโดยสิ้นเชิง ปรัชญาอินเดียสายอาสติกะอันได้แก่ระบบทั้งหก คือ นยายะ ไวเศษิกะ สางขยะ โยคะ มีมามสา และเวทานตะ แม้จะยอมรับความถูกต้องและความศักดิ์สิทธิ์ของคัมภีร์พระเวท และสืบแนวความคิดมาจากปรัชญาอุปนิษัท แต่ระบบเหล่านี้ก็ได้พัฒนาหลักปรัชญาเรื่องโมกษะและวิธีการเข้าถึงโมกษะไปตามทรรศนะของตน จึงมีเพียงหลักใหญ่ๆเกี่ยวกับโมกษะเท่านั้นที่คล้ายคลึงกัน ส่วนในรายละเอียดปลีกย่อยแต่ละระบบก็มีทรรศนะเป็นของตนเองที่แตกต่างกันมากพอควร ในสายนาสติกะมีปรัชญาที่สำคัญอยู่ 3ระบบ คือ ปรัชญาจารวาก ปรัชญาเซน และพุทธปรัชญา ทั้ง 3 ระบบนี้ปรัชญาจารวากปฏิเสธโมกษะแบบที่ปรัชญาระบบอื่นๆเชื่อถือทั้งหมด ถือว่าความตายเป็นโมกษะที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้โดยไม่ต้องแสวงหา ส่วนปรัชญาเซนและพุทธปรัชญาถือว่า โมกษะเป็นความหลุดพ้นจากทุกข์ตลอดไป เช่นเดียวกับปรัชญาอินเดียระบบอื่น แต่เนื่องจากปรัชญาเซนและพุทธปรัชญาเป็นอเทวนิยม โมกษะของทั้งสองระบบนี้จึงแตกต่างจากของปรัชญาสายอาสติกะทั้งหมด ในวิทยานิพนธ์นี้ นอกจากจะได้แสดงให้เห็นว่าระบบต่างๆของปรัชญาอินเดียได้มีทรรศนะเกี่ยวกับความหลุดพ้นและวิธีปฏิบัติเพื่อเข้าถึงความหลุดพ้นว่าอย่างไรแล้ว ผู้เขียนยังได้พยายามเปรียบเทียบให้เห็นด้วยว่า แนวความคิดเรื่องนี้ของระบบนั้นๆเหมือนกันและแตกต่างกันในแง่ใดบ้าง
Other Abstract: Moksa or liberation is one of the common concepts of Indian philosophy. Both traditions of Indian philosophy – The ͞Astika which accepts the authority of the Vedas and the Nāstika which denies that authority have Moksa of liberation as the ultimate aim of life. The C̄arvāka does not regard liberation as such significant aim and therefore does not lay much stress on this problem. Moksa or liberation in Indian philosophy means freedom from suffering and obtainment of eternal happiness. All systems of Indian philosophy agree fundamentally that life as it is full of suffering. Happiness which is also available in the nature of life is uncertain and impermanent and thus it is not ultimately desirable. Indian philosophy urges human beings to seek real happiness and such happiness is available only in Moksa which is free from birth and death. The idea of liberation in Indian philosophy appeared firstly in the Vedas but in incomplete form. It is in the Upanisads that this idea attains its complete form as the ultimate goal of life. The Upanisads speak of Brahman as the cause of all things in the whole universe. The essence of human beings, according to the Upanisads, is identical with the Absolute, Brahman: liberation of a man consists in realization of this ultimate nature of himself which will destroy Avidyā, the cause of bondage, eternally. The ͞Astika tradition of Indian philosophy consists of six authodox systems, namely, Nyaya, Vaisesika, Sāmkhya, Yoga, Mimāmsa and Vedanta. Although all these systems accept the authority of the Vedas and continue their idea of philosophy from the Upanisads, their ideas of Moksa and the means there to differ from one another considerably. Only the main idea of the concept remains the same. There are three systems of Māstika traditions, namely, the Cārvāka. Jainism and Buddhism. Among these three the Cārvāka denies the typical concept of liberation of other systems. To the Cārvāka death is liberation. Jainism and Buddhism have the same idea of liberation as all other systems of Indian thought. But since these two systems are Atheism, their concepts of liberation differ mainly from that of other systems in details. This Thesis have purposely demonstrated the nature of liberation and the means there to of all systems of Indian philosophy and also discusses comparatively to show how this concept of one differs from and similar to that of the other.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ปรัชญา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17697
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Navanit_Pr_front.pdf340.65 kBAdobe PDFView/Open
Navanit_Pr_ch1.pdf268.45 kBAdobe PDFView/Open
Navanit_Pr_ch2.pdf527.8 kBAdobe PDFView/Open
Navanit_Pr_ch3.pdf823.43 kBAdobe PDFView/Open
Navanit_Pr_ch4.pdf1.73 MBAdobe PDFView/Open
Navanit_Pr_ch5.pdf1.17 MBAdobe PDFView/Open
Navanit_Pr_ch6.pdf738.5 kBAdobe PDFView/Open
Navanit_Pr_ch7.pdf329.5 kBAdobe PDFView/Open
Navanit_Pr_back.pdf265.82 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.