Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1775
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorอวยพร พานิช-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง-
dc.date.accessioned2006-08-15T08:20:55Z-
dc.date.available2006-08-15T08:20:55Z-
dc.date.issued2530-
dc.identifier.isbn9745698245-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1775-
dc.description.abstractภาษาในการสื่อสารของมนุษย์เราจำแนกได้เป็นภาษาที่เป็นถ้อยคำหรืออวัจนภาษาและภาษาที่ปรากฏในรูปแบบอื่น ซึ่งไม่ใช่ถ้อยคำหรืออวัจนภาษา ได้แก่ การแสดงสีหน้า ท่าทาง การแต่งกาย เป็นต้น การวิจัยนี้มุ่งศึกษาถึงเฉพาะอวัจนภาษาที่สื่อออกมาโดยผ่านวัจนภาษาในนวนิยายไทยช่วงปี พ.ศ. 2516-2525 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบทบาทของอวัจนภาษาที่ปรากฏในการเขียนนวนิยายว่าได้สะท้อนลักษณะวัฒนธรรมไทยมากน้อยเพียงใดและอย่างไร อีกทั้งรูปแบบในการนำเสนอนั้นเป็นเช่นใด การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์เนื้อหาจากเอกสาร จากการสุ่มเลือกนวนิยายเรื่องต่าง ๆ จากนวนิยายที่ได้รับรางวัลในรอบ 10 ปี ปีละไม่เกิน 2 เรื่อง รวมได้ 16 เรื่อง และจากนวนิยายที่ได้รับความนิยมจากผู้อ่านสูงอีกจำนวน 12 เรื่อง รวมทั้งสิ้น 28 เรื่อง ทั้งนี้ได้กำหนดเงื่อนไขว่า นวนิยายเหล่านั้นจะต้องตีพิมพ์จบบริบูรณ์ภายในเดือนมกราคม 2516 ถึงเดือนธันวาคม 2525 เนื่องจากการศึกษาเกี่ยวกับอวัจนภาษายังมีอยู่น้อยมาก งานวิจัยชิ้นนี้จึงได้ปู้พื้นฐานความรู้ในเชิงทฤษฎีเกี่ยวกับการสื่อสารเชิงอวัจนะ ซึ่งเแบ่งประเภทของอวัจนภาษาไว้เป็น 6 ประเภท ได้แก่ (1) กิริยาท่าทาง-การเคลื่อนไหวของร่างกาย (2) การสัมผัส (3) ลักษณะทางกายภาพ (4) เสียง (5) ระยะห่าง หรือเทศภาษา และ (6) เวลาหรือกาลภาษา จากการศึกษาพบว่าในวัฒนธรรมไทยนั้น มีการใช้มือและไหล่สูง แต่ไม่นิยมการสัมผัสการใช้อวัจนภาษาของคนไทยที่ปรากฏในนวนิยายสะท้อนถึงค่านิยมและบุคลิกลักษณะของคนไทยได้ชัดเจน เช่น ความเกรงใจ การนบนอบ และความสำรวม ไม่ค่อยแสดงออก นอกจากนี้ในการศึกษาครั้งนี้ยังด้นำเอาแนวทางการศึกษาจากทฤษฎีโครงสร้างและทฤษฎีการหน้าที่มาเป็นแกนในการอธิบายสิ่งที่ปรากฎในการนำเสนอวัจนภาษาในนวนิยายไทย เพื่อชี้ให้เห็นถึงวิธีการที่อาจศึกษาได้เป็นอย่างดีและจุดอ่อนของการใช้แนวทางการศึกษาเหล่านั้น อย่างไรก็ดี ปัญหาที่พบในการวิจัยครั้งนี้ คือความยากลำบากในการพิจารณาอวัจนภาษาในแง่ที่เป็นกระบวนการสื่อสาร เพราะใช้วิธีการศึกษาอวัจนภาษาผ่านวัจนภาษาแทนที่จะเป็นการศึกษาจากตัวอวัจนภาษาโดยตรงเลย แต่ข้อดีที่ได้ก็คือมองเห็นวิธีการนำเสนอของนักเขียนว่าเสนอวัจนภาษาในรูปแบบใด อย่างไร อันจะเป็นประโยชน์ในการศึกษาถึงกลวิธีการสร้างสรรค์ศิลปการประพันธ์ของไทยต่อไปen
dc.description.sponsorshipทุนอุดหนุนการวิจัยจากทุนงบประมาณแผ่นดิน พ.ศ. 2526en
dc.format.extent36582426 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectภาษาท่าทางen
dc.subjectการสื่อสารโดยไม่ใช้คำพูดen
dc.subjectนวนิยายไทย--ประวัติและวิจารณ์en
dc.titleอวัจนภาษาในนวนิยายรอบทศวรรษ 2516-2525 : รายงานผลการวิจัยen
dc.typeTechnical Reporten
dc.email.authorUayporn.P@chula.ac.th-
Appears in Collections:Comm - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Uayporn_2516-25.pdf17.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.