Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17803
Title: Etude analytique sur La Modification de Michel Butor
Other Titles: การศึกษาเชิงวิเคราะห์นวนิยายเรื่อง ลา มอดีฟีกาซีอ็อง ของ มิเชล บูตอร์
Authors: Varunee Santirojprapai
Advisors: Manhaudier, Roger
Other author: Chulalongkorn University. Graduate School
Issue Date: 1973
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Michel Butor, dans la Modification, propose ses nouvelles idées romanesques sous tous les aspects, en ce qui concerne les principes du "Nouveau Roman" et aussi la réalisation de ces principes. Il vise par cela à transformer is vision du monde et d'une oeuvre romanesque. Renonont au roman traditionnel, ainsi qu'au roman psychologique, Butor construit son oeuvre autour d'une réalité non-interpretée, sans définition, ce qui est en effet l'idée fondamentale du'"Nouveau Roman". Il veut nous montrer enfin gue le monde en relation avec l'homme n'apas la forme fixe. A une idée nouvelle, pour la présenter dans une oeuvre romanesque, Butor applique aussi une forme nouvelle: l'usage du pronom personnel "vous" pour le per-sonnago au lieu du "il" et du "je" traditionnels du narrateur. Pourtont, Butor n'abandonne pas tout à fait les precedes traditionnelc; crux-ci ont effectivement une Grande part dans le roman. Ainsi, grace à son génie de théoricion of do technicien du roman, en mélangeant ces deux procódós„ Butor arrive à faire do la Modification un "nouveau roman" parfait. Cette thèso vise ainsi à étudier le "Nouveau Roman" on co gui concerno sa théorie et sa technique à travero la Modification do michel Butor, qui so fait admettro comma une tendance de la littérature franc-else contemporaine.
Other Abstract: ในนวนิยายเรื่อง ลา มอดีฟีกาซีอ็อง มิเชล บูตอร์ ได้เสนอความคิดใหม่ของเขาในทุกๆ ด้าน ทั้งที่เป็นความคิดหลักการ และ วิธีการแสดงออกของความคิดหลักการนี้ในรูปของงานวรรณคดี ความคิดใหม่เหล่านี้เองที่ได้สร้างสรรค์งานของเขาให้เป็นนวนิยาย "ล้ำสมัย" ขึ้นมาจุดประสงค์ของบูตอร์ในการเสนอความคิดเหล่านี้ในนวนิยายของเขานั้น ก็เพื่อที่จะเปลี่ยนลักษณะของโลกในความคิดของมนุษย์ และในขณะเดียวกันก็เปลี่ยนรูปแบบของการเขียนนวนิยายสมัยใหม่ด้วย บูตอร์ได้เลิกล้มการเขียนนวนิยายแบบเก่า เช่น นวนิยายที่แฝงเหตุผลทางด้านจิตวิทยา และหันมาสร้างสรรค์งานแบบใหม่ โดยมุ่งที่จะเสนอความคิดที่ว่า โลกที่มีความสัมพันธ์กับมนุษย์นั้น เป็นโลกที่ไม่มีขอบเขต ไม่มีเหตุผล ความเป็นจริงข้อนี้แหละที่เป็นความคิดหลักของนวนิยาย "ล้ำสมัย" เพื่อที่จะเสนอความคิดใหม่ดังกล่าวนี้ บูตอร์ยังได้เสนอวิธีการแบบใหม่ในการเขียนนวนิยายอีกด้วย นั่นคือ เขาได้ใช้สรรพนามบุรุษที่สอง "ท่าน" เมื่อพูดถึงตัวเอกของนวนิยาย แทนการใช้ "ฉัน" หรือ "เขา" ดังที่ปรากฏในนวนิยายทั่วไป อย่างไรก็ตาม บูตอร์ก็ไม่สามารถละทิ้งวิธีการแบบเก่าไปได้อย่างสิ้นเชิง จะปรากฏว่าในนวนิยายเรื่อง ลา มอดีฟีกาซีอ็อง บูตอร์ยังคงแทรกลักษณะของนวนิยายแบบเดิมไว้อย่างครบถ้วน แต่บนพื้นฐานเดิมนี้แหละ เขาได้สร้างสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมา ด้วยอัจฉริยะของบูตอร์ในลักษณะของนักทฤษฏี และ นักเทคนิคในการเขียนนวนิยายเช่นนั้น นวนิยายเรื่องลา มอดีฟีกาซีอ็อง จึงได้เป็นนวนิยาย "ล้ำสมัย" ที่สมบูรณ์ที่สุด วิทยานิพนธ์นี้จึงมุ่งที่จะศึกษาลักษณะของนวนิยาย "ล้ำสมัย" ซึ่งได้รับการยอมรับแล้วว่าเป็นแนวโน้มของวรรณคดีฝรั่งเศสสมัยปัจจุบัน การศึกษานี้จะทำทั้งในด้านความคิดหลักการ และวิธีการเสนอความคิดนี้ในรูปของนวนิยาย โดยยึดเอานวนิยายเรื่อง ลา มอดีฟีกาซีอ็อง ของมิเชล บูตอร์เป็นหลัก
Description: Thesis (M.A.)--Chulalogkorn University, 1973
Degree Name: Master of Arts
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: French
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17803
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Varunee_Sa_front.pdf407.02 kBAdobe PDFView/Open
Varunee_Sa_intro.pdf332.06 kBAdobe PDFView/Open
Varunee_Sa_ch1.pdf484.22 kBAdobe PDFView/Open
Varunee_Sa_ch2.pdf1.49 MBAdobe PDFView/Open
Varunee_Sa_ch3.pdf660.68 kBAdobe PDFView/Open
Varunee_Sa_ch4.pdf597.18 kBAdobe PDFView/Open
Varunee_Sa_ch5.pdf394.79 kBAdobe PDFView/Open
Varunee_Sa_back.pdf319.94 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.