Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17724
Title: พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและคณะราษฎร
Other Titles: King Rama Vll and the People's Party
Authors: นัยนา หงษ์ทองคำ
Advisors: ชัยอนันต์ สมุทวณิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Chai-anan.S@Chula.ac.th
Subjects: ปกเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 2436-2484
คณะราษฎร์
ไทย -- การเมืองและการปกครอง
Issue Date: 2520
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงแนวพระราชดำริทางการเมืองของพระมหากษัตริย์ ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ตลอดจนการปฎิรูปและการสร้างสถาบันทางการเมืองเพื่อปรับรูปแบบการปกครองให้ขยายขอบเขตให้ช้าราชการและประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจและใช้อำนาจทางการเมืองมากขึ้น แต่การปรับตัวของระบอบเก่าเป็นไปอย่างเชื่องช้าและขาดการต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจะได้มีการสร้างสรรค์สถาบันทางการเมืองเพื่อเตรียมปูพื้นฐานการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอย่างรีบเร่งและเตรียมจะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้กับปวงชนชาวไทย แต่ เนื่องจากความลังเลพระทัยของพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวในขณะที่มีกลุ่มชนซึ่งมีสำนึกทางการเมืองสูงมีความเห็นว่าระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นอุปสรรคสำคัญของความเจริญก้าวหน้าของประเทศ จึงได้มีการปฎิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว ปัญหาสำคัญของคณะผู้เปลี่ยนแปลงการปกครองก็คือการพยายามที่จะเข้าดำเนินการบริหารกิจการบ้านเมืองในระบอบประชาธิปไตย แต่เนื่องจากการปฎิวัติครั้งนี้เป็นการกระทำของบุคคลเพียงกลุ่มเดียวขาดพลังสนับสนุนจากปวงชนจึงทำให้คณะราษฎรต้องดำเนินการ เพื่อยึดครองอำนาจให้อยู่ในหมู่คณะของตนแต่ผู้เดียว วิธีการที่นำมาใช้คือการกำจัดศัตรูทางการเมืองโดยมิได้คำนึงถึงความถูกต้อง ยุติธรรมหรือมนุษยธรรม พฤติกรรมดังกล่าวมิได้จำกัดอยู่เฉพาะในกลุ่มของคณะราษฎรกับกลุ่มขุนนางเก่าเท่านั้นแต่ได้ร่วมไปถึงองค์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วย จากการศึกษาเอกสารขั้นต้นทั้งที่เป็นเอกสารของทางฝ่ายรัฐบาล คณะราษฎร หนังสือพิมพ์ และเอกสารของชาวต่างประเทศได้สังเกตเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตลอดจนลายพระหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและข้าราชบริพารผู้ใกล้ชิดที่มีไปถึงชาวต่างประเทศทำให้เราได้ทราบถึงวิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ได้อย่างชัดเจนพอสมควร ถึงแม้ว่าเอกสารที่ได้คันคว้ามานี้เป็นเพียงเอกสารบางส่วนที่เหลือจากการทำลายของฝ่ายรัฐบาลหรือคณะราษฎรแล้ว แต่ก็ทำให้เราทราบถึงบทบาทขององค์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวในการประคับประคองให้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยดำเนินไปในแนวทางที่ถูกต้อง และความพยายามของพระองค์ในการใช้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นเครื่องถ่วงดุลย์แห่งอำนาจเพื่อหยุดยั้งการใช้อำนาจทางการเมืองอย่างไม่ถูกต้องตามระบอบประชาธิปไตย แต่ความพยายามของพระบาทสมเด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวไร้ผล คณะราษฎรพิจารณาเห็นว่าพระองค์ทรงพยายามที่หันกลับไปสู่ระบอบการปกครองในแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ คณะราษฎรจึงมุ่งที่จะจำกัดพระราชอำนาจของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจนกระทั่งความขัดแย้งทวีความรุนแรงขึ้น การวิเคราะห์ความขัดแย้งระหว่างพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและคณะราษฎรแบ่งออกเป็น 3 ภาค คือ ภาคแรกเป็นการวิเคราะห์ความขัดแย้งทางแนวความคิดเกี่ยวกับเค้าโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม ในภาคที่สองกล่าวถึงแนวพระราชดำริเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและการผูกขาดอำนาจทางการเมืองของคณะราษฎร เช่น การกำหนดระยะเวลาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภททที่ 2 การออกพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลพิเศษ พระราชบัญญัติจัดการป้องกันรักษารัฐธรรมนูญ การลงโทษนักโทษการเมือง และการไม่อนุญาตให้มีการจัดตั้งพรรคการเมืองเป็นต้น ในภาคที่สามเป็นการวิเคราะห์ถึงพระราชอำนาจและพระราชฐานะของพระมหากษัตริย์ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญและพฤติกรรมที่คณะราษฎรปฏิบัติต่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระราชวงศ์ ความขัดแย้งต่างๆ เหล่านี้ทำให้เกิดผลเสียต่อการปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตยในระยะแรกเริ่มเป็นอย่างมาก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริว่า ถ้าสถานการณ์ระหว่างพระองค์และรัฐบาลยังคงดำเนินไปในสภาพดังกล่าวแล้วย่อมไม่บังเกิดผลดีแก่ผู้ใด และจะเป็นผลร้ายต่อการปกครองประเทศต่อไปอีกด้วย ฉะนั้นพระองค์จึงมีพระบรมราชวินิจฉัยที่จะสละราชสมบัติ เพื่อคณะราษฎรจะได้เลือกพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ที่คณะราษฎรสามารถทำงานร่วมด้วยได้ การสละราชสมบัติครั้งนี้นับว่าเป็นประวัติการณ์ที่สำคัญที่สุดในระบอบการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขตลอดระยะเวลาอันยาวนานในประวัติศาสตร์ไทย
Other Abstract: This is the study of King Prachatipok’s political ideas pertaining to reform attempts and political institutionalization to adapt the traditional governmental system to the bureaucrats’ and citizens’ demands for a wider participation in the affairs of the state. Prior to King Prachatipok’s reign, the system responsive and adaptive capabilities had been too slow and discontinuous. King Prachatipok himself was indecisive on the timing of political emancipation while intellectuals’ and bureaucrats’ aspirational level had been rising very rapidly since the reign of king Chulalongkorn. As a consequence, a group of people who strongly felt that the monarchical type of regime absolete finally took over the state power through the coup d’etat on June 24, 1932. The major problem facing the new ruling group was to govern according to democratic rules of the game. However, the coup of 1932 was made solely by the civilian and military officers with no strongs base of popular support which naturally resulted in the People’s Party’s attempts to stabilize and maintain its power position. The People’s Party consolidated its power by intimidating and suppressing the opposition, sometimes, quite ruthlessly and without regards to justice. Its exercise of these measures was not limited to their own group or the “old-guards” (high ranking officials who were still loyal to the King) but also extended to the king as well. From primary datum available, we could assess the role of King Prachatipok in his ernest efforts to guide the democratic process. This was done through the use of the King’s influence to check and counter-balance authoritarian behavior of the new government. However, the king’s endeavors were mostly in vain since the people’s Party suspected that he was trying to reinstate the absolute monarchy. The analysis of conflicts between King Prachatipok and the People’s Party is treated in 3 main parts. First, ideological conflicts emanating from the controversial Economic Plan of Luang Pradit is analyzed. Second, the study focuses upon the King’s personal ideas on democratic government on one hand and the monopolization of power by the People’s Party on the other. In this part, certain aspects of conflict such as the tenure of the members of Parliament (appointed type), the Act safequarding the Constitution, treatment and punishment of political prisoners and the prohibition of the establishment of political parties, were considered. In the last part, royal perogatives and position as specified by the Constitution vis a vis the People’s Party’s treatment of His Majesty were studied. All these conflicts had a devastating impact upon the early stage of democracy in Thailand. The King was convinced that if this situation was allowed to drag on, if would have been detrimental to the nation as a whole. Hence, he finally decided to abdicate so that the People’s Party could choose the new King who could work with the Party in a more cordial manner. His abdication was one of the most significant political phenomenon in the country where the monarchy has been the major institution in its long History.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประวัติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17724
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Naiyana_Ho_front.pdf447.76 kBAdobe PDFView/Open
Naiyana_Ho_intro.pdf395.88 kBAdobe PDFView/Open
Naiyana_Ho_ch1.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open
Naiyana_Ho_ch2.pdf1.66 MBAdobe PDFView/Open
Naiyana_Ho_ch3.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open
Naiyana_Ho_ch4.pdf2.81 MBAdobe PDFView/Open
Naiyana_Ho_ch5.pdf2.5 MBAdobe PDFView/Open
Naiyana_Ho_ch6.pdf1.57 MBAdobe PDFView/Open
Naiyana_Ho_back.pdf1.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.